ระบุชื่อผู้มีสิทธิ์รับบำเหน็จตกทอด

โดย: พวงทอง นันตาลิต [IP: 49.228.243.xxx]
เมื่อ: 2023-05-24 15:26:53
ข้าราชการบำนาญมีบุตร2คนๆหนึ่งอยู่ตปท.ได้สัญชาติตปท.ไม่ต้องการรับเงินบำเหน็จตกทอดของบิดาและมารดาๆสามารถทำหนังสือระบุผู้รับผลประโยชน์บำเหน็จตกทอด โดยไม่ระบุชื่อบุตรที่ไม่ต้องการรับบำเหน็จตกทอดได้หรือไม่ โดยระบุชื่อคู่สมรสและบุตรเพียงคนเดียว
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.48.xxx]
เมื่อ: 2023-05-25 07:56:35
การรับบำนาญตกทอด

ขอยกหลักการของกฎหมาย ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง มาให้ศึกษาดู ก็สามารถเข้้าใจได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ได้เขียนสลับซ้อนอะไร คนทั่วไปย่อมอ่านเข้าใจได้

พรบ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494

มาตรา ๔๘ ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างรับราชการอยู่ หรือทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตาย ถ้าความตายนั้นมิได้เกิดขึ้นเนื่องจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง ให้จ่ายเงินเป็นบำเหน็จตกทอดเป็นจำนวนตามเกณฑ์คำนวณในมาตรา ๓๒ (๑) ให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิตามเกณฑ์ ดังนี้

(๑) บุตรให้ได้รับสองส่วน ถ้าผู้ตายมีบุตรตั้งแต่สามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน

(๒) สามีหรือภริยาให้ได้รับหนึ่งส่วน

(๓) บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับหนึ่งส่วน

ในกรณีที่ไม่มีทายาทในอนุมาตราใด หรือทายาทนั้นได้ตายไปเสียก่อนให้แบ่งเงินดังกล่าวระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในอนุมาตราที่มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับ

ในกรณีที่ไม่มีทายาททั้งสามอนุมาตราดังกล่าว ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ตามวรรคสาม หรือบุคคลนั้นได้ตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง

ในกรณีที่ได้มีการจ่ายบำเหน็จตกทอดไปแล้วหากปรากฏว่ามีบุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ซึ่งได้มีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก่อนหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่บิดาตายหรือนับแต่วันที่ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของบิดาเพิ่มขึ้น ให้แบ่งบำเหน็จตกทอดนั้นใหม่ระหว่างทายาทผู้มีสิทธิโดยถือว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายตามคำพิพากษานั้นเป็นทายาทผู้มีสิทธิตั้งแต่วันตายของเจ้าบำนาญ ในกรณีเช่นนี้ให้กระทรวงการคลังเรียกคืนบำเหน็จตกทอดจากทายาทซึ่งรับบำเหน็จตกทอดไปก่อนแล้วตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด

ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกคืนบำเหน็จตกทอดที่จ่ายให้ทายาทซึ่งรับเกินไปในส่วนของตนตามวรรคห้าได้ กระทรวงการคลังไม่ต้องรับผิดชอบจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้แก่บุตรซึ่งได้มีคำพิพากษาของศาลว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปถึงวันเกิดสิทธิรับบำเหน็จตกทอดแต่อย่างใด


ตอบ...ตามหลักการของวรรคสาม ท่า่นจึงสามารถแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการฯตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด...เพื่อมอบบำนาญตกทอดแก่บุคคลใดก็ได้ โดยไม่ต้องระบุชื่อผู้ที่เขายอมสละสิทธิ์ฯ.. ก็ติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อทำเอกสารแสดงเจตนาของท่านได้ เจ้าหน้าที่คงแนะนำท่านเอง ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,654