ภาระจำยอม

โดย: Bag [IP: 113.53.179.xxx]
เมื่อ: 2021-09-07 18:42:09
ก กับ ข ขได้รับ ทรัพยสิทธิซึ่งเป็นภาระจำยอม เมื่อ ก ตาย ค ซึ่งเป็นทายาทจะต้องมีหน้าทีต่อจาก ก ไหมครับ และ ถ้า ข ตาย ง ทายาท มี สิทธิในภาระจำยอมจะตกแก่ทายาทของ ข ซึ่งคือ ง ไหมครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.217.xxx]
เมื่อ: 2021-09-08 09:16:51
ภาระจำยอม

ทางภาระจำยอม เป็นสิทธิที่ติดกับที่ดิน แม้จะมีการเปลี่ยมือผู้ถือครองไป ภาระจำยอมนั้นก็ย่อมยังคงอยู่ตลอดไป เว้นแต่ ทางภาระจำยอมนั้นสลายไปทั้งหมด เช่น ถูกน้ำกัดเซาะพังทลาย ไม่เหลือสภาพทางภาระจำยอม หรือไม่ใช้ทางภารจะยอมติดต่อกัน 10 ปี (ปพพ. ม.1397 ม.1399)...จากคำถาม ทายาทของผู้ใช้ทางภาระจำยอม และทายาทของของผู้ต้องรับภาระจำยอม ก็ต้องยอมรับสภาพทางภาระจำยอมนั้นตลอดไป เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้น...ทางภาระจำยอม ควรจดทะเบียน ถ้ามีปัญหาโต้แย้ง จะไม่ต้องนำสืบพยานให้ต้องยุ่งยาก ว่า มีการใช้ทางภาระจำยอมมาเกิน 10 ปี จริงหรือไม่...แนวคำพิพากษาเทียบเคียง

ฎีกาที่ 800/2502
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1397, 1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า "ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่า ทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใด ๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วย แต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2502)
ฎีกาที่ 805/2518

ที่ดินของโจทก์มีทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า10 ปี จำเลยซื้อที่ดินจากศาลขายทอดตลาดและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยอ้างมาตรา 1299 ยันโจทก์ไม่ได้ มาตรา1299 หมายความถึงกรณีที่โต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพย์สิทธิอันเดียวกันมิใช่ภารจำยอมของโจทก์กับกรรมสิทธิ์ของจำเลย ที่ดินของโจทก์ยังเป็นสามยทรัพย์อยู่ต่อไปแม้โจทก์จะจดทะเบียนเป็นเจ้าของหลังจากที่จำเลยจดทะเบียนซื้อที่ดินของจำเลยก็ตาม
ฎีกาที่ 165/2522
โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยมากว่า 10 ปี ได้ภารจำยอมจำเลยอ้างว่าจดทะเบียนซื้อที่ดินมาโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีทางภารจำยอมไม่ได้

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,209