บุกรุกยามวิกาลทำร้ายร่างกาย

โดย: Mini [IP: 1.46.18.xxx]
เมื่อ: 2024-01-08 18:08:10
น้องชายและเพื่อนของน้องโดนทำร้ายร่างกายตอนตี2โดย มีผช.3คน และ ผญ1 คน มาสอบถามหาคนชื่อบอย ซึ่ง บอยคือพ่อเราเอง แต่น้องชายเห็นแล้วน่าจะมีเรื่องอะไรแน่ๆ เลยบ่ายเบี่ยงว่าพ่อไม่อยู่ เลยมีผช 1 คนในนั้นผลักเข้าไปในบ้านและต่อยจนสลบ จมูกหัก ส่วนผช. คนที่2 ก็ได้ผลักเพื่อนน้องเข้าบ้านและต่อยที่เบ้าตา พอพ่อได้ยืนเสียงโครมครามเลนเดินมาดู ผช ทั้ง 3 คน ได้เข้าไปหาพ่อ คนที่ต่อยน้องชายคุมเชิง คนที่ต่อยเพื่อนน้องชายต่อยพ่อเรา ส่วน ผช อีกคนที่มาด้วยค่อยห้าม และผญ ที่มาด้วย ยืนรอหน้าบ้าน แบบนี้ เราสามารถแจ้งข้อหาอะไรได้บ้างคะ ในบ้านทั้งคนแก่ คนท้องแชะเด็กน้อย
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-01-09 10:54:21
ข้อหาบุกรุก

ตามข้อเท็จจริงที่บอก ก็เข้าองค์ประกอบความผิดฐานบุกรุก ตาม ปอ. 365 (1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย ฯ (2) ร่วมกันสองคนขึ้นไป (3) ในเวลากลางคืน มีโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท ฯ...เป็นคดีที่ยอมความไม่ได้ ก็สามารถไปแจ้งความ(ร้องทุกข์ต่อตำรวจ)ได้ ไม่จำเป็น ต้องแจ้งว่าผู้กระทำความผิดมีความผิดฐานใดบ้าง เพียงแจ้งข้อเท็จจริง ตำรวจก็สามารถตั้งข้อหาได้เองตามข้อเท็จจริงที่ผู้เสียหายแจ้งไว้... แต่คดีนี้มีเดิมพันสูงพอสมควร เพราะผู้ก่อเหตุและพวก มีตำแหน่งหน้าที่ทางปกครอง ( ผญ. , ผช.) ดังนั้นจำเป็นต้องเก็บรวบรวมพยานหลักฐานไว้ให้ชัดเจน เช่นภาพวงจรปิด หรือภาพถ่ายจากมือถือ (ถ้ามี) การให้แพทย์ตรวจร่างกาย เพื่อยืนยันว่าถูกทำร้าย หนักเบาเพียงใด และขอใบรับรองแพทย์ไว้ พยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์(ถ้ามี) พยานแวดล้อมที่สามารถยืนการก่อเหตุได้ เป็นต้น
แนวทางปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง ที่พบเห็นอยู่เสมอในสังคม แม้คดีนี้ จะไม่สามารถยอมความกันได้ แต่ตำรวจก็มักจะให้ใช้การเจรจาชดใช้ค่าเสียกันก่อน ผู้ก่อเหตุก็คงเสนอค่าตอบแทน เพื่อเยียวยา ในการกระทำของตน ถ้าพวกเขาเสนอค่าตอบแทน หรือการชดใช้ ในจำนวนที่พอเหมาะสม (ก็ต้องคิดคำนวณดูว่า บาดเจ็บมากน้อยเพียงใด ค่ารักษาเท่าไร เป็นต้น) ถ้าการชดใช้พอสมน้ำสมเนื้อกัน ก็ยอมๆไปเถอะ เรื่องคุ้มค่า คงไม่มี แต่บางที ก็จำต้องยอม... มีคำพูดที่เรามักได้ยินในสื่อ(ทีวี) มักพูดว่า อยากให้ตำรวจ ดำเนินการให้ถึงที่สุด ไม่ยอมความกันใดๆ ฟังก็ดูดี แต่ในทางปฏิบัติ มักจะมีปัญหาตามมามากมาย ถ้าเราไม่ยอมความ คือไม่ยอมรับการชดใช้ใดๆ ก็สามารถทำได้ ตำรวจก็ต้องสรุปสำนวน ส่งอัยการ เพื่อฟ้องศาล ก็ต้องไปว่ากันยืดยาวในศาล เราเป็นฝ่ายผู้เสียหาย ทั้่งเจ็บปวด ร่างกายจิตใจ ต้องมีภาะต้องไปโรงพัก ไม่พบอัยการ ไปศาล นัดแล้วนัดเล่า กว่าคดีจะถึงที่สุด คงข้ามเดือนข้ามปี... และคดีแบบนี้ ผู้ก่อเหตุคงหาทางเอาตัวรอด(ย่อมมีคนแนะนำ) โดยการยอมรับสารภาพ และวางเงินค่าเสียหาย ซักก้อนหนึ่ง ศาลคงปรานีลงโทษสถานเบา คือคงลดโทษกึ่งหนึ่ง และให้รอการลงโทษไว้ ไม่ต้องถูกจำคุก เพียงรอการลงโทษไว้ 1-2 ปี (รออาญา)ตาม ช่องทางที่กฎหมายเปิดช่องให้ คือ ปอ. ม.56 ม.78...บางทีผู้ก่อเหตุ ยังทำกร่างเย้ยหยันว่า สุดท้ายพวกฉันไม่ต้องถูกจำคุกฯ....ถ้าเรายอมรับการชดใช้ตามสมควร ส่วนเรื่องคดี ก็ปล่อยให้ตำรวจแลอัยการ ฟ้องร้องร้อง หรือสั่งไม่ฟ้องก็แล้วกระบวนการ เราก็ไม่ต้องมีภาระไปวุ่นวายกับคดี การประจันหน้ากับผู้ก่อเหตุ(จำลย) ก็ไม่ทางจะเกิดขึ้นได้ เราก็อยู่อย่างสันติ...
การแนะนำแบบนี้ ย่อมมีคนเห็นแย้งว่า ทำไมไปอ่อนข้อกับคนพาล คนพาลจึงเต็มบ้านเต็มเมือง ทำไมไม่ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด ที่แนะนำเช่นนี้เพราะมีโอกาสวนเวียนอยู่ในกระบวนการยุติธรรม (ตำรวจ อัยการ ศาล และราชทัณฑ์)ได้รู้เห็นกระบวนการในวงจรนี้ อย่างชัดเจน เพราะตระหนักดีว่า คดีแบบนี้มักจบลงที่รอการลงโทษ...ความจริงที่เจ็บปวด ที่เราต้องยอมรับคือ "ความยุติธรรมไม่เคยมีในโลก" ดังนั้นอย่าเสาะแสวงหาให้เหนื่อยยากเลย ก็ลองมองๆไปรอบๆตัว และในสังคม ก็จะประจักษ์ว่า ความยุติธรรมไม่มีอยู่จริง ถ้าได้รับการเยียวยาบ้าง ก็รับไปเถิด เรื่องคุ้มค่าไม่มี... แม้ความยุติธรรมไม่มี แต่ถ้าเราสามารถยืดหยุ่น ผ่อนหนักผ่อนเบาในชีวิต เราก็สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: Mini [IP: 1.47.148.xxx]
เมื่อ: 2024-01-10 21:44:08
ในกรณีนี้เราสามารถแจ้บข้อหาพยายามฆ่าได้หรือไม่ เพราะจากการได้เข้าพบคุณหมอแล้ว น้องชายค่อนข้างที่จะเจ็บสาหัส เพราะต้องผ่าตัดกระโหลกใบหน้าที่แตกโดยที่ต้อบเอาเหล็กเข้าไปเชื่อมไว้ จมูกหัก ฟันแตก
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-01-11 10:13:38
การตั้งข้อหา

