ภาษีโรงเรีอนและที่ดิน

โดย: น้ำฝน [IP: 125.26.172.xxx]
เมื่อ: 2024-06-06 17:29:57
สวัสดีค่ะ



รบกวนสอบถามค่ะ



บ้านระกอบกิจการรับเหมา สำหนักงานอย่ที่ กทม



มีที่ดิน 2 แปลง (2 โฉนด) ไม่ใช่ทรัพย์สินบริษัท



ที่ดิน 2 แปลงติดกัน ไมมีรั้วกัน ดูด้วยตาเปล่าแล้วเหมือนผืนเดียวกัน

แปลงแรก มีบ้าน 1 หลัง (ให้คนงานพัก) อีกแปลงไม่มีบ้าน แต่ไว้ใช้เก็บของ วัสดุก่อสร้าง วางกองกับพื้น มีเอาไม้มาางทับปิดๆ ไว้ บางจุดอาศัย หญ้าปิดไว้



วันนี้ เอกสารประเมินภาษีมา ประเมินว่าแปลงที่ 2 เป็นที่ว่างเปล่า ซึ่งค่าภาษีแพงมากค่ะ



ไม่ทราบว่าที่เจ้าหน้าที่ปนะเมินมาแบบนี้ภูกต้องไหมคะ

พอจะมีทางไหมขอลดได้บ้างคะ จะแจ้งเจ้าหน้าที่ไปวาเป็นที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับบ้าน หรือเราใช้เพื่อประกอบธุรกิจแบนี้ได้ไหมคะ



รบกวนท่าน อ. แนะนำด้วยค่ะ



ขอบคุณค่ะ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-06-07 10:23:04
ภาษีโรงเรือนฯ

หลักการ กรมธนารักษ์ จะส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล)
อัตราภาษี ตาม (2)ม.37 คือที่ดิน ที่เป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษี ไม่เกิน ร้อยละ 0.3 ของฐานภาษี และตาม (4)ที่ดินว่างเปล่า คิดอัตรา ร้อยละ 1.2 ของฐานภาษี เป็นต้น มูลค่าภาษีจึงแตกต่างกันมากพอสมควร....สิ่งที่เราต้องสอบถามให้ชัดเจนว่า ฐานภาษีเขาคิดกันอย่างไร(ซึ่งได้จากกรมธนารักษ์)สอบถาม อปท (อบต. เทศบาล)ก็ได้ เมื่อเจ้าหน้าที่คิดตามหลักการนี้ ก็จะแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบเพื่อชำระภาษี ถ้าผู้มีหน้าที่ชำระภาษีไม่เห็นด้วย ก็มีช่ิองทางร้องคัดค้าน ต่อ อบต. หรือเทศบาล ตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนด (ต้องสอบถาม ขอแบบจากท้องถิ่น)ภายใน 30 วันที่ได้รับการประเมินภาษี ผู้บริหารท้องถิ่น ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับคำร้อง ถ้าเห็นชอบกับคำร้อง ก็แจ้งให้ชำระภาษี ภายใน 15 วัน...ถ้าผู้บริหาร(นายกฯอบต.)ไม่เห็นด้วยกับคำร้องคัดค้าน ผู้ชำระภาษีมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โดยยื่นอุทธรณ์ต้อผู้บริหารท้องถิ่น ภายใน 30 วันที่รับแจ้งว่าไม่เห็นด้วยกับคำคัดค้าน ผู้บริหารท้องถิ่นต้องยื่นเรื่องอุทธรณ์ ภายใน 15 วัน...ขั้นตอนก็ยุ่งยากพอสมควร และอาจจะต้องชำระภาษีไปก่อน เพราะการคัดค้าน ไม่เป็นการทุเลาการชำระภาษี แต่ผู้ชำระภาษีก็มีช่องทางยื่นทุเลาการชำระภาษีต่อผู้บริหารมท้องถิ่นได้...แนวคำตอบได้มา จาก พรบ.ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ผู้ถามจึงสามารถไปค้นหาอ่านฉบับเต็มได้ จากเว็บของ สนง.กฤษฎีกา.. น่าจะมีเข้าใจได้ยื่งขึ้น ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: มโนธรรม [IP: 49.228.49.xxx]
เมื่อ: 2024-06-07 10:38:58
ขอเพิ่มเติมนะครับ

คำตอบข้างต้น มุ่งแต่เน้นหลักการของกฎหมาย ไม่ได้บอกถึงวิธีการที่จะคัดค้าน... คือถ้าเราจะไปคัดค้านฐานภาษีจากกรมธนารักษ์ น่าเป็นไปได้ลำบาก เพราะหน่วยงานของรัฐได้มีหลักการและวิธีการที่ชัดเจน ในการกำหนดฐานภาษี...ช่องทางที่พอจะคัดค้านได้คือ ต้องยืนยีนว่าที่ดินอีกแปลง ไม่ได้เป็นที่ดินว่างเปล่า แต่ใช้เก็บทรัพย์สิน อาจจะต้องมีภาพถ่ายประกอบ และคำรับรองของ ผู้ใหญ่บ้าน หรือประธานชุมชนว่า มีการใช้ประโยชน์บนที่ดินจริง ถ้าคำคัดค้านเป็นผล ภาษีจะลดจาก ร้อยละ 1.2 เป็น ร้อยละ 0.3 ซึ่งย่อมแบ่งเบาภาระไปได้มาก ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#3 โดย: น้ำฝน [IP: 1.10.211.xxx]
เมื่อ: 2024-06-07 14:30:14
ขอบคุณค่ะ

ตรงที่ว่างเปล่าโดนไป ร้อยละ 6 เลยค่ะ ปีที่แล้วมายังระุว่าเป็นที่ใช้ต่อเนื่องกับบ้านอยู่

เดี๋ยวลองหารูปไปให้เจ้าหน้าที่ดุค่ะ

ขอบพระคุณที่แนะนำค่ะ
#4 โดย: มโนธรรม ผู้เฒ่า [IP: 49.228.48.xxx]
เมื่อ: 2024-06-08 10:09:19
อัตราภาษีที่ดินฯ

ตามมาตรา 37 แห่ง พรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ดังนี้ครับ(สรุปนะครับ)
(1)ที่ดินประกอบการเกษตร ร้อยละ 0.15
(2)ที่อยู่อาศัย ร้อยละ 0.3
(3) นอกจาก (1) (2) ร้อยละ 1.2
(4) ที่ดินว่างเปล่า ร้อยละ 1.2
ที่บอกว่า คิดร้อยละ 6 ต้องสอบถามผู้เกี่ยวข้องว่า คืดภาษีตามกฎหมายใด หรือตามหลักเกณฑ์ใด ถ้าได้รับคำตอบไม่ชัดเจนเพียงพอ ต้องฟ้องศาลปกครอง (ศาลปกครองฟ้องง่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งทางไปรษณีย์ก็ได้) แต่ในทางปฏิบัติควรให้ผู้รู้ช่วยเหลือ ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#5 โดย: น้ำฝน [IP: 1.20.201.xxx]
เมื่อ: 2024-06-08 20:56:13
ขอบคุณมากค่ะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 179,866