ที่ดินมรดก มีปัญหาเรื่องทางออก

โดย: Kate [IP: 171.100.70.xxx]
เมื่อ: 2022-10-20 14:38:42
คุณตาเสียชีวิต แล้วมีที่ดิน 1 แปลง ลูกๆ 6 คน แบ่งกันหลังจากคุณตาเสียชีวิตแล้ว เนื่องจากที่ดินเป็นแบบยาว ทำให้แม่ ได้ที่ดินอยู่ในสุด ด้านหลังติดคลอง ด้านหน้าติดที่ของพี่น้องคนอื่นๆ จึงได้ตกลงเว้นที่บริเ่วณ ริมที่ดินฝั่งขวา ให้เป็นทางออกใช้ร่วมกัน ตรงหน้าทางออกมีเสาไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าขวางทางอยู่ ที่ดินบริเวณณนี้มีน้ำท่วม ถ้าต้องเดินทางเข้าออกต้องถมดินและให้ไฟฟ้ารื่้อถอนเสาไฟ พี่น้องทุกคนจึงไม่ดำเนินการอะไร แม่เราอยู่ในสุด จึงได้ถมที่ดินทางริมที่ฝั่งซ่้าย เป็นทางเข้าออก โดยทำในที่ดินของพี่น้องคนอื่นๆ พี่น้องคนอื่นไม่ได้อยู่ เนื่องจากไปทำงานและแต่งงานมีบ้านอยู่ที่อื่น แม่จึงถมที่คนเดียว เวลาผ่านไป น้องของแม่จะมาขอที่คืน และไม่ได้แม่เข้าออกในทางที่ถมไว้แล้ว และให้ไปใช้ทางที่เป็นส่วนรวมแต่ยังไม่ถมแทน รบกวนสอบถามดังนี้

1. ตรงทางที่เป็นทางใช้ร่วมกัน ถ้าจะถมต้องมีค่าใช้จ่าย และค่ารื่อถอนเสาไฟฟ้า พี่น้องคนอื่นจะไม่ยอมจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จะให้แม่ออกคนเดียว แม่สามารถร้องให้ศาลบังคับคนอื่นจ่ายเพื่อถมที่ได้หรือไม่

2. กรณี้จะขอใช้ทางเข้าออกเดิม แต่ผ่านที่ดินของพี่น้องคนอื่น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถมทางเข้าออกที่เป็นสารธารณะ แล้วพี่น้องทุกคนยอม สามารถทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางตลอดไปได้หรือไม่ กลัวว่าถ้าระยะยาวไปจะมีปัญหากับผู้รับมรดกของเจ้าของคนอื่นๆ

3. ถ้ามีทางอื่นขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วย

#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.248.xxx]
เมื่อ: 2022-10-21 10:59:36
ทางภาระจำยอม/ทางจำเป็น
เดิมเป็นที่ดินแปลงใหญ่ แบ่งแยกให้พี่น้อง 6 แปลง ในเมื่อที่ดินแปลงนี้เคยมีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ การแบ่งแยก ก็ต้องให้ที่ดินทุกแปลงยังคงมีอยู่ทุกแปลงที่แบ่งแยก เว้นแต่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ของที่ดินแปลงใดก็ขอยกเลิกทางภาระจำยอมนั้นได้ ตาม ปพพ. ม.1394 ม.1395...กรณีนี้เป็นความผิดพลาดของทายาท หรือบรรดาพี่น้องทั้ง 6 คน ที่ทำการไม่รอบคอบ คือแบ่งปันที่ดินแต่ไม่มีการคิดเรื่องทางเข้าออกไว้ ให้ชัดเจน ถ้าแบ่งที่ดินเป็น 7 แปลง พี่น้องได้ส่วนคนละ แปลง 6 แปลง แปลงที่ 7 คือ ทางเข้าออก ที่ผ่านที่ดินทุกๆแปลง ให้ที่ดินทุกแปลงสามารถเข้าออกทางสาธารณะโดยสะดวก การแบ่งตามที่บอก คือคุณแม่ได้แปลงนสุด แต่ไม่มีทางออก.. เป็นการวางระเบิดเวลาไว้ ให้พี่น้องต้องมามีปัญหาฟ้องร้องกันภายหลัง

