ฬครต้องรับผิด

โดย: ประชา มั่นใจอารย์ [IP: 171.97.188.xxx]
เมื่อ: 2020-11-20 14:52:18
สอบถามความเห็นทางข้อกม.หน่อยครับ

เมื่อเช้าดูรายการข่าว รายงานข่าวว่าพบหมากับแมวโดนวางยาเบื่อตาย โดยเหตุเกิดในพื้นที่ของ นาย เอ.ซึ่งทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา โดยนาย เอ.ยอมรับว่าตนเองเป็นผู้วางยาเบื่อเอง เนื่องจากบ่อเลี้ยงปลานี้มีตัวเงิน ตัวทอง (ตัวเหี้ย) มารบ

กวนอยู่เป็นประจำ เจตนาก็เพื่อกำจัดตัวเงินตัวทอง กรณีนี้เจ้าของหมา เจ้าของแมว ไม่เห็นด้วย ไปแจ้งความเอาผิดนายเอ. ให้ชดใช้ค่าเสียหาย

อยากถามว่า

1. นายเอ.เจ้าของบ่อปลามีความผิดไหม

2. ถ้านายเอ.ปฏิเสธความรับผิด จะสู้คดีอย่างไร

3. คดีนี้เป็นคดีแพ่งหรืออาญา หรือทั้งแพ่งและอาญา
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.158.xxx]
เมื่อ: 2020-11-21 09:05:38
การรับผิดตามกฎหมาย

1. นายเอ.เจ้าของบ่อปลามีความผิดไหม

ตอบ...ต้องรับผิด ตาม พรบ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ม.20 มีโทษตาม ม.31 คือ โทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตาม ปอ. ม. 358 โทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท คงต้องถูกลงโทษตามบทหนัก ตาม ปอ. ม.358 เท่านั้น ตาม ปอ. ม.91

2. ถ้านายเอ.ปฏิเสธความรับผิด จะสู้คดีอย่างไร
ตอบ...แน่นอน นาย เอ คงให้การต่อสู้เรื่อง การป้องกันโดยชอบ ตาม ปอ. ม.68 จึงไม่มีความผิด เจ้าของแมว อาจต้องรับผิดฐานละเมิด ที่ปล่อยปละละเลยให้แมวเข้าไปรบกวน บ่อเลี้ยงปลาของผู้อื่น อาจต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง และอาจมีโทษปรับ ตาม พรบ.ป้องกันการทารุณกรรมฯ ม.22 คือถ้าไม่ดูแลสัตว์ตามเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีประกาศฯ จะมีโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท ตาม ม.32....ผู้ใดจะรับผิดอย่างไรหรือไม่ ต้องไปพิสูจน์กันที่ศาล คำตอบนี้เป็นการว่าไปตามหลักการของกฎหมาย ส่วนการจะต้องรับโทษอย่างไร เป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น

3. คดีนี้เป็นคดีแพ่งหรืออาญา หรือทั้งแพ่งและอาญา
ตอบ...เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คือต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง และอาจต้องรับโทษจำคุกตามคดีอาญา...ข้อเสนอแนะ เคสนี้ ควรใช้การเจรจากันหาทางออกที่เหมาะสม อาจหาคนกลางที่น่าเชื่อถือช่วยเคลียร์ให้ คดีน่าจะยุติลงด้วยดี ถ้าจะแจ้งความดำเนินคดี และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง ก็สามมารถทำได้ แต่คงมีการต่อสู้กันยาวนาน ตามเหตุปัจจัยที่กล่าวข้างต้น สุดท้ายผู้กระทำความผิด น่าจะไม่ได้รับโทษถึงจำคุก เพราะโทษน้อยเพียง 3 ปี ถ้ามีข้อเท็จจริงเข้าเงื่อนไข ตาม ปอ. ม.56 (ลองเปิดอ่านดู) ก็น่าจะได้รับการรอการลงโทษไว้(รออาญา) ซึ่งน่าจะเสียเงินและเสียเวลาเปล่า ในการต่อสู้คดีที่ยาวนาน และมีปัญหาบาดหมางกันไม่สิ้นสุด แต่ถ้าใช้การเจรจาแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ย่อมอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เพราะเพื่อนบ้านก็ไม่ต่างจากญาติสนิท จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันตามสมควร ถ้ามีปัญหาขัดแย้งกัน ต้องคอยระมัดระวังตนระวังตัว คงไม่มีความสุขในชีวิต ด้วยความปรารถนาดี ครับ...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 125,901