นักข่าวต้องการข่าว ไปล่อซื้อเพื่อให้เป็นข่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555
ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักข่าวได้รับการร้องเรียนถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่หลอกลวงขายเหล็กไหลจากผู้ชมรายการของผู้เสียหาย
จึงวางแผนพิสูจน์การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อให้มีการจับกุมมาลงโทษ
หลังจากที่มีการติดต่อกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนทราบแน่ชัดว่ามีพฤติกรรมในการหลอกลวงจริง
จึงประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อจับกุม
โดยผู้เสียหายนำเงินที่จะต้องวางประกันในการทำสัญญาจะซื้อจะขายเหล็กไหลไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำความผิด
พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหาพายานหลักฐานด้วยตนเองโดยการหลอกล่อกลุ่มบุคคล
ดังกล่าว
ซึ่งก็คือจำเลยทั้งห้ามากระทำความผิด อันเป็นการก่อให้จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง
มิใช่เพราะจำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะฉ้อโกงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น
กรณีดังกล่าวจึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาย่อยาว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10510/2555
โจทก์ พนักงานอัยการ ประจำศาลจังหวัดธัญบุรี
โจทก์ฟ้อง
ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน
ปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ,
72
ทวิ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,
33,
80,
83,
91,
341,
371
ริบของกลาง
ทั้งหมด ยกเว้นเงินสดจำนวน 20,000 บาท
จำเลยที่ 1
ให้การับสารภาพในข้อหาพาอาวุธปืน ส่วนข้อหาอื่นนอกจากนี้
ให้การปฏิเสธ
ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
ให้การปฏิเสธ
ระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 หลบหนี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายจับ
และจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 2
จากสารบบความชั่วคราว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 มีความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 341 ประกอบมาตรา 80,
83
จำคุกคนละ 2 ปี และจำเลยที่ 1
มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน
เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง
และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา
8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72
ทวิ วรรคสอง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ
ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 90 ปรับ 2,000 บาท
จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์
แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ
ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 78 คงปรับ 1,000 บาท
การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรม
ให้เรียกกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 91 รวมจำคุกจำเลยที่ 1
มีกำหนด 2 ปี และปรับ 1,000 บาท
หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,
30
ริบของกลางทั้งหมดยกเว้นเงินสด
จำนวน 20,000 บาท
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 5 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า
ให้ยกฟ้องข้อหาฉ้อโกง คืนของกลาง
ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
"พิเคราะห์แล้ว คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า
ผู้เสียหายคดีนี้เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยหรือไม่ จากทางนำสืบของโจทก์ได้ความจากคำ
เบิกความของจ่าสิบตำรวจประยุทธและพันตำรวจโทไพสิฐว่า
ขณะที่นางสาวสมปรารถนา
ผู้เสียหายซึ่งเป็นนักข่าวสถานีโทรทัศน์ไอทีวีกำลังทำรายการ
"ทำผิดอย่าเผลอ" ได้รับเรื่อง
ร้องเรียนจากนายสมสิทธิ์ว่า
นายสมสิทธิ์ถูกจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นกลุ่มหลอกขายเหล็กไหล
หลอกลวงจนต้องสูญเงินไปหลายแสนบาท
ผู้เสียหายกับนายสมสิทธิ์จำดำเนินการ
วางแผนเพื่อการจับกุมด้วยการติดต่อกับกลุ่มของจำเลยทั้งห้าเรื่องการซื้อขายหล็กไหล
หลังจากนั้นผู้เสียหายไดประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลสายไหม
ให้ทำการจับกุมจำเลยทั้งห้าที่ผู้เสียหายได้นัดเจรจาเรื่องซื้อขายเหล็กไหลกันไว้
โดยผู้เสียหายได้นำเงินของผู้เสียหายจำนวน
20,000 บาท ที่จะใช้เป็นเงินประกัน
ให้จำเลยที่ 1
ซึ่งอ้างตัวเป็นผู้ซื้อจะซื้อเหล็กไหลไปถ่ายเอกสารและลงบันทึกประจำวัน
ไว้เป็นหลักฐาน เห็นว่า
พฤติการณ์ของคดีตามทางนำสืบของโจทก์เป็นเรื่องที่ผู้เสียหาย
ซึ่งเป็นนักข่าวได้รับการร้องเรียนถึงพฤติกรรมของกลุ่มบุคคลที่หลอกลวงขายเหล็กไหล
จากผู้ชมรายการของผู้เสียหาย
จึงวางแผนพิสูจน์การกระทำของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
เพื่อให้มีการจับกุมมาลงโทษ
หลังจากที่มีการติดต่อกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจนทราบ
แน่ชัดว่ามีพฤติกรรมในการหลอกลวงจริง
จึงประสานงานกับเจ้าพนักงานตำรวจ
เพื่อจับกุม
โดยผู้เสียหายนำเงินที่จะต้องวางประกันในการทำสัญญาจะซื้อจะขาย
เหล็กไหลไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็เพื่อจะได้เป็นหลักฐานของการกระทำ
ความผิด
พฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวมาจึงเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายดำเนินการแสวงหา
พายานหลักฐานด้วยตนเองโดยการหลอกล่อกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ซึ่งก็คือจำเลยทั้งห้า
มากระทำความผิด
อันเป็นการก่อให้จำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง
มิใช่เพราะจำเลยทั้งห้ามีเจตนาจะฉ้อโกงผู้เสียหายมาตั้งแต่ต้น กรณีดังกล่าว
จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
การแจ้งความร้องทุกข์
ในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้จึงไม่ใช่การแจ้งความร้องทุกข์
ตามกฎหมายทำให้การสอบสวนในความผิดดังกล่าวไม่ชอบ
โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้นชอบแล้ว
ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษายืน
(ทรงศิลป์ ธรรมรัตน์ -
กรองเกียรติ คมสัน -
อิสสระ นิ่มละมัย)
เปรมรัตน์ วิจารณาญาณ - ย่อ
ประทีป อ่าววิจิตรกุล
- ตรวจ
หมายเหตุ
คดีนี้เป็นการแสวงหาหลักฐานเพื่อจะจับกุมผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง
แต่ผู้เสียหายรู้ดีอยู่แล้วว่าเป็นการหลอกลวงเรื่องเหล็กไหล
เท่ากับว่าผู้เสียหายไม่ได้
ถูกหลอกลวง
จึงขาดองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงไป
เช่นเดียวกับการซื้อหวยจากเจ้าพนักงานไม่เป็นความผิด เพราะขาดองค์ประกอบ
ความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2500
(หน้า 787) พนักงานอัยการจังหวัด
ลำปาง โจทก์ นายพุฒ
ปุ๊ดธีระ หรือนายปุ๊ด ธีระ จำเลย
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม
2498 เวลากลางวัน จำเลยได้ซื้อสลาก
กินรวบจากผู้จัดการให้มีการเล่น
อันเป็นการผิดพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478
พนันเอาทรัพย์สินกัน
แต่หากจำเลยไปซื้อเลขจากเจ้าพนักงานซึ่งนับว่ามีเหตุพ้นวิสัย
มาขัดขวางมิให้จำเลยซื้อสลากกินรวบจากผู้จัดการเล่นได้เสร็จ
จึงขอให้ศาลลงโทษ
จำเลยฐานพยายามเล่นสลากกินรวบ
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การพนันสลากกินรวบต้องมี 2 ฝ่าย คือผู้แทนฝ่ายหนึ่ง
และเจ้ามือผู้รับกันรับใช้อีกฝ่ายหนึ่งตกลงเล่นการพนันสลากกินรวบกัน
ในกรณีนี้มีแต่
จำเลยฝ่ายเดียวที่เจตนาจะเล่น
ฝ่ายเจ้าพนักงานไม่มีเจตนาจะเล่น จึงไม่อาจเป็นการเล่น
การพนันสลากกินรวบได้ จึงพิพากษายืน
(ยกฟ้อง)
นอกจากนี้ การกระทำเพื่อแสวงหาหลักฐานจะจับกุมผู้กระทำ อาจมีปัญหาไปถึงว่า
จะกลายเป็นพยานชนิดที่เกิดขึ้นจากการกระทำอันมิชอบโดยประการอื่น
ต้องห้าม
มิให้อ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 226
ด้วยหรือไม่
มีการกระทำบางประเภทที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิด การฝ่าฝืน
แม้เจ้าพนักงานของรัฐจะมีการใช้วิธีการแสวงหาพยานหลักฐานหรือล่อซื้อก็เป็น
ความผิดได้ ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ
จึงไม่มีปัญหาเรื่องมิใช่
ผู้เสียหาย เช่น
การล่อซื้อบริการจากหญิงขายบริการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2518 (ตอน 8 หน้า 1066) ผู้ว่าคดี
ศาลแขวงพระนครใต้ โจทก์ นายสมหมาย
ทรัพย์ศิริไพบูลย์ ที่ 1
นางสาวกิมเซ็ง
หรือเปีย แซ่ตั้ง ที่ 2 จำเลย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
เมื่อสิบตำรวจโทวิรัชขอร่วมประเวณีกับจำเลยที่ 2
เพื่อพิสูจน์คำร้องเรียนว่ามีการค้าประเวณีในสถานที่เกิดเหตุจริงหรือไม่ตามคำสั่ง
พนักงานสอบสวนแล้ว จำเลยที่ 2
ยอมร่วมประเวณีและรับเงินจากสิบตำรวจโทวิรัช
ดังที่ศาลอุทธรณ์ฟังมานั้นไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบแต่อย่างใด
พยานหลักฐานของโจทก์จึงเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้
การใช้สายลับแฝงตัวไปสืบหาการกระทำความผิดในหมู่คนร้ายคดีขาย
อาวุธปืนเถื่อนหรือยาเสพติด
คำสายลับนำมารับฟังเป็นพยานได้ ถ้ามีการนำสายลับ
มาเบิกความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2520 (ตอน
7 หน้า 827) พนักงานอัยการ
จังหวัดขอนแก่น โจทก์ นางสว่าง
จีระกุล กับพวก จำเลย
เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายพิจิตรกับนายรำพึงเป็นผู้ต้องหา ได้ตรวจค้นรถ
พบอาวุธปืนและลูกระเบิดซุกซ่อนอยู่ระหว่างพื้นรถจริงสมดังคำเบิกความของนายวิมล
นายวิมลมิได้ตกอยู่ในฐานะผู้ต้องหาเพราะไม่มีเจตนาร่วมกระทำผิด
เนื่องจากนายวิมล
เป็นสายลับให้ตำรวจทำการจับกุม
และมีฐานะเป็นพยานของตำรวจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2548
(ตอน 6 หน้า 1191) พนักงาน
อัยการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โจทก์ นายยอด สุขพอดี จำเลย
การที่เจ้าพนักงานของรัฐใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย
เป็นการก่อให้จำเลยกระทำความผิด
เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานอันได้มาจาก
การหลอกลวง
ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 226 หรือไม่
ศาลฎีกาเห็นว่า
การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็น
และสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำ
อยู่แล้วตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2 (10) ชอบที่
เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมพยานหลักฐาน
ดังนี้
การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย
จึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิด
ของจำเลย
หาใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบดังที่จำเลยฎีกาไม่
ประทีป อ่าววิจิตรกุล