กรณีศึกษาหลักฐานการทำสัญญาเช่า ก.ให้ข. เช่าบ้านพร้อมที่ดินมีกำหนดการเช่า 10 ปีโดยตกลงการเช่ากันด้วยวาจามีผลตามกฎหมายอย่างไร ก.ให้ข. เช่าบ้านพร้อมที่ดินมีก

โดย: กาฟ [IP: 223.24.61.xxx]
เมื่อ: 2019-10-19 17:55:48
กรณีศึกษาหลักฐานการทำสัญญาเช่า



ก.ให้ข. เช่าบ้านพร้อมที่ดินมีกำหนดการเช่า 10 ปีโดยตกลงการเช่ากันด้วยวาจามีผลตามกฎหมายอย่างไร

ก.ให้ข. เช่าบ้านพร้อมที่ดินมีกำหนดการเช่า 10 ปีโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เข้าแต่เพียงฝ่ายเดียว กรณีนี้มีผลตามกฎหมายประการใด









#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.42.xxx]
เมื่อ: 2019-10-20 09:53:20
การเช่าที่ดิน

ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องได้ ถ้าเช่าเกินสามปี ต้องจดทะเบียนฯ ( ปพพ. ม.538) แบบสัญญาเช่า ควรมีลายมือชื่อผู้ให้เช่าและผู้เช่า ด้วย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการโต้แย้งในภายหลัง....สัญญาเช่าด้วยวาจา อาจจะ...บังคับได้ ถ้าเข้าข่าย เป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แต่ในทางปฏิบัติ ควรมีหลักฐานเป็นหนังสือ และจดทะเบียนฯ ดังกล่าวข้างต้น น่าจะปลอดภัยที่สุด...แนวคำพิพากษาฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2501 โจทก์ออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกให้จำเลย และจำเลยตกลงจะให้โจทก์เช่าตึกที่ก่อสร้างขึ้นใหม่สัญญาเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เมื่อจำเลยผิดสัญญา เพราะเป็นสัญญาต่าตอบแทนชนิดหนึ่ง มิใช่สัญญาเช่าธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2506 สัญญาเช่าห้องแถว ซึ่งผู้เช่าให้เงินแก่ผู้ให้เช่าเป็นเงินช่วยค่าก่อสร้าง และผู้ให้เช่ายอมให้เช่าอยู่ได้ 6 ปี 10 เดือนนั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408-410/2501 สัญญาที่ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ออกเงินสร้างตึกขึ้นแล้วจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ได้ 8 ปีฝ่ายเจ้าของที่ดินเป็นผู้ที่จะได้ตึกโดยไม่ต้องออกเงินสร้างแต่จะต้องยอมให้ผู้สร้างอยู่ได้ 8 ปี สัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนกันย่อมมีผลผูกพันกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียน(อ้างฎีกาที่ 1460/2495)
โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมอยู่กับน.ส.สุภาคู่สัญญาซึ่งทำสัญญากันกับจำเลยดังกล่าวข้างต้นและโจทก์รับในรายงานพิจารณาของศาลว่าโจทก์ได้รู้เห็นยินยอมให้ น.ส.สุภาทำสัญญานั้นด้วยโจทก์จึงต้องผูกพันในสัญญาด้วยและเมื่อโจทก์รับโอนที่ดินมาเป็นของตนแต่ผู้เดียวในภายหลังโจทก์ต้องรับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญานั้นมาด้วยเมื่อตามสัญญา จำเลยมีสิทธิจะอยู่ได้ 8 ปีขณะที่ยังไม่ครบกำหนดนั้นโจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเลิกสัญญาและยังไม่มีสิทธิจะขับไล่จำเลย

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 125,885