มีบุตร+จดทะเบียนสมรสซ้อน ลูกเป็นของใคร

โดย: kratae [IP: 184.22.17.xxx]
เมื่อ: 2023-06-13 12:14:41
กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนที่1 แล้วแยกทางกันโดยไม่ได้หย่า จากนั้นไปตั้งท้องกับคนที่2 แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วเลิกกันขณะตั้งท้อง แล้วไปจดทะเบียนซ้อนกับคนที่3 และคลอดลูกกับคนที่ 3 แล้วคนที่3ก็ดูแลลูกมาโดยตลอด แบบนี้ลูกเป็นของใคร (คนที่3คือจดทะเบียนซ้อน)
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.50.xxx]
เมื่อ: 2023-06-14 09:25:31
เรื่องภายในครอบครัว

หลักการของกฎหมาย ตาม ปพพ. ม.1536.. ถ้าเด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยา หรือภายใน 310 วัน นับแต่วันสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี...แต่ตามข้อเท็จจริงได้แยกทางกันชายคนที่ 1 และมาตั้งท้องกับชายคนที่ 2 เด็กน่าจะเป็นบุตรของชายคนที่ 2 (ถ้าว่ากันตามหลักการของกฎหมาย เด็กต้องเป็นบุตรของขายคนที่ 1) เว้นแต่ชายคนที่ 1 และ 2 จะมีปัญหาโต้แย้งกันว่า เป็นบุตรหรือไม่ใช่บุตรของตน ก็ต้องมีการพิสูจน์ ซึ่งในสังคมยุคใหม่ การตรวจ ดีเอ็นเอ ย่อมใช้เป็นทางแก้ปัญหาได้...แต่ก็ย่อมมีค่าใช้จ่าย
ต่อมา คลอดบุตรคนที่ 3 และจดทะเบียนซ้อนกับชายคนที่ 3 เด็กย่อมเป็นบุตร ของชายคนที่ 3 เพราะการจดทะเบียนซ้อน แม้เป้นโมฆะ แต่ต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นโมฆะ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2536...ถ้าชายคนที่ี 1 และชายคนที่ 3 โต้แย้งว่า เด็กเป็นบุตร หรือไม่ใช่บุตรของตน ก็ต้องมีการพิสูจน์ การตรวจ ดีเอ็นเอ ย่อมใช้แก้ปัญหาได้...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2536
แม้การสมรสระหว่างล. เจ้ามรดกกับผู้คัดค้านเป็นการสมรสซ้อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 เป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ถือเท่ากับไม่มีการสมรส ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ภรรยาของล. ก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1495 เดิม นั้น การสมรสแม้จะไม่ถูกต้องประการใด ก็ยังไม่เป็นโมฆะ นอกจากศาลได้พิพากษาให้การสมรสเป็นโมฆะ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องให้การสมรสระหว่างล. กับผู้คัดค้านเป็นโมฆะและยังไม่มีคำพิพากษาเช่นนั้น จึงต้องถือว่าการสมรสระหว่าง ล.กับผู้คัดค้านยังมีอยู่ ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมและมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก การที่ผู้คัดค้านเคยมีสามีมาก่อน ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดการมรดก ส่วนการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเด็กชายธ.เป็นบุตรของล.กับผู้คัดค้านนั้น แม้ไม่ถูกต้องก็เป็นการอ้างไปตามบันทึกในทะเบียนสมรส ซึ่งล.กับผู้คัดค้านแจ้งไว้ กรณีดังกล่าวยังไม่ถึงขนาดให้ผู้คัดค้านเป็นผู้ไม่เหมาะสมในการเป็นผู้จัดการมรดก

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,047