การตีความกฎหมาย

โดย: [IP: 49.228.167.xxx]
เมื่อ: 2023-02-15 16:29:47
สงสัยเกี่ยวกับกฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็ก ว่ารวมถึงสื่อลามกอนาจารเด็กเสมือน เช่น การ์ตูน นิยาย หรือไม่ บางคนบอกว่ารวม บางคนบอกไม่รวม คนบอกไม่รวมบอกว่าตัวละครไม่มีสภาพบุคคลจึงไม่มีอายุและมีคนบอกว่าหากพิจารณาตามคุณธรรมทางกฎหมายถือว่าสื่อที่ไม่มีคนจริงนั้นไม่ผิด และในคู่มือและแนวทางการดำเนินการตามแผนและการเตรียมความพร้อมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่24 พ.ศ.2558 ในส่วนขอบเขตบังคับใช้และตีความกฎหมายบอกว่ากรณี animation ไม่ถือว่าเป็นสื่อลามกอนาจารตามเจตนารมณ์ผู้ร่างกฎหมาย แต่ในกรณีนิยายไม่ชัดเจน จึงสงสัยเกี่ยวกับข้อสรุปว่ามันผิดหรือไม่
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.219.xxx]
เมื่อ: 2023-02-18 08:26:29
สื่อลามกอนาจารเด็ก เสมือน

เรื่องที่ถามเป็นปัญหาข้อกฎหมาย จะตอบว่ามีความผิดหรือไม่มีความผิด ก็คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ตอบไปแล้ว คงไม่ใช่ข้อยุติ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย... ถ้าถูกดำเนินคดี ก็ต้องให้การต่อสู้ว่า ไม่มีความผิด และนำสืบพยานหลักฐานต่างๆเพื่อหักล้างว่าตนไม่มีความผิด ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลเป็นสำคัญว่า จะวินิจฉัยออกมาในทางใด คือผิดหรือไม่ผิด....จากการที่ศึกษาวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้นำข้อมูลที่หลากหลาย ทั้ง ฝั่งอเมริกา ยุโรป เอเซีย มานำเสนหลายแง่หลายมุม เกี่ยวกับสื่อฯเสมือน ดูแนวโน้มก็ค่อนข้างเห็นว่า การกระทำฯนั้นเป็นความผิด ก็ลองไปค้นหาอ่านเอาเอง ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: [IP: 49.228.165.xxx]
เมื่อ: 2023-02-18 11:39:59
ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ จะไปหาอ่านเพิ่มเติมดู
#3 โดย: [IP: 49.228.203.xxx]
เมื่อ: 2023-03-09 14:22:52
จากกระทู้ด้านบนที่สงสัยเกี่ยวกับสื่อเสมือน เนื่องจากเห็นคนถกเถียงกันและมีข้อสรุปที่ไม่ตรงกันในอินเทอร์เน็ต จึงเกิดข้อสงสัยและมาถามคุณทนาย คุณทนายบอกว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายและแนะนำให้ลองไปอ่านวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาเรื่องนี้ดู หลังจากได้ไปอ่านมาแล้วพบว่ามีประเด็นน่าสนใจและอยากมารวบยอดความคิดว่าจากวิทยานิพนธ์นั้น เราเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องอาจรบกวนคุณทนายชี้แนะด้วยค่ะ

1. สื่อเสมือน(สื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนจริงเลย)ผิดกฎหมายในหลายประเทศ แล้วแต่ข้อกำหนดของประเทศนั้นๆว่าจะรวมกับกฎหมายสื่อลามกอนาจารเด็กหรือแยกกัน
2. จากวิทยานิพนธ์ที่ได้อ่านมา ได้ข้อสรุปว่ากฎหมายไทยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้กว้างๆ กล่าวคือสามารถตีความจากคำนิยาม ให้รวมถึงสื่อเสมือนก็ได้ แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมายกลับออกมาในทำนองว่าเด็กนั้นต้องเป็นตัวคนจริงๆ จึงยังไม่ชัดเจนนัก ในข้อสรุปวิทยานิพนธ์เขียนไว้ว่า กฎหมายไทยอาจออกมาในแนวทางว่าคล้ายญี่ปุ่นว่ามีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับสื่อเด็กไว้เฉพาะแต่ไม่รวมสื่อเสมือน
3. แต่จากที่คุณทนายเคยบอกไว้ หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดีจริงๆ คงขึ้นกับศาลว่าจะวินิจฉัยออกมาเป็นอย่างไร

ขอบคุณคุณทนายที่ได้แนะนำให้อ่านวิทยานิพนธ์ ได้ความรู้และแง่มุมใหม่ๆเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นมาก
ปล. ขอโทษที่ถามเยอะค่ะ เป็นความเนิร์ดและสงสัยส่วนตัว เพราะเห็นคนคุยเรื่องนี้กันในเน็ต และในกระทู้แรกอาจเขียนงงๆ ไปหน่อย

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,350