เจ้าของบ้าน

โดย: Bigboss [IP: 1.47.31.xxx]
เมื่อ: 2024-03-08 14:28:59
ผู้เช่าบ้านไม่ยอมชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจึงขู่ว่าถ้าไม่ยอมออกจากบ้านภายใน 3 วัน จะไปลงสื่อโซเชียลประจานว่าเป็นคนขี้โกง เป็นนี่เป็นข่มขืนใจตาม ม.309 มั้ยครับหรือผู้ให้เช่าทำถูกต้องแล้ว หรือเป็นเพียงพยายามข่มขืนใจครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.51.xxx]
เมื่อ: 2024-03-09 11:48:42
การเช่า
ก็อาจจะเป็นเพียง การพยายามกระทำความผิด ตามที่ท่านเข้าใจ แต่..ทำไม เราจะต้องไปหาเรื่องให้มีคดีอาญามาพัวพัน ถ้าเขาไม่จ่ายค่าเช่า ก็ใช้วิธีบอกเลิกสัญญาเช่า และแจ้งให้เขาย้ายออก ภายในเวลาอันสมควร (15-30 วัน) ถ้าเขาไม่ย้ายออก ก็ต้องฟ้องขับไล่ และเรียกร้องค่าเสียหายได้ การทำขั้นตอนของกฎหมาย อาจจะล่าช้าไม่ทันใจ แต่ปลอดภัย ถ้าทำการไม่รอบคอบ เช่น บุกไปในบ้านเช่า หรือล็อคกุญแจ อาจถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกได้ คงจะเจ็บปวดไม่น้อย ถ้าถูกแจ้งข้อหาบุกรุกบ้านของตนเอง หรือการลงโซเชียลฯ คงมีความผิดฐานหมิ่นปนระมาท หรือ ความผิดตาม พรบ.ฯคอมพิวเตอร์ฯ ผู้ให้เช่า(เจ้าของบ้าน) บางราย เจอผู้เช่า สวนกลับ โดยร้องให้สรรพากร ตรวจสอบว่า มีการชำระภาษีฯเงินได้ ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้องอาจถูกดำเนินคดี และอาจถูกเรียกภาษีฯย้อนหลังได้ ถึง 10 ปี และเรื่องภาษีฯ ตาม ป.รัษฎากรฯ ถือเป็นกฎหมายพิเศษ ถ้ามีชำระภาษีฯไม่ถูกต้อง ถือว่าเป็นภาษีอากรคงค้าง ที่เจ้าหน้าที่ฯ สามารถยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้ โดยไม่ต้องฟ้องศาล (ป.รัษฎากรฯ ม12)...และถ้าไม่มีสัญญาเช่า ก็ฟ้องร้องไม่ได้ เป็นต้น ที่เล่าบอกยืดยาว ไม่ได้มีเจตนา ให้ท่านหวาดกลัว แต่ให้ระมัดระวัง ในการถูกสวนกลับ ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ประมวลรัษฎากร
มาตรา ๑๒ ภาษีอากรซึ่งต้องเสียหรือนำส่งตามลักษณะนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียหรือนำส่ง ให้ถือเป็นภาษีอากรค้าง

เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้าง ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรได้ทั่วราชอาณาจักร โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง อำนาจดังกล่าวอธิบดีจะมอบให้รองอธิบดีหรือสรรพากรเขตก็ได้

ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคสอง ภายในเขตท้องที่จังหวัดหรืออำเภอนั้น แต่สำหรับนายอำเภอนั้น จะใช้อำนาจสั่งขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการจังหวัด

วิธีการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนวิธีการอายัดให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดดังกล่าว ให้หักค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายในการยึดและขายทอดตลาดและเงินภาษีอากรค้าง ถ้ามีเงินเหลือให้คืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน

ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรตามวรรคสอง ให้หมายความรวมถึงผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,051