สิทธิการจัดการมรดก

โดย: ภูมิพิพัฒน์ [IP: 49.229.173.xxx]
เมื่อ: 2022-08-12 23:49:46
สวัสดีครับ ด้วยผมมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดและมาทำงานที่กรุงเทพฯ หลายปีแล้ว เมื่อสองปีที่แล้วคุณแม่ป่วยหนักและมีญาติฝ่ายคุณพ่อช่วยดูแลอยู่ ผมกลับไปเยี่ยมท่านบ้างแต่ไม่ได้อยู่ดูแลเพราะมีภาระงานที่กรุงเทพฯ คุณแม่ป่วยอยู่ประมาณหกเดือนจึงเสียชีวิต คุณป้าผู้ดูแลโทรมาแจ้งผมเพื่อทราบ ส่วนเรื่องการจัดการงานศพคุณป้าเป็นคนจัดการ หลังจากงานศพเสร็จสิ้น ผมได้รับทราบความจริงว่าผมและพี่ชายอีกคนหนึ่งเป็นเพียงบุตรบุญธรรมของคุณแม่ คุณป้ายึดใบมรณะบัตรของคุณแม่ไว้ ไม่มอบให้แก่ผมด้วยเหตุผลว่าคุณป้าและหลานๆ เป็นผู้ดูแลคุณแม่จนกระทั่งเสียชีวิต ผมไม่ได้ทำหน้าที่ของลูก และผมเป็นเพียงลูกบุญธรรม ไม่ได้เกี่ยวข้องทางสายเลือดใดๆ เลยกับคุณพ่อคุณแม่และพวกญาติ ผมจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับอะไรทั้งสิ้น ในเวลานั้นผมไม่อยากจะทำอะไรทั้งสิ้น และทราบจากหลานสาวของคุณป้าว่า ก่อนที่คุณแม่ของผมจะเสียชีวิต คุณป้าเข้าไปรื้อเก็บเอกสารทุกอย่างของคุณแม่ไปหมด รวมทั้งใบสูติบัตร ใบหุ้นต่างๆ ไปหมดแล้ว เวลาผ่านมาผมไม่ได้จัดการอะไรเรื่องนี้เลย จึงอยากขอคำปรึกษาว่าในกรณีนี้ผมสามารถทำอะไรได้บ้างไหมครับ และการขอเป็นผู้จัดการมรดกมีอายุความหรือไม่ครับ ขอบพระคุณมากครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.246.xxx]
เมื่อ: 2022-08-13 08:28:03
สิทธิการรับมรดก
แม้คุณและพี่ชายเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมถูกต้อง คุณก็มีฐานะเช่นเดียวกับบุตร(ปพพ.
ม.1627) ส่วนคุณป้าไม่สิทธิรับมรดกของแม่ ถ้าคุณพ่อยังมีชีวิตอยู่.... การแบ่งปันมรดก ถ้าเป็นสินสมรส คุณพ่อจะแบ่งไปก่อนกึ่งหนึ่ง ที่เหลือกึ่งหนึ่ง คุณพ่อ พี่ชายและตัวคุณ 3 คนแบ่งปันเท่าๆกัน ถ้าคุณพ่อเสียชีวิตแล้ว คุณและพี่ชายจะแบ่งปันมรดกคนละเท่าๆกันเท่านั้น...อายุความมรดก โดยหลักต้องฟ้องภายใน 1 ปี หรือ ฟ้องภายใน 5 ปี ที่การจัดการมรดก สิ้นสุดลง หรือฟ้องภายใน 10 ปี เรื่องอายุความมีหลายขยัก แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆไป...เบื้องต้นคุณต้องตรวจสอบให้ชัดเจนว่า คุณเป็นบุญธรรมที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าการรับบุตรบุญธรรมถูกต้อง ก็มีช่องทางขอรับมรดกได้ ส่วนคุณป้า นำเอกสารไป ก็ไม่น่าจะมีปัญหา ถ้าคุณเป็นทายาทโดยชอบ คุณป้า ก็แย่งชิงไปไม่ได้ บางทีควรมีทนายความช่วยเหลือครับ

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง
ฎีกาที่ 587/2523
บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ร้อง เป็นบุตรบุญธรรมโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตามมาตรา1629. ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตามมาตรา1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ปกครองของบุตรผู้เยาว์ตามคำสั่งศาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในการจัดการมรดก ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้
#2 โดย: ภูมิพิพัฒน์ [IP: 49.230.214.xxx]
เมื่อ: 2022-08-14 01:06:05
เรียน คุณมโนธรรม
ขอบพระคุณมากครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,761