หุ้นส่วน

โดย: จำลอง [IP: 223.24.165.xxx]
เมื่อ: 2023-02-28 18:36:12
การที่นายแดงประกอบอาชีพซื้อขายแลกเปลี่ยนรถยนต์เป็นการส่วนตัวโดยมีนายเหลื่องเป็นลูกจ้างมีหน้าที่ตรวจรถที่มีผู้นำรถยนต์ใช้แล้วมาขายให้นายแดงเนื่องจากนายเหลื่องมีความชำนาญในการดูรถยนต์ที่มีร่องรอยตำหนิมาก่อนหรือไม่มีการชนหนักมาแล้วหรือไม่และนายแดงจะบอกกับผู้นำรถยนต์มาขายไห้ตนว่าเป็นหุ้นส่วนกับตนทุกครั้งที่มีผู้นำรถยนต์มาขายทั้งนี้นายเหลื่องก็รับรู้แต่ก็มิได้พูดอย่างไร่ได้แต่ยิ้มด้วยความภาคภูมิใจที่คนเข้าใจว่าตนลงหุ้นกับนายแดงต่อมาปรากฏว่าเช็คที่นายแดงจ่ายเป็นค่าซื้อรถยนต์มาขายในกิจการธฯษ๕ษณธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเนื่องจากเงินในบัญชีมีไม่พอจ่ายบุคคลที่ทรงเช็คเจ้าหนี้ค่ารถยนต์จะฟ้องให้นายเหลื่องร่วมรับผิดหรือไม่เนื่องจากนายเหลื่องมีที่ดินหลายแปลงที่บิดายกกรรมสิทธ์ไห้
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.48.xxx]
เมื่อ: 2023-03-01 11:44:33
หุ้นส่วนสามัญ(น่าจะเป็นข้อสอบ)

ตามข้อเท็จจริง แดงและเหลืองถือว่าเป็นหุ้นส่วน สามัญ(ไม่จดทะเบียน)..แดงเป็นผู้ลงทุนซื้อรถ(มาขายแลกเปลี่ยน) เหลือง ลงแรง เพราะชำนาญการในการดูสภาพรถ เข้าข่ายเป็นหุ้นส่วน ตาม ปพพ. ม.1026..ให้สันนิษฐานสิ่งที่นำมาลงหุ้นมีค่าเท่ากัน ( ปพพ.ม.1027)...ส่วนกำไร ส่วนขาดทุน ของหุ้นส่วน ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น (ปพพ.ม.1044) ซึ่งกรณีนี้ถือว่าลงหุนเท่ากัน ( ม.1027) เมื่อต้องรับผิดในการจ่ายเช็ค แดงและเหลือง ต้องรับผิดเท่าๆกัน หรือ รับผิดไม่จำกัด ผู้ทรงเช็ค ฟ้องให้เหลือง ที่หุ้นส่วนสามัญ รับผิดทั้งหมดได้...

แนวคำพิพากษาเทียบเคียง

ฎีกาที่ 84/2512
ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งนำที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดมาลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน โดยใช้เป็นที่ตั้งโรงสีของห้างหุ้นส่วนแม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนโฉนดที่พิพาทก็เป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนนั้น
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 533/2511)
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้เมื่อหุ้นส่วนคนหนึ่งถูกฟ้องเกี่ยวกับหนี้สินของห้างหุ้นส่วนและศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แม้โฉนดที่พิพาทจะยังเป็นชื่อของหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจนำยึดที่พิพาทเพื่อบังคับชำระหนี้ได้ หุ้นส่วนซึ่งมีชื่อในโฉนดที่พิพาทหรือบุตรของหุ้นส่วนนั้นหามีสิทธิร้องขอให้ถอนการยึดได้ไม่
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 288/2488)
ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนซึ่งไม่เป็นนิติบุคคลนั้นไม่อาจครอบครองที่ดินของผู้เป็นหุ้นส่วนโดยอำนาจปรปักษ์ได้แต่เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนนำที่ดินมาลงทุนเข้าหุ้นด้วยย่อมเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายได้

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,952