อ้างตัวเป็นผู้จัดการ

โดย: เจ [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-01-15 01:37:36
ลุงเสียชีวิต ซึ่งคนที่เอาไปดูแลถือ(สิทธิ์อะไรไม่ทราบ)เอกสาร ใบมรณะบัตรไว้ บัตรชช. ทะเบียนบ้าน โทรศัพท์(โซเชียลต่างๆทุกวันนี้ก็ยังใช้ของคนตายติดต่อคนอื่น) ญาติทวงถามก็ไม่ยอมให้ แต่บอกญาติว่าถ้าไปทำธุรกรรมอะไรต้องเอาเขาไปด้วยทุกครั้ง เขาต้องรับรู้ แบบนี้เราเอาผิดแบบไหนได้บ้างคะ ตอนนี้ลุงคนโตกำลังยื่นเป็นผจก.มรดกค่ะ แต่อยากรู้ว่า คนแบบนี้ควรทำอะไรเขาได้บ้าง ตอนเขาเอาไปดูแลก็ทะเลาะกันแย่งคนไข้ จนญาติต้องยอมเพราพคนไข้ออกปากเองว่าอยากไป(เขาเป็นเพื่อนกัน และสนิทกับเขากว่าญาติ แต่ญาติมองออกว่าคนคนนั้นไม่น่าไว้วางใจ) และขู่ไปว่าถ้าลุงตายตอนอยู่กับเขา จะเอาเรื่อง สรุปก็ตายตอนอยู่กับเขาค่ะ เขาถือตัวและมั่นใจมากๆบอกให้ญาติมาแจ้งความจับเขาได้เลย ล่าสุดก็มาอ้างขอเอกสารพี่น้องคนตายจากคนรอบข้างวงนอก ไม่มาขอจากญาติโดยตรง อ้างว่าจะไปทำเรื่องของคนตาย คือเขามีสิทธิ์อะไรทำเรื่องนี้ ญาติควรทำสิ เขารู้อะไรไม่ยอมแจกแจงให้ญาติรู้เลย เอกสารสำคัญตัวเองก็ถือไว้หมด ไม่ยอมให้ญาติไปแจ้งตายด้วย เขาจะทำเองทั้งหมดเลยค่ะ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-01-15 10:52:25
การจัดการมรดก

