เงินบำเหน็จตกทอด

โดย: Jinda [IP: 27.55.87.xxx]
เมื่อ: 2023-05-03 17:18:39
พ่อของหนูเสียชีวิตค่ะ เป็นข้าราชการทหารได้รับบำเหน็จตกทอด มีแม่หนูที่ได้รับหนึ่งส่วน(จดทะเบียนสมรส) หนูคือบุตรคนเดียว ทายาทโดยชอบอยากสอบถามค่ะ ในกรณีที่ปู่ตาย ย่าตาย( บิดามารดาของพ่อ) แล้วพี่สาวของพ่อจะมาฟ้องร้องเรียกบำเหน็จตกทอดเเทนปู่ย่าที่เสียไปเขาจะฟ้องได้รึเปล่าคะ และไปยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอดแต่เขาไม่ให้ใบมรณะมาจะต้องทำยังไงคะ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.8.xxx]
เมื่อ: 2023-05-04 10:40:27
บำเหน็จตกทอด

การรับบำเหน็จตกทอด ตาม พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ คือบุตรได้รับสองส่วน ภรรยาได้รับหนึ่งส่วน (ดังหลักการของกฎหมายที่ยกมาข้างล่าง คือถ้าทายาทตายไป เช่น ปู่ย่า ตาย ก็ให้แบ่งแก่ทายาทที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น) ดังนั้นตามข้อเท็จจริงที่ถาม ต้องแบ่งบำเหน็จตกทอดเป็ยสามส่วน บุตรได้ 2 ส่วน(ตัวคุณ) ภรรยาได้หนึ่งส่วน ส่วนบิดามารดาของผู้ตาย(พ่อแม่) เมื่อตายไปแล้ว ไม่ต้องจ่ายบำเหน็จตกทอดแก่ ทายาทอื่น เช่น พี่สาวของพ่อ(ป้า) เพราะเป็นเงินบำเหน็จฯ ที่มีกฎหมายระบุไว้โดยเฉพาะ และเงินบำเหน็จฯ ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย ไม่เหมือนทรัพย์มรดกทั่วไป ที่จะมีการรับมรกดกแทนที่กันได้ ป้าคงสับสนในหลักการในเรื่องนี้ หรือมีผู้แนะนำที่ไม่รู้จริง จึงสำคัญผิดว่าตนจะได้รับบำเหน็จฯแทนที่ บิดามารดา แต่..แม้ป้าจะยื่นเรื่องไป เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จ่ายบำเหน็จฯ เขาก็คงปฏิเสธไม่ให้ป้าได้รับบำเหน็จตกทอด จึงไม่ต้องไปวิตก...ส่วนใบมรณะบัตร ไปขอคัดสำเนาที่สำนักงานทะเบียนราษฎร์ หรือ หน่วยทหารที่พ่อสังกัดอยู่ก็ได้...คุณควรมีผู้รู้จริง ช่วยติดต่อช่วยเดินเรื่องให้ จะทำให้สะดวก ลองมองหาคนดีๆที่พร้อมจะช่วยเหลือ โดยไม่คิดมูลค่าใดๆ ซึ่งยังมีอยู่ทั่วไปในสังคม เพียงแต่ต้องใช้ปัญญาคัดสรรให้ดีว่า ของจริงหรือของปลอม ด้วยความปรารถนาดี ครับ


พรบ.บำเหน็จข้าราชการ พ.ศ.2494...

มาตรา ๔๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการอยู่ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตาย ถ้าความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนตามเกณฑ์คำนวณในมาตรา ๓๒ (๑) ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ ดังนี้

(๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน

(๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน

(๓) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน

ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ
#2 โดย: Jinda [IP: 223.24.153.xxx]
เมื่อ: 2023-05-04 17:24:31
แล้วถ้าย่ายังมีชีวิตอยู่ แล้วป้าเป็นผู้ดูแล แต่ย่าทำอะไรไม่ได้ป่วยติดเตียง ย่ามอบอำนาจให้ป้าดูแลดำเนินเอกสาร ในขณะที่ดำเนินเอกสารย่าเกิดเสียชีวิตป้าผู้ดูแลจะไปฟ้องร้องได้ไหมคะ ตัวหนูเองติดปัญหาขอใบรับรองบุตร ต้องใช้ย่ายืนยันแต่ย่ามอบอำนาจให้ป้าแล้วป้ามาเซ็นรับรองบุตรแทนได้ไหมคะ
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.8.xxx]
เมื่อ: 2023-05-05 06:43:40
เรื่องบำเหน็จตกทอด...เพิ่มเติม

