หลักเกณฑ์การฟ้องซ้ำคดีป.วิแพ่ง148 กับ ป.วิอาญา39 (4) ต่างกันยังไงครับ

โดย: name [IP: 101.108.134.xxx]
เมื่อ: 2022-11-01 15:27:40
พอดีอ่านแล้วก็ยัง งง สรุปสั้นๆก็ได้ครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.222.xxx]
เมื่อ: 2022-11-02 20:06:38
การฟ้องซ้ำ
ตาม ป.วิแพ่ง ม.148 หลักการคือ คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ห้ามมิให้คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก....
แนวคำพิพากษาศาลฎีกา..
ฎีกาที่ 5032/2552

มูลเหตุแห่งการฟ้องจำเลยทั้งสองของโจทก์ ทั้งในคดีเดิมและคดีนี้มาจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ทำไว้กับโจทก์ฉบับเดียวกัน แม้ในคดีเดิมโจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนด ขอให้ส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาและค่าใช้ทรัพย์ ส่วนในคดีนี้โจทก์กล่าวอ้างว่าระหว่างการครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญารถยนต์สูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดโดยขอให้ชำระค่ารถยนต์ในส่วนที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในเรื่องรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายระหว่างเช่าซื้อนั้นได้ปรากฏขึ้นก่อนที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีเดิมซึ่งโจทก์ทราบดี แต่โจทก์ไม่ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดกรณีรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายตามข้อตกลงในสัญญา การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคารถยนต์ที่สูญหายในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อฉบับเดียวกันอีก ซึ่งโจทก์สามารถฟ้องได้อยู่แล้วในคดีก่อน เมื่อคดีก่อนถึงที่สุดแล้วฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
..ป.วิอาญา...ม.39 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ (4) เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
แนวคำพิพากษาศาลฎีกา...
ฎีกาที่ี 1037/2501
บุตรผู้ตายเป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยฐานฆ่าคนโดยเจตนาไว้ก่อนแล้วอัยการฟ้องจำเลยฐานฆ่าคนโดยประมาทในมูลกรณีเดียวกัน ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยไปตามฟ้องอัยการ คดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิของผู้เสียหายที่ได้ฟ้องไว้แล้วย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
(ความเห็น) ก็ไม่น่าจะแตกต่างกัน ในสาระสำคัญ ที่ต่างกันคือ เป็นคดีแพ่งและคดีอาญา

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,274