ปรึกษาเรื่องค้ำประกันงานครับ

โดย: กานต์ [IP: 184.22.99.xxx]
เมื่อ: 2020-04-25 00:28:01
เมื่อหลายปีก่อนผมได้ค้ำประกันงานให้เพื่อน(อาจจะก่อนปี51) และไม่ได้ติดต่อเพื่อนเลยมาหลายปี เบอร์ก็ไม่มี มาวันนี้มีหนังสือจากบริษัทแจ้งให้ผมไปชำระหนี้ อันเนื่องจาก เพื่อนผมทำงานตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประกันภัย และรับเงินจากลูกค้าในช่วงปี 60-61 แล้วไม่นำเงินส่งบริษัทเป็นจำนวนประมาน 450,000 ต่อมาเพื่อนผมได้นำเงินไปชำระ 200,000 หลังจากนั้น ไม่ได้ไปชำระอีกเลย (เป้นข้อความในหนังสือ) บริษัทจึงให้ผมไปชำระเงินประมาน 250,000 พร้อมดดอกเบี้ย

ผมอยากปรึกษาว่า

- ผมควรจะทำยังไงดี เพื่อนก็ติดต่อไม่ได่

- ผมจำเป็นต้องรับผิดชอบ หรือไม่ และรับผิดชอบแค่ไหน

- ถ้ามีการฟ้องร้อง เค้าจะไปฟ้องศาลแรงงาน หรือศาลแพ่ง กรณีฟ้องเพ่งผมควรต่อศุ้ยังไงดี

ช่วยแนะนำผมด้วยครับ ตอนนี้เครียดมาก
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 1.1.222.xxx]
เมื่อ: 2020-04-25 07:43:04
การค้ำประกันการทำงาน

มีประกาศของกระทรวงแรงงาน ให้นายจ้างเรียกหลักประกันได้ ไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน สัญญาต้องมีสามฉบับ ให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ค้ำประกัน เก็บไว้คนละฉบับ...ก็ต้องไปดูรายละเอียดว่า ในปีที่มีการทำสัญญาค้ำฯ ลูกจ้าง(คนที่คุณค้ำฯ)ได้ค่าจ้างวันละเท่าไร ก็คูณด้วย 60 ก็เป็นจำนวนเงินที่คุณต้องรับผิด ซึ่งน่าจะไม่ถึง 250,000 บาท ถ้าจะมีการฟ้องให้ต้องรับผิด คงฟ้องทางแพ่ง ต้องยื่นคำให้การต่อสู้ว่า คุณรับผิดเพียง 60 เท่าของค่าจ้างรายวัน ถ้าไม่ยื่นคำให้กาารต่อสู้ไว้ อาจจะแพ้คดีเอาง่ายๆ อาจต้องจ่ายเต็มตามที่ถูกฟ้อง...
#2 โดย: กานต์ [IP: 49.228.169.xxx]
เมื่อ: 2020-04-25 14:53:56
ขอถามเพิ่มเติมนะครับ ตอนนั้นที่ทำสัญญาไม่ ได้มี 3 ฉบับ และคิดว่าไม่ได้ระบุจำนวนเงินไว้ คาดว่าตอนนั้นจะก่อนปี 51 ตาม พรบแรงงานฉบับแก้ไขหรือป่าวผมไม่แน่ใจ ขอสอบถามนะครับ
- ถ้าสัญญาที่เราไปทำ มันไม่เป็นไปตาม พรบแรงงาน หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทํางาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทํางานจากลูกจ้าง ที่ประกาศใช้ปี 51 สัญญาค้ำประกันงานนั้นจะมีปัญหาไหมครับ
- ผมสามารถเข้าไปขอ สำเนาสัญญาค้ำประกัน ตลอดจนที่อยู่ และเบอร์โทรของเพื่อน รวมทั้งหลักฐานเรื่องการฉ่อโกง ได้หรือไม่
- การยื่นคำต่อสู้ เรื่องลูกค้าได้ค่าจ้างวันละเท่าไหร่ x 60 เท่า ค่าจ้างรายวันเป็นค่าจ้างในตอนที่เข้าทำงานในตอนนั้น หรือค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน ในปีที่กระทำผิดครับ เพราะถ้าตอนกระทำผิด เงือนเดืินของลูกจ้างที่กระทำผิด อาจจะสูง
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 1.1.222.xxx]
เมื่อ: 2020-04-26 07:16:50
การประกันทำงาน(ต่อ)

- ถ้าสัญญาที่เราไปทำ มันไม่เป็นไปตาม พรบ.แรงงาน หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทํางาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทํางานจากลูกจ้าง ที่ประกาศใช้ปี 51 สัญญาค้ำประกันงานนั้นจะมีปัญหาไหมครับ

ตอบ...เมื่อมีประกาศฯออกมาในภายหลังที่เป็นคุณต่อผู้ประกัน หรือผู้ทำสัญญา ต้องใช้ประกาศฯที่ออกมาภายหลังนั้นมาบังคับใช้ ตาม ปอ. ม.2

- ผมสามารถเข้าไปขอ สำเนาสัญญาค้ำประกัน ตลอดจนที่อยู่ และเบอร์โทรของเพื่อน รวมทั้งหลักฐานเรื่องการฉ้อโกง ได้หรือไม่

ตอบ...ได้...แต่ควรทำเป็นหนังสือให้ชัดเจน ถ้าถูกปฏิเสธ จะได้ใช้เป็นข้อต่อสู้ในภายหลังได้ ไม่น่าจะต้องเข้าในบริษัทเอง เพียงส่งหนังสือร้องขอไปก็ได้ การเข้าไปเอง ถ้าไม่รัดกุมรอบคอบพออาจมีปัญหาได้..
- การยื่นคำต่อสู้ เรื่องลูกค้าได้ค่าจ้างวันละเท่าไหร่ x 60 เท่า ค่าจ้างรายวันเป็นค่าจ้างในตอนที่เข้าทำงานในตอนนั้น หรือค่าจ้างเฉลี่ยต่อวัน ในปีที่กระทำผิดครับ เพราะถ้าตอนกระทำผิด เงินเดือนของลูกจ้างที่กระทำผิด อาจจะสูง

ตอบ...ก็ต้องยึดถือเอาค่าจ้างในวันทำสัญญาฯ ไม่ใช่ค่าจ้างในวันที่มีกระทำความผิด ส่วนวันที่กระทำความผิด เป็นเรื่องของนายจ้าง ที่ต้องแจ้งความดำเนินคดีฐานฉ้อโกง เอาเองภายในอายุความ ดังนั้นความรับผิดของคุณ ตามสัญญาฯ คงไม่มากมายอะไร...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,073