ที่ดิน

โดย: ที่ [IP: 184.22.79.xxx]
เมื่อ: 2024-07-31 11:55:51
มารดามีบุตร 2 คน คือ A กับ B โดยต่อมา A มาแจ้งกับมารดาว่าให้ตนเป็นหนี้ จึงขอให้มารดานำที่ดินไปจำนอง เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ ต่อมา B เข้ามาตรวจสอบพบว่าเป็นการขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ภรรยาของ A โดยที่มารดาไม่รู้มาก่อน เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นการนำบ้านและที่ดินไปจำนอง ปัจจุบัน A เสียชีวิตแล้ว และภรรยาของ A ได้มีการข่มขู่ไล่มารดาออกจากบ้าน แบบนี้เข้ามาตราไหนได้บ้างคะ สามารถสู้ประเด็นไหนได้บ้าง
#1 โดย: แก้นะคะ [IP: 184.22.79.xxx]
เมื่อ: 2024-07-31 11:57:27
*แจ้งกับมารดาว่าตนเป็นหนี้
#2 โดย: มโนธรรม ผู้เฒ่า [IP: 184.22.223.xxx]
เมื่อ: 2024-07-31 14:17:16
การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดฯ

ตามข้อเท็จจริงมารดาให้บุตร นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนอง เพื่อค้ำประกันการกู้ยืมเงิน แต่บุตร ฉ้อฉล กลับโอนที่ดิน ให้แก่ภรรยาของตน...ถือว่า มารดาแสดงเจตนา(โอน)โดยสำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คือการที่บุตรไปโอนที่ดินให้ภรรยาของตนเป็นโมฆะ ตาม ปพพ. ม.156....มารดาจึงสามารถร้องศาลให้เพิกถอนการโอนได้...ควรร้องศาลให้เพิกถอนการโอนภายใน 1 ปี นับแต่ ที่มารดาทราบเรื่อง หรือภายใน 10 ปี ที่มีการโอน ถ้าไม่ทำการในช่วงเวลานี้ ผู้ถูกฟ้องอาจต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความ....แต่มีฎีกาที่ 2041/2547 ที่วินิจฉัยว่า การเพิกถอนนิติกรรม ที่เป็นโมฆะ เพิกถอนเมื่อไรก็ได้ ตาม ปพพ. ม.172....ถ้าไม่มีเงินจ้างทนายความ จะใช้ทนายอาสาก็ได้....หรือไปที่ศาล แจ้งเจ้าหน้าที่ เล่าข้อเท็จจริง และแสดงเจตนาขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ถ้า ภรรยาของ นาย เอ ไปศาล ก็จะมีโอกาสไกล่เกี่ยกัน คดีอาจจะจบลงด้วยดี ในชั้นไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง (ไม่มีค่าใช้จ่าย) แต่...การไกล่เกลี่้ยก่อนฟ้อง ก็มีจุดอ่่อน คือถ้า ภรรยา นาย เอ ไม่ยอมไปศาล ก็ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ และศาลก็ไม่มีอำนาจบังคับได้...ถ้าเขาไม่ศาล ก็จำเป็นต้องร้องศาล ให้เพิกถอนการโอนที่ดิน อันเป็นโมฆะ เมื่อศาลส่งหมาย แม้เขาไม่ยอมไปศาล (ทำนองดื้อแพ่ง) ก็มีกระบวนการพิจารณาตดีลับหลัง จำเลยได้ ผลก็คือเขาน่าจะแพ้คดีค่อนข้างแน่ เพราะเขาขาดนัด (ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดการพิจารณา) แสดงว่าเขาสละสิทธิ์ในการต่อสู้คดี เขาน่าจะแพ้คดี....แต่...การดำเนินการทางศาลย่อมต้องใช้เวลาอสมควร ดังนั้นก็ต้องมีความอดทนในเนินการในเรื่องนี้ ควรมีทนายความช่วยเหลืออย่างจริงจัง เว้นแต่การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ไม่ต้องมีทนายความก็ได้ ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 179,842