ยัง งงๆ ภาษีเก็บจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ลาออกมาแล้ว

โดย: CW-T [IP: 192.168.120.xxx]
เมื่อ: 2017-03-22 12:35:05
สรุปเรื่องของผมคือ

1. ปลายปี 2559 ตัดสินใจลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้เงินก้อนมา 1.5 ล้านบาท มีใบรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย จากบริษัทบริหารกองทุน หักไป 1.3 แสนบาท

2. เข้ากองทุนฯมานานแล้ว จนถึงวันที่ถอนออก รวม 14 ปี

3. ยังทำงานอยู่กับบริษัทประจำ ไม่ได้ลาออกจากงาน

4. อายุตัว 56 ปีในวันที่ถอนกองทุน

ตอนแรก : เพียงข้อมูล 4 ข้อนี้ ผมเข้าใจว่า จะได้รับยกเว้นภาษีทั้งหมด ไม่ควรเสียภาษีเลย

ตอนที่ 2 : ทางกองทุนฯ หักภาษี ณ ที่จ่าย 1.3 แสนบาท อ้างว่า ให้ผมไปเคลมคืนจากสรรพากรเอง

ตอนที่ 3 : ผมไปให้ จนท.สรรพากรในพื้นที่ ช่วยคีย์ในระบบยื่นเสียภาษี ภงด.91 ประจำปี ให้ข้อมูลและดูเอกสารกันแล้ว จนท. บอกว่าต้องแยกกรอกในฟอร์ม 2 (ผมไม่เข้าใจ) ซึ่งเขาก็บริการช่วยทำให้จนเสร็จเข้าระบบแล้ว มีลดหย่อนต่างๆ ผมจะได้เงินคืน 1.5 แสนบาท

ตอนที่ 4 : มีจดหมายจากอีกแผนกหนึ่ง ขอเอกสารไปตรวจสอบใหม่ คราวนี้ เขาแจ้งว่า เป็นเพราะติดที่ข้อ 3. คือไม่ได้ลาออกจากงาน ทำให้ต้องนำเงินกองทุนที่ได้มารวมในรายได้ มาตรา 40(1) มีผลทำให้สุทธิแล้ว กระโดดขั้นบันได จากที่ต้องเสียแค่ 25% เป็น 30% ของฐานภาษี

สรุปคือ ผมกลับต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีก กว่า 1 แสนบาท



ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้วยครับ ตามกฎหมายแล้วควรเป็นอย่างไร ผมไม่เห็นระบุว่า ต้องมีเงื่อนไขให้ลาออกจากงานเท่านั้น ถึงจะยกเว้นภาษีได้



ขอบคุณมากครับ
#1 โดย: kraisorn [IP: 125.25.122.xxx]
เมื่อ: 2017-03-23 15:41:41
เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 3 ส่วน ได้แก่
1. ผลประโยชน์ของเงินสะสม
2. เงินสมทบจากนายจ้าง
3. ผลประโยชน์ของเงินสมทบ
ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่น เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี

เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อหารือ
: หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้ที่สมาชิกได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อพ้นสมาชิกภาพในส่วนที่เป็นเงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบ
กรณี
1. สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลาออกจากกองทุนฯ แต่ยังไม่ได้ลาออกจากงาน
2. บริษัทฯ ยกเลิกกองทุนฯ โดยที่สมาชิกกองทุนฯ ยังมีสภาพเป็นพนักงานของบริษัทอยู่
แนววินิจฉัย
: กรณีพนักงานของบริษัทฯ ได้รับเงินในส่วนที่เป็นเงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสะสมและเงินสมทบจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยที่พนักงานยังไม่ได้ลาออกจากบริษัทฯ ตามข้อเท็จจริง ถือว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับดังกล่าว เป็นเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อพนักงานได้รับเงินได้ โดยยังมิได้ลาออกจากงานแต่ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามปกติ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งไม่มีสิทธิ์เลือกเสียภาษี ตามมาตรา 48 (5) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 (36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ดังนั้น พนักงานต้องนำเงินได้ดังกล่าว ไปรวมคำนวณกับเงินเดือนตามปกติ และบริษัทฯ ในฐานะผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
เนื่องจากการจ่ายเงินได้ดังกล่าวเป็นการจ่ายเพียงครั้งเดียวหรือจำนวนครั้งที่รับเงินไม่แน่นอนหรือไม่สม่ำเสมอตลอดปี การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วย "หนึ่ง" แล้วรวมกับเงินเดือนทั้งปี เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใด ให้หักออกด้วยภาษีสำหรับเงินเดือนคงเหลือเท่าใดให้หารด้วย "หนึ่ง" ผลลัพธ์เท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,897