ถ้าย่ายังมีชีวิตอยู่ แม้ป่วยติดเตียง ย่าก็มีสิทธิได้รับบเหน็จตกทอด 1 ส่วน คือบำเหน็จฯต้องแบ่งเป็น 4 ส่วน บุตรได้ 2 ส่วน ภรรยาและย่า ได้คนละ 1 ส่วน ย่าก็สามารถมอบอำนาจให้ป้าดำเนินการแทนได้....เรื่องการรับรองบุตร เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คนที่จะรับรองบุตรได้คือ บิดา เมื่อท่านเสียชีวิต การรับรองบุตร คงต้องฟ้องศาล ถ้าบุตรอายุไม่ถึง 15 ปี ให้ผู้แทนโดยนชอบธรรม หรือญาติร้องต่อศาล...ถ้าบุตรอายุ 15 ปี เด็กต้องฟ้องเอง ถ้าบุตร บรรลุนิติภาวะแล้ว (เช่น อายุ 20 ปี หรือสมรสแล้ว) บุตรต้องฟ้องศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บรรลุนิติภาวะ ตาม ปพพ. ม.1546 ดังนั้นจึงมีเรื่องยุ่งยากพอสมควร คุณควรมีทนายความช่วยเหลือ อย่างจริงจัง หรือไปติดต่อหน่วยงานที่พ่อสังกัด เพื่อขอความช่วยเหลือ และเพื่อหาช่องทาง ในรับเป็นการบุตรของบิดา แต่เขาน่าจะแนะนำให้ฟ้องศาล.... แต่ถ้าเงินบำเหน็จตกทอดมีจำนวนไม่มากนัก ก็ต้องตัดใจปล่อยไป ไม่ต้องไปเรียกร้องสิทธิใดๆ ให้ต้องทุกข์ใจ...คุณควรให้พ่อจดทะเบียนรับรองบุตรแต่แรก มาถึงวันที่ เรื่องทั้งหลาย คงยุ่งยากพอสมควร ลองปรึกษาผู้รู้ใกล้ตัวอีกที ด้วยควา่มปรารถนาดี ครับ
#4 โดย: Jinda [IP: 223.24.61.xxx]
เมื่อ: 2023-05-05 08:29:51
ถ้าบุตรไม่ได้ หนูตัดใจปล่อยไป แม่หนูในฐานะภรรยาจะได้กี่ส่วนคะ แล้วย่าได้กี่ส่วน
#5 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2023-05-05 12:05:56
ตามข้อมูลที่บอกแต่แรก แม่จดทะเบียนสมรสกับพ่อ แม่ย่อมได้ส่วนแบ่ง 1 ส่วน ย่าได้ส่วนแบ่ง 1 ส่วน...ส่วนตัวคุณในเมื่อพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน คุณย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ไม่ต้องให้พ่อรับรองบุตรอีก แม้ว่า พ่อและแม่จะจดทะเบียนสมรสกันหลังจากคุณเกิดแล้วก็ตาม คุณก็จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อทันที ไม่ต้องให้พ่อมารับรองบุตรอีก ตาม ปพพ. ม.1547... สรุปการรับบำเหน็จตกทอด ต้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คุณ ในฐานบุตร ได้ 2 ส่วน แม่และย่าได้คนละ 1 ส่วน ดังนั้นคุณไม่ต้องไปตัดใจไม่ขอรับบำเหน็จตกทอดของพ่อ ก็ยื่นเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ เขาคงแนะนำเพิ่มเติมอีก ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#6 โดย: Jinda [IP: 223.24.184.xxx]
เมื่อ: 2023-05-05 12:35:25
ขอบคุณค่ะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,445