คดีฉ้อโกง

โดย: เปา [IP: 183.182.111.xxx]
เมื่อ: 2024-10-25 19:45:21
อยากเรียนถามว่า ถ้ามีคดีฉ้อโกงเป็นข้อหาหลัก แต่ ภายหลังอัยการมาตั้งข้อหาพ่วง เป็นข้อหารอง มาตรา 188 การนำเอกสาร ไปใช้ให้ไร้ประโยชน์ คำถามคือ ถ้า ข้อหาหลัก ฉ้อโกงหลุด แล้ว ข้อหารอง 188 จะหลุดตามไหมครับ
#1 โดย: มโนธรรม ผู้เฒ่า [IP: 184.22.222.xxx]
เมื่อ: 2024-10-26 10:36:15
การรับโทษในคดิอาญา

หลักกฎหมาย...ถ้ากระทำความผิดกรรมผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมาย หลายบท ให้ลงโทษบทที่หนักที่สุด (ปอ. ม.90).....ถ้ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ก็ให้ศาลงโทษทุกกรรม(ทุกกระทง)ไป ตาม ปอ.ม.91
จากคำถาม เมื่อต้องคดีฉ้อโกง (ปอ.ม.341โทษจำคุก 3 ปี) ถ้าจากการสอบสวนพบว่า มีความผิดฐาน ซ่อนเร้น ทำลายเอกสาร ฯตาม ปอ. ม.188 และอัยการก็สั่งฟ้องในข้อหานี้ด้วย ศาลก็ลงโทษตาม ปอ. ม.188 เพิ่มอีกได้ (โทษจำคุก 5 ปี) บวกโทษ ฉ้อโกง 3 ปี เป็น 8 ปี แต่อาจจะมีลดโทษ ยกเว้นโทษ หรือรอการลงโทษ ก็เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจของศาล... เว้นแต่จะมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่า เป็นความผิดกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลก็จะโทษ ตาม ปอ. ม.188 เพียง 5 ปี เพียงกระทงเดียง ที่บทหนักสุดก็ได้....
เรื่องการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลาย ให้ลงโทษบทหนักสุด หรือ กระทำความผิดต่างกรรมกัน ให้ลงโทษทุกกระทงความผิด ตาม ปอ ม.90 ม.91 นั้น เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และเป็นปัญหาข้อกฎหมาย คงสรุปกันง่ายๆไม่ได้ หลายคดีต้องว่ากันถึงชั้นฎีกา คือการต่อสู้ในประเด็นว่ากระทำผิด กรรมเดียว ผิดกฎหมายหมาย หรือหลายกรรม ต้องลงโทษเรียงกระทงกัน คือกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระกัน ก็ลงโทษทุกกรรมไป จึงเป็นที่มาของการถูกศาลลงโทษกันเป็นร้อยปี พันปี แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่นคดี ฉ้อโกง มีโทษ 3 ปี ถ้าฉ้อโกง ร้อยครั้ง ก็ลงโทษ 300 ปี แต่กฎหมายให้ลงโทษได้ไม่เกิน 10 ปี ตาม ปอ. ม.91 (1) เป็นต้น..
ตามความเห็นของผู้ตอบ จากคำถาม ความผิดฐานฉ้อโกง และทำลายเอกสารฯ ซ่อนเอกสาร น่าจะกรทำผิดต่างกรรมต่างวาระกัน น่าจะถูกลงโทษเรียงกระทงไป คือรับโทษ 8 ปี....ถ้าให้การรับสารภาพ ให้ปากคำที่เป็นประโยชน์ ยอมชดใช้เยียวผู้เสียหาย ตามสมควร ทำนองรู้สำนึกในการกระทำความผิด ศาลย่อมปรานีลงโทษ สถานเบา อาจจะโชคดี ไม่ต้องถูกจำคุกก็ได้ คือเพียงให้รอการลงโทษไว้ ที่คนทั่วไปเรียกว่ารออาญา ตาม ปอ ม.56 ม.78...แต่ถ้าสู้คดี (ก็ไม่ผิด เพราะเป็นสิทธิอันชอบธรรม) แต่จำเลยย่อมทราบดีว่าตนกระทำความผิดหรือไม่ ถ้ายังฝืนต่อสู้คดี ทั้งที่กระทำความผิดจริง เพราะคำยุยงของบางคน ก็คงเข้าตำรา "สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน" ด้วยความปรารถนากด ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 179,867