หมายเหตุท้ายฎีกา เรื่อง หลัก “fair use”
หมายเหตุ
(1) ภายใต้กฎหมายของประเทศต่าง
ๆ การใช้ที่เป็นธรรม (fair use) หรือ การจัดการที่เป็นธรรม (fair
dealing) เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่สำคัญประการหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลทั่วไปมีสิทธิพิเศษที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์
โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์หากการใช้นั้นเป็นการใช้ที่
เป็นธรรม
การใช้ที่เป็นธรรมเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะ
สร้างดุลยภาพระหว่างการปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของเจ้าของลิขสิทธิ์และ
การรักษาประโยชน์ของสาธารณชนในอันที่จะใช้งานอันมีลิขสิทธิ์
ซึ่งหลักการว่าด้วยดุลยภาพนี้เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายลิขสิทิ์ของทุก ประเทศ
โดยมีความุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการสร้างงานที่มีคุณค่าและเป็น
ประโยชน์ต่อสังคมและให้สังคมสามารถใช้งานนั้นได้โดยไม่กระทบกระเทือนถึง
สิทธิของผู้สร้างสรรค์งาน
การกระทำลักษณะหนึ่งที่กฎหมายถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรม
ได้แก่ การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ในการศึกษามาตรา 32 วรรคสอง (1) ของ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 บัญญัติว่า “การวิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร”
เป็นการกระทำที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เจตนารมณ์ของข้อยกเว้นนี้คือเพื่อให้
ครูอาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา
และบุคคลทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อศึกษาหาความรู้
จากงานนั้น หรือใช้งานนั้นเพื่อสร้างงานขึ้นมาใหม่
(2) ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยไว้ในคำ
พิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.326/2542 คดีหมายเลขแดงที่ อ.784/2542 ว่า การจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 32 วรรคสอง (1) จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 3 ประการ ดังนี้
- เป็นการกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานนั้น
- การกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
และ
- การกระทำนั้นไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่
กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
(3) สำหรับหลักเกณฑ์ประการแรก
จากคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง คำว่า “วิจัย”
หมายความถึง การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ส่วนคำว่า “ศึกษา”
ได้แก่ การเล่าเรียน ฝึกฝน และอบรม ดังนั้น การวิจัยหรือศึกษาจึงมีความหมายกว้าง
รวมถึงกรณีที่บุคคลศึกษาเรียนรู้งานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อหาความรู้เป็นส่วน ตัว
และศึกษางานเพื่อสร้างงานขึ้นใหม่ดังนั้น
การทำสำเนางานวรรณกรรมอันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
เพื่อนำไปใช้อ่านหรือใช้ประกอบการเรียนในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจ
ย่อมเป็นการกระทำที่อยู่ในความหมายของของการวินิจฉัยหรือศึกษางานนั้นตาม มาตรา 32 วรรคสอง (1)
ข้อเท็จจริงในคำพิพากษานี้
มิได้เกี่ยวกับการทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อใช้ในการวิจัยหรือศึกษางาน
นั้นโดยตรง หากแก่เป็นการทำสำเนาอันมีลิขสิทธิ์ใช้เพื่อการดังกล่าว
ปัญหาว่าการรับจ้างถ่ายเอกสาร เย็บเล่ม และเข้าปกหนังสือ ให้แก่นักศึกษา
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย จะถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรมหรือไม่
ซึ่งทั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและศาลฎีกา
ได้วินิจฉัยโดยสอดคล้องกันไปในแนวทางว่าผู้รับจ้างถ่ายเอกสารให้แก่บุคคล อื่นเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานนั้น