ตอบถาม
1. ตรงทางที่เป็นทางใช้ร่วมกัน ถ้าจะถมต้องมีค่าใช้จ่าย และค่ารื่อถอนเสาไฟฟ้า พี่น้องคนอื่นจะไม่ยอมจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จะให้แม่ออกคนเดียว แม่สามารถร้องให้ศาลบังคับคนอื่นจ่ายเพื่อถมที่ได้หรือไม่
ตอบ...อาศัยอำนาจตาม ม.1394 ม.1395 พี่น้องทุกคนต้องร่วมกันปรับปรุงทางให้สามารถใช้ได้ดี แก่ที่ดินทุกๆแปลง เบื้องต้นก็ควรใช้การเจรจากันก่อน ถ้าไม่ได้ผลก็ต้องฟ้องศาล คงมีค่าใช้จ่ายมากมายพอสมควร และพี่น้องคงมองหน้ากันไม่ติด ถ้าแม่ยอมทน ก็ใช้เงินส่วนตัวปรับปรุงทางเส้นนี้เอง ถ้าใช้ทางออกแบบนี้ คงไม่มีเรื่อง แต่แม่ก็ต้องเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่าย

2. กรณีจะขอใช้ทางเข้าออกเดิม แต่ผ่านที่ดินของพี่น้องคนอื่น และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายถมทางเข้าออกที่เป็นสารธารณะ แล้วพี่น้องทุกคนยอม สามารถทำหนังสือยินยอมให้ใช้ทางตลอดไปได้หรือไม่ กลัวว่าถ้าระยะยาวไปจะมีปัญหากับผู้รับมรดกของเจ้าของคนอื่นๆ
ตอบ..สามารถทำให้ โดยอาศัยอำนาจตาม กฎหมายที่อ้างในข้อ 1 คือ เมื่อมีการแบ่งแยกที่ดินแปลงเดิม ทุกแปลงต้องมีทางออก แต่...เรื่องนี้เป็นเรื่องทางแพ่ง (เป็นเรื่องส่วนบุคคล หรือส่วนตัว )รัฐคงไม่เข้ามายึ่งเกี่ยวมากนัก พี่น้องก็ต้องใช้การเจรจาตกลงกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องฟ้องศาล
3. ถ้ามีทางอื่นขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วย
ตอบ..ขอแนะนำทางอกสองทางคือ
1. ไปที่ สนง.อัยการในเขตภูมิลำเนา ขอพบท่านอัยการคุ้มครองสิทธิ์ เล่าข้อเท็จจริงให้ท่านทราบ ท่านจะมีการเรียกคู่กรณีมาเจรจากัน ซึ่งกรณีนี้มีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าที่ดินที่แบ่งแยกออกมา ต้องมีทางออกทุกแปลง อัยการท่านย่อมมีเทคนิควิธีไกล่เกลี่ยให้พี่น้องทุกคนยินยอมได้ ถ้าใช้ทางนี้แก้ไข ไม่ต้องฟ้องศาล ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ต้องใจกล้าหน่อย ไม่ต้องเกรงกลัว ตามประสาประชาชนทั่วไป การไปพบเจ้าพบนาย อาจจะะรู้กังวลไปต่างๆนานา ไม่ต้องกังวล เพราะท่านมีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว
หรือ 2. ไปที่ ศาลในเขตภูมิลำเนา ไปที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย จะมีเจ้าหน้าที่รับเรื่อง และสอบถามข้อเท็จจริง และเรียกคู่กรณีมาเจรจากัน ก็ไปแนวทางเดียวกับข้อ 1 คือไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องมีทนายความ ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: Kaet [IP: 171.100.70.xxx]
เมื่อ: 2022-10-21 13:31:29
ขอบคุณมากค่ะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 125,851