บำเหน็จตกทอดข้าราชการ

โดย: Toy [IP: 223.24.168.xxx]
เมื่อ: 2023-06-07 02:44:56
ในกรณีที่ พ่อเป็นข้าราชการเสียชีวิตได้รับบำเหน็จตกทอดแต่ต้องใช้ใบมรณะของปู่(บิดาของพ่อ)ในขณะที่ดำเรื่องเอกสาร ของย่า(มารดาของพ่อ) เป็นผู้ป่วยติดเตียงซึ่งมีอายุมากแล้วเกิดเสียชีวิตไปเงินบำเหน็จตกทอดนี้ต้องแบ่งให้ลูกของย่า(พี่น้องพ่อ)ไหมคะ แต่ในใบเอกสารจากทางราชการเอาแค่ใบมรณะของปู่ที่เสียไปแต่ในกรณีของย่าเสียชีวิตทีหลังพ่อหนูอะค่ะ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.8.xxx]
เมื่อ: 2023-06-07 10:42:50
การรับบำเหน็จตกทอด

ผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอดของพ่อ คือบุตร จะได้รับ สองส่วน ถ้ามีบุตรสามคนขึ้นไปให้ได้รับสามส่วน บิดามารดา(ปู่ยา) ได้รับ 1 ส่วน..กรณีปู่ย่าย่าเสียชีวิต ส่วนของปู่และย่า ก็แบ่งเฉพาะบุตร เท่านั้น ไม่ตกทอดแก่บุตรของปู่ย่า (เช่นลุง ป้า อา) เพราะเงินบำนาญไม่ใช่มรดก (ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2517 และฎีกา ที่ 4/2505)...แต่ก็มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องคิดให้รอบคอบ คือย่ามาเสียชีวิต หลังจากพ่อตาย ดังนั้นเมื่อพ่อตาย ย่าต้องได้รับส่วนแบ่ง หนึ่งส่วน หรือไม่ หรือ สิทธินั้นหมดไปเมื่อ ย่า ได้ ตาย ต้องสอบถามเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ทำเรื่องเบิกจ่ายเรื่องนี้ให้ชัดเจน เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ถ้าย่าได้รับ 1 ส่วน เมื่อย่าตาย ส่วนแบ่ง 1 ส่วน จะกลายเป็นมรดก ที่ตกทอดแก่ทายาท อันได้แก่ลูกๆของย่าทุกคนเท่าๆกัน รวมทั้งคุณพ่อของของคุณด้วย เมื่อพ่อตาย คุณที่เป็นบุตรก็สามารถรับมรดกแทนที่ได้ 1 ส่วน (จากการแบ่งจาก ลุงป้าและอา)...ถ้าเคลียร์กันไม่ลงตัว ก็ควรตัดใจแบ่ง ให้ ลุงป้าและ อา ไป 1 ส่วน เพราะการมีคดีฟ้องร้องกันน่าจะไม่คุ้ม... แต่....ถ้าอยากฟ้อง ที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายก็ทำได้ คือฟ้องศาลปกครอง ถ้าฟ้องก็มีประโยชน์ ที่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในกรณีอื่นๆที่เทียบเคียงกันได้ ด้วยความปรารถนาดี คีรับ
กฎหมายที่ใช้อ้างอิงในการตอบคือ พรบ.บำเห็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 48
#2 โดย: Toy [IP: 223.24.189.xxx]
เมื่อ: 2023-06-07 16:02:07
ในส่วนของย่าที่จะต้องแบ่งให้ลูกๆของย่า ต้องมีผู้จีดการมรดกในส่วนของย่าไครสามารถเป็นผู้จัดการมรดกตรงนี้ได้คะในส่วนของย่าให้ลูกๆเขาไปทำเรื่องเองได้ไหมคะ
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.8.xxx]
เมื่อ: 2023-06-08 08:36:30
ผู้จัดการมรดก

ได้แก่ คนที่เป็นทายาทของเจ้ามรดก ผู้มีส่วนได้เสีย และอัยการ สามารถเป็นผู้จัดการมรดกได้ ดังนั้น ลุง ป้า อา รวมทั้งตัวคุณซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่คุณพ่อ ก็สามารถเป็นผู้จัดมรดกได้ แต่ในทางปฏิบัติควรให้ทายาท คนใดคนหนึ่งร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงคนเดียวก็ได้ คือการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นหลายๆคนก็ได้ แต่น่าจะไม่สะดวกในการปฏิบัติหน้าที่... ผู้จัดการมรดกไม่ได้มีสิทธิพิเศษมากกว่าทายาทคนอื่นๆแต่อย่างใด แต่ต้องเหนื่อยในการเดินเรื่องและจัดการมรดก ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี เช่น ต้องร้องศาล ต้องทำบัญชีเครือญาติที่มีสิทธิรับมรดก ต้อง ทำบัญชีทรัพย์มรดกที่ทายาทลงชื่อรับรองอย่างน้อนสองคน ต้องประชุมทายาท เพื่อแบ่งปันมรดกตามกฎหมาย ควรแบ่งปันในระยะเวลาที่ไม่นานเกินควร (ไม่ควรล่าช้าเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย)....ปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอ คือ ผู้จัดการมรดกมักสำคัญผิดคิดว่า ตนมีอำนาจเด็ดขาดตามคำสั่งศาล จะแบ่งปันมรดก หรือแบ่งปันมรดกอย่างไรก็ได้ แท้จริงไม่ใช่ เพราะผู้จัดการมรดกเป็นเพียงตัวแทนเจ้ามรดก ที่ทำหน้าโอนทรัพย์สินให้แก่ทายาท ตามที่ประชุมตกลงกัน หรือลงชื่อถอนเงินจากธนาคารแทนเจ้ามรดก เพื่อนำมาแบ่งปันทายาทตามสิทธิแต่ละคนเท่านั้น ถ้าผู้จัดการมรดกสำคัญผิดในหน้าที่ จึงเกิดการฟ้องร้องกันยืดยาว ดังที่พบเห็นอยู่ทุกวันนี้
ในส่วนของย่า ให้ลูกๆของย่าไปจัดการเองก็ได้ ถ้ามีเหตุขัดข้องในการแบ่งปันมรดก ก็จำเป็นต้องร้องศาลขอให้มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก่อน ดังกล่าวข้างต้น...มรดกของย่า คุณในฐานะบุตรของคุณพ่อ มีสืทธิได้รับมรดกแทนที่คุณพ่อ 1 ส่วน(จากการแบ่งปันกันระหว่าง ลุง ป้า อาและส่วนของคุณพ่อ)

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,044