สมาคมฯ ที่ยังไม่มีรายได้ ต้องยื่นเสียภาษีมั้ย

โดย: ธัชกร [IP: 192.168.6.xxx]
เมื่อ: 2016-03-10 10:19:57
เนื่องจากได้จดทะเบียนสมาคมศิษย์เก่าไว้ แต่ยังไม่มีรายได้อื่นๆ เข้ามาเลย ไม่ทราบว่าต้องยืนเสียภาษีประจำปีหรือไม่ค่ะ

โดยได้จดทะเบียนสมาคมฯ เมื่อวันที่ 21/1/2558 ค่ะ และที่สำคัญยังไม่ได้ยื่นขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จะมีความผิดหรือไม่ค่ะ และจะเสียค่าปรับหรือไม่

รบกวนตอบด้วยค่ะ



ขอแสดงความนับถือ
#1 โดย: kraisorn [IP: 110.171.28.xxx]
เมื่อ: 2016-03-11 16:12:58
สมาคมศิษบ์เก่า มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ฝ่าฝืนปรับไม่เกินสองพันบาท และมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแม้จะยังไม่มีรายได้ก็ตาม ลองอ่านรายละเอียดด้านล่างครับ

http://www.kraisornlawyer.com/15130137/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AF-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AF-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88
#2 โดย: kraisorn [IP: 110.171.28.xxx]
เมื่อ: 2016-03-11 16:18:14
สมาคมศิษย์เก่าฯ สมาคมผู้ปกครองฯ ต้องเสียภาษี หรือไม่
เรื่องนี้มีคำตอบ จากกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/publish/44182.0.html
ความหมายของมูลนิธิ หรือสมาคม ฟังเสียงข่าว

คำว่า “มูลนิธิ” ตามมาตรา 110 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มาแบ่งปันกันและได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ และการจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง

โดยมูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 122 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำว่า “สมาคม ตามมาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง หมายถึง การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้

โดยสมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วจะมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 83 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

นอกจากนี้สมาคมยังอาจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่น ๆ ดังนี้

- พระราชบัญญัติสมาคมการค้า พ.ศ. 2509

- พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2517

- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518



หน้าที่ของมูลนิธิหรือสมาคมที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

(1) ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
(2) ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ
(3) ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งกรมสรรพากร
(4) ต้องยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษี

การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ล.ป.10) ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทย แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง

สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

(1) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครในท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
(2) มูลนิธิหรือสมาคมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิหรือสมาคม ตั้งอยู่
(3) มูลนิธิหรือสมาคมสามารถยื่นคำร้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทนิติบุคคลโดยผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th โดยระบบจะให้บันทึกข้อมูลรายการต่าง ๆ เช่น เลขทะเบียนนิติบุคคล วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รอบระยะเวลาบัญชี และลักษณะการเป็นนิติบุคคล เป็นต้น

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

มูลนิธิหรือสมาคมต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อจ่ายเงินได้ดังต่อไปนี้ให้แก่ผู้รับ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วแต่กรณี ดังนี้

1. เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
2. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้
3. ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น ๆ
4. เงินได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ
5. เงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สินฯ
6. เงินได้ค่าวิชาชีพอิสระ
7. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญ นอกจากเครื่องมือ
8. เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง หรือการอื่น ๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน 1. ถึง 7. เฉพาะที่เป็นเงินได้จากการจ้างทำของ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค ค่าโฆษณา ค่าแสดงที่จ่ายให้นักแสดงสาธารณะ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการส่งเสริมการขาย การประกันวินาศภัย การขนส่ง (ไม่รวมค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ) การให้บริการอื่นๆ (ไม่รวมถึงค่าบริการของโรงแรม ค่าบริการของภัตตาคาร และค่าเบี้ยประกันชีวิต)

การจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี

ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งให้แก่ผู้รับเงิน โดยรวมจำนวนที่จ่ายเป็นประจำวัน และรวมยอดเป็นรายเดือน เมื่อสิ้นวันสุดท้ายของเดือนและต้องเก็บรักษาบัญชีพิเศษดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ที่สำนักงานที่มีการจ่ายเงิน

กรณียกเว้นไม่ต้องจัดทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี

1. การจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงินของธนาคาร สหกรณ์ บริษัท ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้น สำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม
2. กรณีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และต้องนำส่งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
3. กรณีอื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,991