โจทก์ที่ยื่นคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ มีความผิดฐานฟ้องเท็จจำเลยหรือไม่

โดย: SUT [IP: 202.90.6.xxx]
เมื่อ: 2020-08-18 11:09:34
ลำดับเหตุการณ์ ดังนี้ครับ

1. โจทก์แจ้งความอันเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน

2. พนักงานอัยการนำความอันเป็นเท็จของโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีอาญา

3.โจทก์ยื่นคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ศาลมีคำสั่งอนุญาต

4. โจทก์เบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลเพื่อให้จำเลยได้รับโทษ

5. ในวันฟังคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งยกคำร้องการเป็นโจทก์ร่วม เนื่องจากโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย และพิพากษายกฟ้องจำเลย

คำถาม กรณีนี้ ถือว่าโจทก์มีความผิดฐานฟ้องเท็จต่อจำเลยหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ

#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.235.xxx]
เมื่อ: 2020-08-19 15:33:08
ฟ้องเท็จ/เบิกความเท็จ

ตามข้อเท็จจริง น่าจะมีความผิดฐานฟ้องเท็จ และเบิกความอันเป็นเท็จ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ยกมา..

ฎีกา 5558/2534
เมื่อศาลมิได้หยิบยกเอาคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ในคดีก่อนมาวินิจฉัยหากแต่วินิจฉัยถึงพยานหลักฐานอื่นแล้วเชื่อว่าจำเลยที่ 1ในคดีดังกล่าวกระทำผิดจริง คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดี ในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยที่ 1แม้ศาลพิพากษายกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และโจทก์ยังไม่ได้อยู่ในฐานะจำเลย แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำความเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์ได้ลักเอาทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ไป อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานลักทรัพย์ โดยจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าข้อความตามฟ้องและที่เบิกความนั้นเป็นเท็จจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ จำเลยเบิกความในฐานะพยานอันเป็นอีกฐานะหนึ่งต่างหากจากการเป็นตัวจำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นความเท็จ จำเลยจะยกเอาสิทธิในการต่อสู้คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐานเบิกความเท็จหาได้ไม่
ฎีกา 4900/2537

การเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกันส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดีก็หมายถึงเนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความหาใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความไม่ ดังนั้นถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความ ไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีอันเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จเช่นเดียวกัน

ฎีกา 126 /2523
ในคดีแพ่งที่จำเลยทั้งสองถูก ส. ฟ้องว่าผิดสัญญาขายที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งโจทก์ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้น ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ (ซึ่งเป็นจำเลยร่วม)ขายที่พิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นสำคัญชี้ขาดการแพ้ชนะคดีนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกความอันเป็นเท็จว่าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ไปจำหน่ายหรือขายที่ดินให้คนอื่น จึงเป็นข้อความสำคัญในคดี
เมื่อจำเลยเบิกความเท็จและข้อความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีแม้คดีนั้นจะเสร็จเด็ดขาดลงด้วยการประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตามการกระทำที่เป็นการเบิกความเท็จของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

ฎีกา 224/2532
ในคดีก่อน จำเลยถูก ฟ้องในข้อหาขับรถยนต์ โดยประมาทชนรถยนต์ที่ผู้เสียหาย (โจทก์คดีนี้) ขับสวนทางมา เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส และมีบุคคลอื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายบาดเจ็บ การที่จำเลยเบิกความในคดีก่อนว่า ผู้เสียหายขับรถยนต์ ชนรถยนต์ ที่จำเลยขับในช่องทาง เดินรถของจำเลย มีพวกผู้เสียหายเก็บเศษกระจกและเศษไม้จากช่องทาง เดินรถของจำเลยไปไว้ในช่องทาง เดินรถของผู้เสียหาย เท่ากับเบิกความว่า เหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นความผิดของผู้เสียหาย มิใช่ความผิดของจำเลยซึ่ง เป็นประเด็นโดยตรงของคดีก่อนที่ว่าจำเลยขับรถยนต์ โดยประมาทหรือไม่ข้อความที่จำเลยเบิกความจึงเป็นข้อสำคัญในคดี แม้จำเลยจะมีสิทธิในการต่อสู้ คดีและจะให้การอย่างไร หรือไม่ยอมให้การในคดีก่อนก็ได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ก็ตาม แต่ ในชั้น พิจารณาคดีดังกล่าว ตัว จำเลยได้ เข้าเบิกความในคดีฐานะ พยานซึ่ง เป็นอีกฐานะ หนึ่งต่างหากจากการเป็นตัว จำเลย หากคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จจำเลยก็ต้อง มีความผิดฐาน เบิกความเท็จ จะยกเอาสิทธิในการต่อสู้ คดีของจำเลยมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดฐาน เบิกความเท็จหาได้ไม่.
#2 โดย: SUT [IP: 49.228.56.xxx]
เมื่อ: 2020-08-19 17:11:19
ขอบคุณ พี่มโนธรรม และเพจนี้ครับผม

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,342