พ่อจำนองที่ดินไว้กับสหกรณ์แต่เสียชีวิต

โดย: โบว์ [IP: 184.22.157.xxx]
เมื่อ: 2023-01-21 21:54:16
พ่อจำนองที่ดินไว้กับสหกรณ์300000บาท แต่พ่อเสียชีวิต

บุตรทายาทจะต้องชำระหนี้เองหรือไม่ต้องชำระ ถ้าไม่มีเงินชำระจะต้องทำยังไง
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.235.xxx]
เมื่อ: 2023-01-22 13:49:09
การจำนอง/มรดกหนี้

เมื่อผู้จำนองคือพ่อเสียชีวิต ลูกๆอันเป็นทายาทโดยธรรม ต้องรับมรดกของพ่อ อันได้แก่ทรัพย์สินต่างๆ รวมทั้งหนี้สินที่พ่อจำนองไว้ 3 แสนบาทด้วย คือรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่ทายาท(ลูกๆ) ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของพ่อ เกินกว่ามรดกที่ตนได้รับจากพ่อ ตาม ปพพ. ม.1601 ถ้าไม่รับมรดกจากพ่อเลย ก็ไม่ต้องรับผิด....แต่ในทางปฏิบัติ เมื่อลูกหนี้ตายลง เจ้าหนี้ (สหกรณ์ฯ) คงฟ้องทายาท(ลูกๆ)ให้ต้องรับผิดในหนี้ของพ่อ ถ้าลูกๆเพิกเฉย ไม่ยื่นคำต่อสู้ว่า ตนไม่ได้รบมรดกจากพ่อแต่อย่างใด ศาลอาจจะให้ทายาท(ลูกๆ) ต้องรับผิดในหนี้ของพ่อก็ได้ ในชั้นบังคับคดีคงต้องวุ่นวายมากพอสมควร ในการพิสูจน์ว่า ทรัพย์สินใดบ้างที่ไม่ใช่มรดกของพ่อ ที่ยึดไม่ได้ ดังนั้นถ้ามีการฟ้องกองมรดกของพ่อหรือฟ้องทายาท ต้องมีการยื่นคำให้กาารต่อสู้ไว้ให้ชัดเจนว่า ตนไม่รับมรดกจากคุณพ่อเลย จึงไม่ต้องรีบผิดในหนี้จำนวนนี้...การยื่นคำให้การ ต้องทำอย่างไร คงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม หรือไปที่ศาลแจ้ง นิติกรประจำศาล ให้ช่วยเหลือในการยื่นคำให้การให้ ถ้านิ่งเฉยไม่ทำอะไรเลย คงมีปัญหาตามมา แน่นอน ด้วยความปรารถนาดี ครับ

แนวคำพิพากษาศลฎีกาเทียบเคียง

ฎกาที่ 809/2545

แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ท. ให้ชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ ท. ได้จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เงินกู้ไว้หลังจากที่ ท. ถึงแก่ความตายไปแล้วเกิน1 ปี ซึ่งทำให้คดีขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม ก็ตาม แต่โจทก์ผู้รับจำนองยังสามารถใช้สิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้โจทก์เอาจากทรัพย์สินที่จำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/27
แม้จะไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ทนายโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนอง แต่เมื่อทนายโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบังคับจำนองที่ทนายโจทก์ได้บอกกล่าวในนามของโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 และถือว่าได้มีการบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสามแล้ว
ท. เป็นหนี้โจทก์อยู่และถึงแก่ความตายลง จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ย่อมรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่อโจทก์ โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 ส่วนการที่จำเลยทั้งสามจะได้รับมรดกของ ท. และท. จะมีทรัพย์มรดกหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องว่ากันในชั้นบังคับคดี

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,982