กฏหมาย

โดย: พี [IP: 58.11.84.xxx]
เมื่อ: 2024-04-02 16:40:36
กลุ่มพลเมืองโต้กลับได้จัดกิจกรรมรำลึกการเสียชีวิตของนายนวมทอง ไพรวัลย์ บริเวณด้านหน้ากองทัพบก นายอานนท์ ผู้แจ้งการชุมนุม ได้แจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานีตำรวจท้องที่ที่มีการชุมนุม เมื่อผู้กำกับสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้รับหนังสือแล้ว ก็ได้ส่งสรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะกลับมาให้แก่นายอานนท์ หากต่อมาปรากฏว่ามีการกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.การชุมนุม ตำรวจจึงสั่งให้ยุติการชุมนุม ให้อธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง คำสั่งยุติการชุมนุม กฎหมายและรัฐธรรมนูญพ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ 2558, ร.ธ.น. 2550
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.48.xxx]
เมื่อ: 2024-04-03 11:39:30
หลักสุจริต
ตามข้อเท็จจริง แม้ได้รับนุญาตแล้ว แต่ ถ้ามีการฝ่าฝืน ข้อบังคับฯ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ก็สามารถ สั่งห้ามได้...เรื่องนี้ ก็ไม่ได้มีอะไร สลับซับซ้อนมากมาย ที่บุคคลโดยทั่วไปก็สามาาถเข้าใจได้...ก็ไม่อยากตอบปัญหาแบบนี้ เพราะอาจถูกมองว่า เลือกข้าง แต่ผู้ตอบ เป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง แต่ก็พอเข้าใจได้ว่า อะไรก็ตาม ถ้าอยู่บนหลัการของความสุจริต ย่อมไม่เกิดปัญหาตามา เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจหลักกฎหมายอะไรลึกซึ้ง เพียงยึดในหลักสุจริต ปัญหาคงไม่เกิด หรือเกิดได้น้อยที่สุด กฎหมายมี เกือบพันฉบับ ถ้ารวมกฎหมายระดับรอง ( กฎกระทรวง พระราชกฤษฎีกาฯ) คงหลายพันฉยับ มีมาตราต่างๆ ร่วมแสนมาตรา..ห้ามเรื่องนั้นเรื่องนี้ อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ สับสนไปหมด จำกันไม่หวาดไม่ไหว... แต่ถ้ายึดหลักการของพระพุทธศาสนา เพียง ถือศีล 5 ไม่ต้องถือกันเคร่งครัด เพียงยึดหลักกลางๆ คือความพอดี และหลักสุจริต เราก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 125,731