สามารถอ้างหลักการใช้ที่เป็นธรรมตามข้อยกเว้นนี้ได้
เช่นเดียวกับผู้ที่ทำสำเนางานเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานนั้นโยตนเอง
อย่าง ไรก็ดี
ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้แตกต่างจากศาลชั้นต้น
โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเห็นว่า
จำเลยกระทำการดังกล่าวด้วยการรับจ้างนักศึกษาทำสำเนางาน ส่วนศาลฎีกาเห็นว่า
การกระทำของจำเลยมิใช่การรับจ้างถ่ายเอกสาร
หากแต่เป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ไว้เพื่อขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขาย
ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อการต้าและหากำไรจากการขายสำเนางานที่จำเลยทำซ้ำขึ้นมา
ซึ่งถ้าหากจำเลยสามารถแสดงพยานหลักฐานพิสูจน์ให้เห็นว่า
เอกสารที่จำเลยทำสำเนาเป็นเอกสารเกี่ยวกับการรับจ้างถ่ายเอกสาร
ศาลฎีกาก็คงจะพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์เป็นแน่
(4) ประเด็นที่ควรพิจารณาคือ
เพราะเหตุใดการทำซ้ำงานเพื่อนำสำเนางานออกจำหน่ายจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
และเหตุใดการรับจ้างนักศึกษาทำสำเนางานเพื่อให้นักศึกษานำสำเนางานที่เกิด
จากการทำซ้ำไปใช้ในการศึกษาวิจัยจึงเป็นการใช้ที่เป็นธรรม
เหตุที่
การทำซ้ำงานไว้เพื่อแสวงหาประโยชน์จากการจำหน่ายสำเนางานเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์
ก็เนื่องจากการกระทำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเด็ดขาดที่กฎหมายสงวน
ไว้สำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์
กฎหมายคุ้มครองผู้สร้างสรรค์งานด้วยการให้เจ้าของงานมีสิทธิแต่เพียงผู้ เดียว (exclusive
rights) ที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลงงานเพื่อจำหน่ายหรือแสวงหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
บุคคลทั่วไปไม่อาจกระทำการที่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเด็ดขาดที่เจ้าของ
ลิขสิทธิ์มีตามกฎหมาย
การทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อนำ
ออกจำหน่าย มีลักษณะเป็นการแทรกแซงโดยตรงต่อสิทธิในทางเศรษฐกิจของเจ้าของลิขสิทธิ์
เนื่องจากเป็นการค้าขายแข่งขันกับเจ้าของ
แต่การรับจ้างผู้อื่นทำสำเนางานนั้นมีลักษณะที่ต่างออกไป
ผู้รับจ้างทำสำเนามิได้กระทำการในลักษณะที่เป็นการรบกวนโดยตรงต่อการใช้
สิทธิเด็ดขาดของเจ้าของลิขสิทธิ์
อย่างไรก็ดี
แม้การรับจ้างทำสำเนาอาจมีลักษณะเป็นการกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางาน แต่ผู้รับจ้างจะอ้างการใช้ที่เป็นธรรมได้ก็ต่อเมื่อการรับจ้างทำสำเนานั้นมิ
ใช่การกระทำเพื่อหากำไรและเป็นการกระทำที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตาม
ปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์
และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร
ดังจะได้กล่าวถือต่อไป
(5) พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ
มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำสำเนางานเพื่อให้ผู้อื่นทำการวิจัยหรือศึกษาอยู่
สองมาตรา ได้แก่ มาตรา 36 วรรคสอง (7) และมาตรา
34 (2) กรณีแรกเกี่ยวกับการทำสำเนางานโดยผู้สอนหรือสถาบันการศึกษาเพื่อแจกจ่ายหรือ
จำหน่ายแก่ผู้เรียน โดยไม่ได้กระทำเพื่อหากำไร
ส่วนกรณีที่สองเกี่ยวกับการที่บรรณารักษ์ห้องสมุดทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้
แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา
เมื่อกฎหมายมีบท
บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
จึงมีปัญหาว่าบุคคลที่ทำสำเนางานเพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในการวิจัยหรือ
การศึกษาที่มิใช่สองกรณีดังกล่าว อ้างการใช้ที่เป็นธรรมได้หรือไม่
การ
ตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดว่า
เฉพาะแต่การทำสำเนางานเพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษาโดย
ผู้สอนหรือสถาบันการศึกษา หรือโดยบรรณารักษ์ห้องสมุดเท่านั้น ที่เข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
