วิอาญา2

โดย: จำลอง ไกรกล [IP: 182.232.87.xxx]
เมื่อ: 2023-06-30 19:20:02
พนักงานอัยการดโจทย์ฟ้องว่าจำเลยใช้อาวุธมีดทำร้ายนางสาวมีนาผู้เสียหายเป็นเหตุให้นางสาวมีนาได้รับอันตรายสาหัสหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวขอให้ศาลลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายไๆด้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา297จำเลยให้การปฏิเสธศาลชั้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องลงโทษจำคุก3ปีโจทก์อุธรณ์ว่าศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยเบาเกินไปขอให้ลงโทษหนักขึ้นอีกจำเลยอุธรณืว่าพยายายหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดขอให้ยกฟ้องศาลอุธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ตามฟ้องโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยใช้อาวุธมีดทำร้ายนางสาวมีนาเสียหายเป็นเหตุให้นางสาวมีนาได้รับอันตรายสาหัสหน้าเสียโฉมอย่างติดตัวพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย5ปีโจทก์ฏีกาขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยให้หนักขึ้นและจำเลยฏีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดขอให้ยกฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฏีกาของโจทก์และจำเลยดังนี้คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับฏีกาของโจทก์และจำเลยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่เพราะเหตุใด
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.48.xxx]
เมื่อ: 2023-07-01 08:41:51
ปัญหาข้อกฎหมาย (น่าจะเป็นข้อสอบ ใช่หรือไม่)

เรื่องนี้ ก็ต้องนำหลักกการของฎหมาย ตาม ป.วิอาญา ม.218 มาใช้ในการพิจารณา..สรุปคือ ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น หรือแก้ไขเล็กน้อย ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ห้ามคู่ความ(ทั้งโจทก์และจำเลย)ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง
ตามวรรคสอง ถ้าศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น หรือแก้ไขเล็กน้อย ให้จำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามโจทก์ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง
(ความเห็น) โจทก็คงฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้... แต่หน้าเสียโฉมอย่างติดตัวหรือไม่ อาจจะ เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จและปัญหาข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้น อาจจะนำประเด็นนี้ มาพิจารณาจึงรับฎีกาของโจทก์ไว้...
อะไรคือปัญหาข้อเท็จจริง อะไรเป็นปัญหาข้อกฎหมาย บางที คงสรุปกันไม่ได้ง่ายๆ สุดท้ายก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลเป็นสำคัญ....
แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง
ฎีกาที่ 11087/2554
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต จำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้ ลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาย่อยาว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 289, 339, 340 ตรี, 371, 83, 91 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ, 72, 72 ทวิ และริบอาวุธปืน ปลอกกระสุนปืน ลูกกระสุนปรายและด้ามมีดของกลาง ให้จำเลยคืนเงิน 144,000 บาท กระเป๋าใส่สตางค์ 1 ใบ ที่ยังไม่ได้คืนหรือชดใช้ราคา 2,000 บาท แก่นางนงลักษณ์ภริยาผู้ตาย
จำเลยให้การรับสารภาพ
ระหว่างพิจารณา นางนงลักษณ์ ภริยานายวุฒิชัย ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต (ที่ถูก เฉพาะข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ และร่วมกันชิงทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) (6), 339 วรรคท้าย, 340 ตรี, 371 พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์และฐานร่วมกันชิงทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์อันเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีดไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 6 เดือน เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์แล้ว ไม่อาจนำโทษจำคุกในความผิดกระทงอื่นของจำเลยมารวมอีกได้ คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่เป็นการให้ความรู้แก่ศาล ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ไม่ลดโทษให้ คงให้ลงโทษประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว ริบอาวุธปืน ปลอกกระสุนปืนลูกกระสุนปรายและด้ามมีดของกลาง ให้จำเลยคืนเงิน 144,000 บาท กระเป๋าใส่สตางค์1 ใบ หรือชดใช้ราคา 2,000 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่โจทก์ร่วม
โจทก์ โจทก์ร่วม และจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นในเหตุฉกรรจ์ จำคุกตลอดชีวิต ฐานมีอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืน จำคุก 3 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงให้จำคุกตลอดชีวิตตามมาตรา 91 (3) นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ร่วมฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ ลงโทษประหารชีวิต ฐานร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันพาอาวุธปืนและมีด จำคุก 6 เดือน โดยไม่ลดโทษให้ รวมทุกกระทงคงให้ประหารชีวิต แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้โดยลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) รวมทุกกระทงคงให้จำคุกตลอดชีวิต โจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยให้การรับสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐาน หาได้รับสารภาพเพราะสมัครใจหรือสำนึกแก่โทษแต่ประการใด และการรับสารภาพของจำเลยไม่ได้ให้ความรู้แก่ศาลแต่อย่างใด ขอให้ศาลฎีกาไม่ลดโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อตระเตรียมการและเพื่อความสะดวกในการชิงทรัพย์ เช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลย กรณีจึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ร่วมฎีกาดังกล่าวเป็นการฎีกาดุลพินิจในการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามบทมาตราดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามาก็เป็นการสั่งรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
พิพากษายกฎีกาของโจทก์ร่วม
ฎีกาที่ 9076/2558 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาต้องย้อนไปวินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ฎีกาที่ 1303/2555 การแก้ไขมากตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นการแก้ไขทั้งบทลงโทษและจำนวนโทษที่ลง ซึ่งการแก้บทลงโทษมีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษจากบทหนึ่งเป็นอีกบทหนึ่ง หรือเป็นการแก้วรรคในบทเดิม ซึ่งความผิดแต่ละวรรคมีโทษขั้นต่ำและสูงแตกต่างกันมาก และลักษณะความผิดในแต่ละวรรคนั้นแตกต่างกัน เช่น ความผิดในวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้และอีกวรรคหนึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นต้น(ฎีกาที่ 5455/2553, ฎีกาที่ 7511/2547)

ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้ว่า จำเลยที่ 3 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) วรรคแรก โดยไม่ได้ใช้อัตราโทษตามที่มาตรา 336 ทวิ กำหนดไว้นั้น ลักษณะความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 วรรคแรก และวรรคสองไม่แตกต่างกันและมีระวางโทษขั้นต่ำจำคุกตั้งแต่ 1 ปี เหมือนกัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 335 วรรคแรก ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 5 ปี วรรคสอง ระวางโทษขั้นสูงจำคุก 7 ปี ส่วน ป.อ. มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามมาตรา 335 ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบทหนึ่งต่างหากไม่ จึงไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แก้บทลงโทษ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ จึงเป็นกรณีแก้ไขเล็กน้อย

ฎีกาที่ 8344/2544 ความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิต ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันลักทรัพย์ในเคหสถานเวลากลางคืนลดโทษให้คนละหนึ่งในสามแล้ว คงจำคุก 4 ปี เป็นการแก้ทั้งบทและโทษกรณีเป็นการแก้ไขมาก จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

ฎีกาที่ 6509/2544 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 10,000 บาท และให้รอการลงโทษไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี แต่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากคือนอกจากแก้โทษจำคุกให้เบาลงและเพิ่มโทษปรับแล้วยังให้รอการลงโทษไว้ด้วย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,042