เมื่อลุงเสียชีวิต ทรัพย์สินและหนี้สิน ของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท อันได้แก่
1. ผู้สืบสันดาน (บุตร หลาน เหลน)
2. บิดามารดา (ถ้ายังมีชีวิตอยู่)
3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ถ้าลุงมี บุตร หลาน ทายาทลำดับ 3 จะถูกตัดสิทธิ์ ไม่ให้รับมรดก) ถ้าลุง ไม่มีบุตรหลาน มรดกก็ตกทอดแก่ พี่น้องฯ(ลำดับ 3 ได้) เป็นต้น
ดังนั้นต้องมาไล่เลียงดูว่า ผู้ที่ถือวิสาสะเข้ามาดูแลลุงนั้น เขาป็นทายาทในลำดับไหน ถ้าเขาไม่ใช่ทายาท เข้ามาจัดการทรัพย์สินโดยพลการ ย่อมมีความผิด เช่น ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร เป็นต้น แต่ควรมีทนายความที่น่าเชื่อถือให้คำปรึกษาด้วย...ลุงคนโต กำลังยื่นขอเป็นผู้จัดการมรดก ถ้าศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ลุง(ผจก.มรดก) ก็สามารถจัดการทรัพย์สินของลุง(ผู้ตายได้) เช่นทำบัญชีทรัพย์มรดก เรียกเอกสารจากผู้ที่เก็บไว้ ประชุมทายาท เพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท ตามสิทธิ์แต่ละคน....เรื่องที่ต้องตรวจสอบให้แน่ชัด ผู้ที่เข้ามาเจ้ากี้เจ้าการ จัดการทรัพย์มรดกของลุงผู้ตาย อาจจะเป็นไปได้ว่า ลุงผู้ตาย อาจจะทำพินัยกรรมมอบทรัพย์มรดกให้เขาผู้เดียวก็ได้ ถ้าเป็นนั้น ก็จบ ทายาทอื่นคงหมดสิทธิ์ หรือเขาอาจจะทำพินัยกรรมปลอมขึ้นมาก็ได้ ซึ่งการจะพิสูจน์ว่า พินัยกรรมจริงหรือปลอม ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก คงว่ากันยืดยาวแน่นอน อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้ทนายมือดีเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้สามารถเดินไปได้ถูกทาง ข้อคิด ทุกสังคมย่อมมีคนดี และคนไม่ดี ต้องใช้ปัญญาในการสืบเสาะหาคนดีมาช่วยเหลือให้ได้ ถ้าพบคนไม่ดีคงยิ่งทุกขฺหนัก ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: เจ [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-01-15 13:15:31
ขอบคุณคำแนะนำมากๆค่ะ เพิ่มเติมคือ คนที่มาเจ้ากี้เจ้าการคนนี้ ได้ไปเปลี่ยนผู้รับประโยชน์ในเงินส่วนหลายๆกอง เช่น บำเหน็จตกทอด ฌาปณกิจสงเคราะห์ ซึ่งเอกสารที่เปลี่ยนนั้น มีลายนิ้วมือลุง(ผู้ตาย)เท่านั้น เพราะท่านเซ็นไม่ได้แล้ว ซึ่งทางการได้ว่ามาแล้วว่าเอกสารไม่สมบูรณ์ ไม่ได้รับเรื่องนี้ เราจึงเอาผิดเขาไม่ได้(แต่อยากเอาผิดมากๆเพราะไปเปลี่ยนผู้รับประโยชน์เป็นของตัวเองในวันที่ลุงใกล้เสียนอนรพ.) แต่ทีนี้ วันที่เขามาเปลี่ยนพินัยกรรม เป็นช่วงที่ผู้ตายนอนอยู่ใน รพ.ครั้งสุดท้ายก่อนเสียชีวิต และทั้งสองพินัยกรรมเปลี่ยนไปก่อนลุงเสียเพียง 1 วันและ 5 วัน ค่ะ และอีกส่วนที่ญาติรู้และไปติดต่อ เหมือนเขาจะทำอะไรไม่ได้ แต่ทางหน่วยงานนั้นต่อว่าญาติเพราะคนคนนี้มาวุ่นวายเอกสารบ่อยมากๆทั้งที่คนนั้นไม่ใช่ญาติให้เขามาวุ่นวายได้ไง ซึ่งญาติมารู้เลยอยากเอาเรื่องมากแต่ยังไม่รู้จะทำยังไง เพราะเล็งเห็นว่า เอาผู้ป่วยไปดูแลหวังผลประโยชน์(ซึ่งญาติไม่ได้ยิมยอมให้ไปดูแลอย่างที่ว่า แต่คนป่วยยินยอมไปอยู่กับเขา ญาติเห็นว่าเขาสนิทกันคงอยากอยู่ด้วยกันจริงๆ จึงให้ไป และความน้อยใจจึงไม่ได้เอาตัวไปเยี่ยมอีกเลย แต่สอบถามอาการทางไลน์ ทางนั้นก็บอกว่าไม่ยากคุยด้วย มีหลีกฐานตรงนี้ค่ะ และติดต่อคนอื่นๆที่ไปเยี่ยมสอบถามอาการ ส่งของจำเป็นไปให้แทน ซึ่งทางคนเอาไปดูแลได้ว่าญาติเสียๆหานๆว่าทิ้วคนไข้ไม่ยอมมาดูแลค่ะ) เพราะนอกจากจะมีเงินส่วนนี้ที่กล่าวมา ลุงยังมีเงินที่ฝากปล่อยกู้อะไรสักอย่างเป็นเงินพอสมควร(ฟังจากหลายๆคนและเคยติดต่อคนถือเงินแต่เขาไม่ให้ข้อมูลรายละเอียด) ซึ่งเขาที่เอาไปดูแลรู้เรื่องนี้ดีเลย และเขาเป็นคนถือโทรศัพท์ลุงที่มีธุรกรรมต่างๆ รวมถึงโซเชียล ปัจจุบันเขาก็อ้างว่าไม่ให้อะไรกับญาติเลยทั้งเอกสารและโทรศัพท์ และยังใช้โซเชียลผู้ตายติดต่อกับคนอื่นอยู่เลยค่ะ
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.51.xxx]
เมื่อ: 2024-01-16 13:14:26
คำแนะนำ ควรหาทนายมือดี ช่วยเหลือแนะนำให้เรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะเรื่องนี้เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย การตอบคำถามในที่นี้ คงไม่สามารถให้คำตอบได้ครอบคลุมไปได้ทุกเรื่อง ยิ่งตอบยาวไป อาจยิ่งเพิ่มความงงงันมากยิ่งขึ้น การจับเข่าคุยกันทนาย จะได้คำตอบทุกแง่ทุกมุม ด้วยความปรารถนาดี ครับ

อ้อ...เพิ่งนึกขึ้นได้ ในปัจจุบัน มีกระบวนการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ก็ไปที่ศาล (ศาล ในเขตภูมิลำเนา) ไปที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย แจ้งความจำนง แจ้งข้อเท็จจริงแก่เจ้าหน้าที่ จะมีการเชิญคู่กรณีมาเจรจาที่ศาล ซึ่งมี ผู้ไกล่เกลี่ย และท่านผู้พิพากษาช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด น่าจะมีทางออกที่เหมาะสม แก่ทุกฝ่าย และขอให้ศาลพิพากษาตามยอมได้ คือได้คำพิพากษามาโดยไม่ต้องมีการฟ้องร้อง และที่สำคัญคือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,062