จะก่อให้เกิดปัญหามากทั้งนี้เพราะในประเทศไทย
การทำสำเนางานมักจะมีลักษณะเป็นการจ้างตามสัญญาจ้างทำของ เช่น จ้างร้านถ่ายเอกสาร
หรือจ้างเจ้าหน้าที่ห้องสมุดให้ทำสำเนางาน
ซึ่งแตกต่างไปจากในต่างประเทศที่มักจะไม่มีการให้บริการถ่ายเอกสาร
ผู้ที่ต้องการทำสำเนาเอกสารต้องทำสำเนาด้วยตนเอง
ด้วยการซื้อบัตรถ่ายเอกสารจากผู้ให้บริการเครื่องถ่ายเอกสารอีกทีหนึ่ง
(6) ในความเป็นจริง
ผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์จากการที่นักศึกษาทำสำเนางานสำหรับการ
วิจัยหรือศึกษางานนั้นโดยตนเอง กับผลกระทบจากการที่ผู้รับจ้างเป็นผู้ทำสำเนาเพื่อให้ผู้อื่นใช้ในการวิจัย
หรือศึกษา หาได้มีความแตกต่างกันแต่ประการใดไม่
ผู้รับจ้างถ่ายเอกสารมีฐานะเสมือนเป็นตัวแทนของนักศึกษา ดังนั้น
หากการกระทำของนักศึกษาไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว
การกระทำของร้านถ่ายเอกสารก็ไม่ควรเป็นการทำละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว
การกระทำของร้านถ่ายเอกสารก็ไม่ควรเป็นการทำละเมิดเช่นเดียวกัน
คำ
พิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ตัดสินไว้
อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อสภาพเศรษฐกิจสังคัมของประเทศ
โดยเฉพาะในการวินิจฉัยว่าร้านถ่ายเอกสารมีฐานะเสมือนเป็นเครื่องมือหรือตัว
แทนในการถ่ายเอกสารหรือในการทำสำเนาของนักศึกษา
และข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ที่ใช้กับนักศึกษาย่อมสามารถใช้กับร้านค้า ได้ด้วย
เพราะหากตีความว่าเฉพาะแต่ผู้ที่ต้องการวินิจฉัยหรือศึกษางานเท่านั้นที่มี
สิทธิอ้างการใช้ที่เป็นธรรม ก็จะทำให้ผู้รับจ้างถ่ายเอกสารมีความผิดตามกฎหมายลิขสิทธิ์
และส่งผลให้ธุรกิจรับจ้างถ่ายเอกสารซึ่งเป็นธุรกิจที่แพร่หลายและสร้างงาน
แก่คนไทยจำนวนมากต้องสูญสิ้นไปในที่สุด
(7) หลักเกณฑ์ประการที่สองของการใช้ที่เป็นธรรมตามมาตรา
22 วรรคสอง (1) ได้แก่
การกระทำนั้นมิได้เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
เมื่อ
ผู้รับจ้างถ่ายเอกสารสามารถอ้างการกระทำเพื่อวิจัยหรือศึกษางานนั้นได้ปัญหา
ที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ
การรับจ้างถ่ายเอกสารหรือทำสำเนางานโดยร้านถ่ายเอกสารเป็นการกระทำเพื่อหา
กำไรหรือไม่
สำหรับนักศึกษา
การทำสำเนางานก็เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
อันมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อหากำไร หากแต่กระทำเพื่อแสวงหาความรู้ให้แก่ตนเอง
กรณีย่อมแตกต่างไปหากการทำสำเนานั้นได้กระทำโดยองค์กรธุรกิจ เช่น
การทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์โดยบริษัทแห่งหนึ่ง
เพื่อนำสำเนางานนั้นไปใช้ประโยชน์สำหรับการวิจัยหรือศึกษาตลาดของสินค้า เป็นต้น
อย่างไรก็ดี
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นในทำนองว่าการกระทำใดจะมีลักษณะเป็นการ
กระทำเพื่อหากำไรหรือไม่นั้น มิได้ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ทำการวิจัยหรือศึกษางาน
หากแต่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือศึกษาเป็นสำคัญ ซึ่งตามความเห็นนี้
การกระทำเพื่อการวิจัยหรือศึกษางานโดยองค์กรธุรกิจ ก็อาจเป็นการใช้ที่เป็นธรรมได้
หากการวิจัยหรือศึกษางานนั้นมิได้มีความมุ่งหมายเพื่อหากำไร
สำหรับ
การกระทำของร้านถ่ายเอกสารที่รับจ้างทำสำเนางาน
จะเป็นการกระทำเพื่อหากำไรหรือไม่นั้น คงต้องดูที่วัตถุประสงค์ของการจ้างเป็นสำคัญ
คำพิพากษาของทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ให้เหตุผลไว้
อย่างน่ารับฟังว่า “การรับจ้างถ่ายเอกสารมีลักษณะเป็นการแบ่งสรรแรงงาน
โดยมิต้องให้นักศึกษาแต่ละคนทำการถ่ายเอกสารคนละหนึ่งชุด
ผู้รับจ้างถ่ายเอกสารให้บริการแก่นักศึกษาในลักษณะทางการค้า โดยคิดค่าแรง
ค่าเครื่องถ่ายเอกสารและค่ากระดาษ อันเป็นการกระทำการตามสัญญาจ้าง
และค่าตอบแทนที่ได้ก็เป็นสินจ้าง ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ได้จากการทำงานตามสัญญา
