พินัยกรรม

โดย: ตี๋น้อย [IP: 171.5.247.xxx]
เมื่อ: 2024-10-25 07:36:49
นายองุ่นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ทำพินัยกรรม ยกทรัพย์สินทั้งหมดให้นางสาวสวย โดยมีนางสมศรี และนางปัญ และนายหนึ่งลงลายมือในพินัยกรรม และข้อความในพินัยกรรมเป็นการพิมพ์ทั้งหมดและลงวันที่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมาย ต่อมานายองุ่นถึงแก่ความตาย

เป็นพินัยกรรมแบบใด

พยานในพินัยกรรม และข้อกำหนดพินัยกรรมมีผลอย่างไร
#1 โดย: มโนธรรม ผู้เฒ่า [IP: 184.22.222.xxx]
เมื่อ: 2024-10-25 09:16:43
พินัยกรรม/คนเสมือนไร้ความสามารถ

ก็ไม่บอกข้อเท็จจริองให้ชัดเจนว่า การเป็นเสมือนไร้ความสามาถนั้น ได้มีการขอต่อศาลให้มี "ผู้พิทักษ์" ตาม ปพพ. ม.32 หรือไม่...

...เรื่องพินัยกรรม...ตามข้อเท็จจริงพินัยกรรมที่กล่าวถึง คือพินัยกรรมแบบธรรมดา หรือแบบทั่วไป ตาม ปพพ ม.1656 คือผู้ทำฯ ไม่ต้องเขียนเอง ใช้วิธีพิมพ์ก็ได้ แต่ผู้ทำพินัยกรรม ต้องลายมือชื่อ ต่อหน้าพยานสองคน...ก็ถือพินัยกรรมสมบูรณ์ ใช้บังคับได้ ลงชื่อผู้พิมพ์ด้วย
ถ้าเป็นทั้งผู้พิมพ์และพยานก็ได้(พยานและผู้พิมพ์)....แต่อาจจะมีปัญหา ถ้าผู้ทำพินัยกรรมเป็นคนไร้ความสามารถ ที่ศาลสั่งฯ การทำพินัยกรรม อาจจะเป็นโมฆียะ เพราะอาจจะ..ขัดต่อ ปพพ. ม.34 (4) คือให้โดยเสน่หา และ (8) ฯคือปล่อยไปซึ่งทรัพย์อันมีค่า ทางแก้ไข คือ ให้ผู้พิทักษ์ ลงชื่อในพินัยกรรมด้วย ก็ถือว่า ผู้พิทักษ์ ให้ความยินยอม โดยปริยาย...แต่...ถ้าผู้พิทักษ์ ไม่ให้ความยินยอมฯ ถ้าผู้พิทักษ์ บอกล้างพินัยกรรม พินัยกรรม จะเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้....
ข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ที่เป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้ ได้แก่ ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บุคคลวิกลจริตหรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ บุคคลหูหนวก เป็นใ้บ้ ตาบอดทั้งสองข้าง ตาม ปพพ. ม.1670.... และผู้เขียน(พิมพ์) พยานในพินัยกรรม จะรับมรดกตามพินัยกรรมไม่ได้ รวมทั้งคู่สมรสด้วย ตาม ปพพ. ม.1653...ดูแล้ว น่าจะเป็นข้อสอบมากกว่าเรื่องจริง แต่ที่ตอบ เพราะต้องการให้มีการพัฒนาทางวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิชากฎหมาย ของชนรุ่นต่อๆไป ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 179,842