พินัยกรรม

โดย: B [IP: 171.96.224.xxx]
เมื่อ: 2022-12-24 20:44:36
เจ้าของที่ดิน 2 คน คือ นางเอ และ นางบี ต้องการสลักหลังโฉนดว่า ถ้าเสียชีวิตจะยกให้นาย ก และจะทำพินัยกรรมไว้ แต่หากถ้า นางเอทำพินัยกรรมทีหลังว่าต้องการยกให้นาย ข ถ้านางเอและนางบีเสียชีวิต ผู้ที่จะได้รับมรดกจะยังเป็นนาย ก เพียงผู้เดียวอยู่หรือไม่
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.217.xxx]
เมื่อ: 2022-12-26 08:51:18
การทำพินัยกรรม/สิทธิเก็บกิน

ถ้าเท็จจริงมีอยู่ว่า เอ และ บี มีกรรมสิทธฺ์ในที่ดินร่วมกัน ถ้าไม่มีการบรรยายส่วนไว้ในโฉนดที่ดิน ย่อมถือว่า เอ และ บี มีกรรมสิทธิ์คนละกึ่งหนึ่ง เมื่อ เอ และบี ทำพินัยกรรม มอบที่ดิน ให้ นาย ก. เมื่อ เอและบี เสียชีวิตลง นาย ก. ก็จะเป็นทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดก เพียงผู้เดียว ในฐานะทายาทโดยพินัยกรรม
แต่.. ถ้า เอ ทำพินัยกรรมภายหลัง มอบที่ดินให้ นาย ข. เมื่อ เอ และ บีเสียชีวิต นาย ก. ทายาทผู้รับมรดกตามพินัยกรรม จะได้รับมรดกที่ดินเพียงกึ่งเดียว คือส่วนที่ บี ที่ทำพินัยกรรมมอบให้ ส่วนที่ดินอีกกึ่งหนึ่งของเอ จะเป็นมรดกตกทอดแก่ นาย ข. เพราะ เอ ทำพินัยกรรมในภายหลัง มอบที่ให้ นาย ข. ถือว่าเป็นยกเลิกพินัยกรรมฉบับแรก โดยปริยายาย ตาม ปพพ. ม.1697...สรุป ก และ ข. จะได้รับมรดกที่ดินคนละกึ่งหนึ่ง
การทำพินัยกรรม มักมีปัญหาในทางปฏิบัติมากมาย ทายาทที่รับมรดกตามพินัยกรรม อาจได้รับทุกขลาภ เพราะอาจจะมีปัญหาโต้แย้งกันมากมาย อาทิ พนัยกรรมปลอม พินัยกรรมไม่มีผลบังคับ เป็นต้น ถ้าจะทำพินัยกรรม ควรทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง คือไปที่ อำเภอหรือ เขต แจ้งเจ้าหน้าที่ ให้ช่วยเหลือในการดำเนินการให้ ในเมื่อเจ้าหน้าที่ดำนินการให้ ข้อผิดพลาดข้อโต้แย้งน่าจะเกิดขึ้นได้น้อย ผู้รับพินัยกรรมคงมีความสุข...และอีกช่องทางหนึ่ง ที่ป้องกันปัญหาได้ดีที่สุดคือ การจดทะเบียน "สิทธิเก็บกิน" คือเจ้าของที่ดินจะโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ใด ก็โอนให้ ไม่ต้องมาทำพินัยกรรมให้ยุ่งยาก เพียงสงวน "สิทธิเก็บกิน" ไว้ เช่น เจ้าของสามารถอาศัยอยู่บนที่ดิน หรือเกี่ยวเกี่ยวผลประโยชชน์บนที่ดินได้ ตลอดชีวิต เมื่อเจ้าของตายลง ที่ดินก็เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับโอนทันที ไม่ต้องมาจัดการมรดกให้ยุ่งยาก....สามารถสอบถาม วิธีการจดทะเบียน "สิทธิเก็บกิน"ได้ที่ สนง.ที่ดิน....ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,399