ผู้ก่อเหตุจะมีข้อหาอะไร หรือมีความผิดฐานใดบ้าง อยู่ที่ ผลของการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ประกอบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และพยานแวดล้อมต่างๆ และใบรับรองแพทย์ที่ชี้ว่า บาดเจ็บมากน้อยเพียงใด เป็นต้น...ตามความเห็นของผู้ตอบ ตามข้อเท็จจริงที่บอก น่าจะมีเพียงข้อหาบุกรุก และข้อหาทำร้ายร่างกายเท่านั้น... และข้อหาทำร้ายร่างกาย ก็มี 3 ระดับ (ตามลักษณะการบาดเจ็บ และการรับรองของแพทย์ คือ 1. บาดเจ็บเล็กน้อยฯ ก็เป็นความผิดลหุโทษ(โทษเบา) มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ตาม ปอ. ม.391... 2. ถ้าบาดเจ็บแก่ร่างกายและจิตใจ จะมีโทษตาม ปอ. ม.295 คือจำคุกไม่เกิน สองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และ 3.ถ้าบาดเจ็บสาหัส(เช่น ตาบอด หูหนวกลิ้นขาด เสียประสาทการดมกลิ่น เสียอวัยวะสืบพันธ์ เสียแขน เสียขา มือ เท้า ฯ ทุพพลภาพ รักษาเกินกว่า 20 วัน เป็นต้น) มีโทษจำคุก 6 เดือนถึง 10 ปี .ตาม ปอ. ม.297 ....ถ้าพยานหลักฐานไปถึง จนสามารถตัองข้อหาพยามฆ่า ได้(ข้อหาพยายามฆ่า มีโทษ สองใน สาม ของโทษการฆ่าฯ ก็คงมีโทษประมาณ 15 ปี) แต่.. ผู้ก่อเหตุ หรือจำเลย ย่อมมีข้อต่อสู้ ที่มีผู้แนะนำ ให้พ้นผิด หรือรับโทษน้อยลงได้ เช่น อ้างว่า เป็นการติดตามตัวผู้กระทำความผิด เป็นความผิดซึ่งหน้า จำเป็นต้องติดตามเข้าไปในบ้าน เป็นเรื่องเร่งด่วนติดพัน ถ้ารอหมายค้นคงไม่ทันการ ที่ทำร้ายร่างกายเพราะผู้เสียหายขัดขืนต่อสู้ จำเลยจำเป็นต้องป้องกันตัว ซุึ่งแนวทางต่อสู้ก็น่าจะออกมาในแนวทางนี้...เจ็บตัวยังไม่พอ ยังถูกสร้างเรื่องให้ดำเป็นขาวอีก ให้เจ็บลึกในใจแน่นอน...ที่แนะนำให้เคลียร์ปัญหากันนั้น ไม่ใช่แนะนำส่งเดช เพื่อปกป้องคนผิด แต่การจะพิสูจน์ว่า ใครทำอะไร อย่างไรบ้าง ผลเป็นอย่างไร เพื่อให้ศาลรับฟัง และลงโทษผู้กระทำความผิด ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก และมีข้อกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย คือ ตาม ป.วิอาญา ม.227 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า"เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" จำเลยเป็นจำนวนมากจึงมักรอด เพราะมีหลักการของกฎหมาย ตามยกมา ซึ่งเป็นคุณแก่จำเลย คือถ้าสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดหรือไม่ ศาลต้องยกฟ้อง...สังคมมักจะสงสัยว่า ทำไม จำเลย จึงรอด ก็เพราะ พยายหลักฐาน ไม่ชัดเจนเพียงพอ ถ้าสงสัย..รอดแน่นอน ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,050