มิใช่กำไรที่เกิดจากการทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์”
ในกรณีเช่นนี้อาจ
เปรียบเทียบได้กับการที่นักการของมหาวิทยาลัย
ทำสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อให้อาจารย์ใช้เพื่อการวิจัยหรือการศึกษา
นักการซึ่งได้ค่าจ้างจากมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานของตน
ก็มิได้ทำสำเนางานเพื่อหากำไร
( หลักเกณฑ์ประการสุดท้ายของมาตรา
32 วรรคสอง (1) คือ การรับจ้างถ่ายเอกสารเป็นการกระทำที่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตามปกติของเจ้า
ของลิขสิทธิ์ และเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของ
ลิขสิทธิ์เกินสมควรหรือไม่
ปัจจัยที่ศาลต่างประเทศใช้ประกอบการ
พิจารณาในเรื่องนี้ มีอยู่หลายประการด้วยกัน รวมทั้งลักษณะของงานอันมีลิขสิทธิ์
คุณค่าของงานนั้น และปริมาณหรือสัดส่วนของงานที่มีการทำซ้ำ
รวมทั้งพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวได้ทำให้การขายและผลกำไรของเจ้าของงานลด
ลงหรือไม่
ลอร์ดเด็นนิ่ง
(Lord
Denning MR) นักนิติศาสตร์คนสำคัญของประเทศอังกฤษได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้ไว้ในคดี
Hubbard v Vosper ([1972]2 WLR 394) ว่า
“การพิจารณาว่าการกระทำใด
เป็นการกระทำที่เป็นธรรม จะต้องคำนึงถึงขีดระดับ (degree) ของการกระทำเป็นสำคัญ
กล่าวคือ
พิจารณาว่าส่วนที่มีการลอกเลียนนั้นเมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วคิดเป็นปริมาณที่
มากหรือไม่ หากเป็นปริมาณมาก จึงพิจารณาต่อไปถึงลักษณะของการใช้
ว่าเป็นการใช้เพื่อถ่ายทอดข้อความหรือข้อสนเทศในลักษณะเดียวกับเจ้าของลิ
ขสิทธ์หรือไม่ หากการใช้นั้นได้กระทำในลักษณะที่เป็นคู่แข่งกับเจ้าของลิขสิทธิ์
การกระทำดังกล่าวย่อมไม่เป็นธรรม
(9) ปริมาณหรือสัดส่วนของงานที่มีการทำสำเนา
เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพิจารณาการใช้ที่เป็นธรรม
ในต่างประเทศกลุ่มเจ้าของลิขสิทธิ์ต่าง ๆ
ได้ทำความตกลงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้ที่เป็นธรรมขึ้น1
เช่นกำหนดว่า ในกรณีหนังสือหรือตำรา การที่จะเป็นการใช้ที่เป็นธรรมจะต้องเป็นการทำสำเนาไม่เกินร้อยละ
5 หรือร้อยละ 10 ของงานทั้งหมด
หรือไม่เกิน 1 บทของหนังสือ และต้องเป็นการทำสำเนาไม่เกิน 1 ชุด เป็นต้น หรือกรณีบทความในวารสาร การทำสำเนางานจะกระทำได้เพียงไม่เกิน
1 บทความจากบทความทั้งหมดที่มีอยู่ในวารสารนั้น
และทำสำเนาได้เพียง 1 ชุด เป็นต้น มีข้อสังเกตว่า
หลักเกณฑ์ที่กล่าวมานี้ เป็นแต่เพียงแนวปฏิบัติ (guidelines) ที่กำหนดขึ้นโดยภาคเอกชน ที่ไม่มีผลบังคับเป็นกฎหมาย
และไม่ผูกผันศาลให้ต้องวินิจฉัยตาม
ในคดีนี้
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลฎีกามิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า
การทำสำเนางานในปริมาณและสัดส่วนเท่าใด จึงจะถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรม
เพียงแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้วินิจฉัยว่า
“งานที่ทำซ้ำจำนวน 43 ชุด
เป็นการทำซ้ำจากหนังสือ Organizational Behavior จำนวน 5 บท คิดเป็นร้อยละ 25 ของหนังสือทั้งเล่ม จำนวน 20 ชุด และทำซ้ำจากหนังสือ Environmental Science จำนวน
5 บท คิดเป็นร้อยละ 20.83
ของหนังสือทั้งเล่ม จำนวน 19 ชุด”
ถือเป็นการกระทำพอสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ซึ่งมีปัญหาน่าคิดว่า
หากเป็นการทำสำเนางานเกินปริมาณหรือสัดส่วนดังกล่าวของผู้กระทำจะอ้างการใช้
ที่เป็นธรรมได้หรือไม่
หลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในต่างประเทศ
เป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยกลุ่มเจ้าของลิขสิทธิ์
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเจ้าของเป็นสำคัญ
การนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในประเทศไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมด้วย
ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความต้องการใช้ข้อมูลความรู้จากหนังสือ
