กำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๗๔ วรรคหนึ่ง (๒๗๑ (เดิม) จะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด ไม่ใช่นับแต่คดีถึงที่สุดตามมาตรา ๑๔๗ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๑๐๗๓๑/๒๕๕๘, ๔๖๗๓/๒๕๖๐) โดยไม่มีข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคั


กำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๗๔ วรรคหนึ่ง (๒๗๑ (เดิม) จะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด ไม่ใช่นับแต่คดีถึงที่สุดตามมาตรา ๑๔๗ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๑๐๗๓๑/๒๕๕๘, ๔๖๗๓/๒๕๖๐) โดยไม่มีข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้จำนอง ดังนั้น การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้จำนองต้องกระทำภายในระยะเวลาสิบปีตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน หากพ้นระยะเวลาสิบปีแล้วเจ้าหนี้จำนองไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย แต่อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สิทธิจำนองยังคงอยู่และสามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้ (ฎีกาที่ ๔๖๑๓/๒๕๕๙(ประชุมใหญ๋) ๕๖๔๕/๒๕๖๐, ๑๖๙๒/๒๕๖๐) ต่อมามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๐๘/๒๕๖๑ ให้คำตอบแล้วว่า เมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิร้องขอกันส่วนตามมาตรา ๓๒๒ (๒๘๗ (เดิม)

 

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๗๓๑/๒๕๕๘ (ประชุมใหญ่)

ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยจำเลยขาดนัดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๔๓ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันสุดท้ายที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนในการขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา คือวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๓ ปรากฏว่า ผู้เข้าสวมสิทธิเพิ่งยื่นคำแถลงขอให้ศาลชั้นต้นออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๕ ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้แล้ว จึงหามีเหตุให้ศาลชั้นต้นต้องออกคำบังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่เพราะระยะเวลาสิบปีในการร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด มิใช่จะต้องเริ่มนับแต่คดีถึงที่สุด

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๖๗๓/๒๕๖๐

          บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ มิได้บัญญัติให้การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งต้องร้องขอภายในสิบปีนั้นจะต้องนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด และใช้ถ้อยคำเพียงว่า "นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง" ซึ่งมีความหมายว่า วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่ขอให้บังคับคดี กล่าวคือ วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนี้ ก็คือวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งที่โจทก์ขอให้บังคับคดีนั้นเอง มิใช่ต้องนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดดังที่โจทก์ฎีกาไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยเพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ จึงล่วงพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๗๑ แล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีเพิ่มเติมแก่จำเลย

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๖๑๓/๒๕๕๙

ตาม ป.วิ.พ. ภาค ๔ ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุดในคดีนั้น เมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๓ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์สินจำนองจึงต้องกระทำภายในสิบปี แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๖ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลย ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๓ แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลย อย่างไรก็ตามทรัพยสิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๖๙๒/๒๕๖๐

สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิจะระงับสิ้นไปเมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๔๔(๑) ถึง ๖ ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความเพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๒๗ และมาตรา ๗๔๔ บัญญัติไว้แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน หากเจ้าหนี้ถูกโต้แย้งสิทธิและฟ้องลูกหนี้เป็นคดีต่อศาลเพื่อบังคับจำนอง กระบวนพิจารณาต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ และเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๔ ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาตรา ๒๗๑ บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยไม่มีข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหนี้จำนอง ดังนั้น การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของเจ้าหนี้จำนองต้องกระทำภายในระยะเวลาสิบปีตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ คดีนี้จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความตั้งแต่งวดแรกวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ และมีข้อตกลงว่าหากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดทั้งหมดยอมให้โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองขายทอดตลาด โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาได้ แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์สินจำนองของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๙ จึงพ้นระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๖ แล้วโจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลยทั้งสอง อย่างไรก็ตาม ทรัพย์สิทธิจำนองยังคงอยู่และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์สินจำนองต่อไปได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๖๔๕/๒๕๖๐

สิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๔๔(๑) ถึง (๖) ดังนี้ ผู้รับจำนองซึ่งทรงทรัพย์สิทธิจำนองย่อมมีสิทธิบังคับจำนอง แม้หนี้ที่ประกันหรือสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความ เพียงแต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้ ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๒๗ และมาตรา ๗๔๔ บัญญัติไว้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่แก่คู่กรณีที่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โดยหากเจ้าหนี้ประสงค์บังคับตามสิทธิก็ต้องฟ้องเป็นคดีต่อศาลเพราะเหตุถูกลูกหนี้โต้แย้งสิทธิ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๕ อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายวิธีพิจารณาความบัญญัติไว้ และเมื่อคดีเข้าสู่ศาลกระบวนพิจารณาก็ต้องบังคับตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้น เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๔ ลักษณะ ๒ การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง มาตรา ๒๗๑ (เดิม) บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งหมายถึงตั้งแต่มีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่สุดในคดีนั้น สำหรับคดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐ ไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ดังนี้ การร้องขอให้บังคับคดีโดยการยึดทรัพย์จำนองจึงต้องกระทำในระยะเวลาสิบปีดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการบังคับคดีที่ต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความ แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำขอฉบับลงวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ ๑ ล่วงพ้นระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐ แล้ว โจทก์จึงสิ้นสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินจำนองของจำเลยที่ ๑ อย่างไรก็ตามทรัพย์สิทธิจำนองยังคงอยู่ และโจทก์สามารถใช้ยันต่อลูกหนี้จำนองหรือต่อบุคคลภายนอกที่รับโอนทรัพย์จำนองต่อไปได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๑๐๘/๒๕๖๑

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖  แต่เกิน ๑๐ ปี นับแต่มีคำพิพากษา ศาลอนุญาตให้เข้าสวมสิทธิในคดีเดิม และมีคำสั่งด้วยว่า ผู้ร้องจะทำการบังคับคดีได้หรือไม่เป็นอีกกรณีต่างหาก โจทก์ในคดีนี้ทำการยึดที่ดินซึ่งจำนองไว้แก่โจทก์ในคดีเดิมที่ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิ เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถขายทอดตลาดได้เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีนี้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้กันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้แก่ผู้ร้องตามคำพิพากษา ดังนี้ แม้โจทก์ในคดีเดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยภายในกำหนด ๑๐ ปี นับแต่มีคำพิพากษา ผู้ร้องเป็นผู้สวมสิทธิไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้ แต่การร้องขอคดีนี้ ผู้ร้องขอกันส่วนมิได้เป็นผู้ยึดทรัพย์บังคับคดีเอง ย่อมไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗๑ (เดิม) (ปัจจุบัน ๒๗๔) แต่ผู้ร้องขอใช้สิทธิกันส่วนในคดีนี้ในฐานะผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองที่ดิน ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิในการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองเพราะว่าหนี้จำนองยังไม่ระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ.๗๔๔ แต่บังคับได้เฉพาะต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยไม่เกิน ๕ ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๙๓/๒๗ ศาลฎีกาอนุญาตให้กันเงินส่วนที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแก่ผู้ร้อง  

Visitors: 122,717