และตำราในการเรียนการสอน เพื่อยกระดับความรู้และภูมิปัญญาของคนในประเทศ
การนำหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในต่างประเทศมาประกอบการตีความข้อยกเว้นการละเมิด
ลิขสิทธิ์ จะส่งผลให้การศึกษาของประเทศมีต้นทุนที่สูงขึ้น ดังที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้แสดงเหตุผลไว้ดัง
นี้
“การศึกษาวิจัยจำต้องใช้ข้อมูลที่อยู่ในตำราและบทความจำนวนมาก
การกำหนดให้นักศึกษาทำสำเนาได้เฉพาะหนึ่งบทความในวารสารทั้งฉบับหรือหนึ่งบท
ในหนังสือทั้งเล่ม จึงอาจทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจความคิดหรือปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในหนังสือได้
อย่างชัดเจน
การใช้นักศึกษาต้องซื้อหนังสือทุกเล่มหรือเป็นสมาชิกวารสารทุกฉบับโดยกฎหมาย
มิได้ให้ข้อยกเว้นอันควร
ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางการศึกษาและวิชาการในสังคม”
(10) นอกจากสัดส่วนและปริมาณงานที่มีการทำซ้ำแล้ว
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
ยังได้นำปัจจัยอื่นมาใช้ประกอบการพิจารณด้วยกล่าวคือ
ต้องพิจารณาว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อำนวยความสะดวก
ให้แก่ผู้ประสงค์จะขออนุญาตใช้งานงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่
หากเจ้าของลิขสิทธิ์ละเลยไม่กระทำการดังกล่าว ก็ไม่อาจถือได้ว่าการทำสำเนางานเป็นการกระทำที่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ตาม
ปกติของเจ้าของ
และเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของ ลิขสิทธิ์
ซึ่งข้อวินิจฉัยนี้นับว่าสอดคล้องกับแนวคิดธุรกิจแผนใหม่ที่เชื่อว่าผู้
ประกอบธุรกิจต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคม
รวมทั้งยังสอดคล้องต่อปรัชญาพื้นฐานของการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
ที่เจ้าของสิทธิต้องให้ประโยชน์แก่สังคมเพื่อตอบแทนการที่สังคมได้รับรองและ
คุ้มครองสิทธิของตน
จักรกฤษณ์
ควรพจน์
1
ธัชชัย ศุภผลศิริ คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์ สำนักพิมพ์นิติธรรม พ.ศ.2539 หน้า 147
หมายเหตุ
1. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ในเรื่อง
“การใช้อย่างเป็นธรรม” หรือ “fair use” เป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายลิขสิทธิ์ของทุกประเทศเพื่อที่จะดุลระหว่าง
ประโยชน์ของเจ้าของงานลิขสิทธิ์และประโยชน์สาธารณชนในภาพรวม หลัก “fair
use” นี้ให้อำนาจศาลโดยตรงที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความแข็งกระด้างของการ
บังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ 1
ทั้งเป็นการให้อำนาจศาลที่จะวินิจฉัยจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี 2 ซึ่งอาจใช้เกณฑ์หรือระดับที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
โดยต้องขึ้นอยู่กับสภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ด้วย
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้เป็นคำวินิจฉัยที่สำคัญมากสำหรับการทดสอบ
ระดับหรือเกณฑ์ที่ศาลฎีกาใช้วัดมาตรฐานของการกระทำที่จะไม่ถือเป็นการละเมิด
ลิขสิทธิ์ในประเทศไทย
ในบางประเทศ
เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น จำเลยนิยมอ้างหลัก “fair use” เป็นข้อต่อสู้เพื่อให้พ้นจากการละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งจะเห็นเป็นประเด็นในคดีจำนวนมากแต่ดูเหมือนคู่ความโดยเฉพาะจำเลยในศาล
ไทยยังใช้หรืออ้างหลักการนี้น้อย แม้แต่ในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้
คำให้การและทางนำสืบของจำเลยก็ไม่ชัดเจนนักว่าได้มุ่งที่จะใช้หลัก “fair
use” เป็นข้อต่อสู้หลัก
แต่เป็นเพราะความละเอียดลึกซึ้งของผู้พิพากษา ผู้เรียงคำพิพากษาในศาลชั้นต้น
จึงได้สรุปและวินิจฉัยประเด็นตามมาตรา 32 วรรคสอง แห่ง
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ อย่างชัดเจนและครอบคลุม 3 สำนวนคดีนี้จึงอาจถือเป็นจุดเริ่มที่สำคัญที่ผู้เกี่ยวข้องต่าง
ๆ จะได้เห็นประเด็นสำคัญของ