ความสามารถของผู้เยาว์

โดย: เหมียว [IP: 171.4.89.xxx]
เมื่อ: 2024-11-23 21:21:01
นายดวงดี อายุ 18 ปี 2 เดือน เปิดร้านขายรองเท้ามือสองมีรายได้ต่อเดือนประมาณเดือนละ 10,000 บาท ไม่รวมรายได้จากบิดามารดา นายดวงดีมีรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะคู่กายที่มักจะซ่อมเป็น ประจำ เมื่อขายของมาได้ 4 เดือน นายดวงดีต้องการรถจักรยานยนต์คันใหม่เพื่อใช้ขนของไปขายได้ 21 สะดวก ในราคา 35,000 บาท แต่ไม่ต้องการให้บิดามารดาทราบ จึงไปซื้อรถจักรยานยนต์เพียงคนเดียว ดังนี้ นายดวงดีทำนิติกรรมโดยไม่แจ้งบิดามารดานั้นทำได้ด้วยตนเองหรือไม่

หนูอยากรู้ว่าเข้าเงื่อนไขของมาตรา24ของ ป.พ.พ.ไหมคะ สมแก่ฐานานุรูปและเป็นการอันจำเป็นต่อการดำรงชีพหรือเปล่าคะ
#1 โดย: มโนธรรม ผู้เฒ่า [IP: 49.228.51.xxx]
เมื่อ: 2024-11-24 11:58:58
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์

เจตนารมย์ ของกฎหมายคือต้องการคุ้มครองผู้เยาว์ ในการทำนิติกรรม เพราะผู้เยาว์มีวุฒิภาวะด้อยกว่าผู้ที่บรรลุนิติภาวะ....จากคำถาม ก็มีการแสดงความเห็นของนักกฎหมาย ออกมาสองแนวทางคือ แนวทางแรก ผู้เยาว์ซื้อรถฯไม่ได้ ถ้าผู้ปกครองไม่ให้ความยินยอม นิติกรรมย่อมเป็นโมฆียะ....บอกล้างได้... อีกแนวทางหนึ่ง บอกว่าสามารถทำได้ โดย ยึดถือตามแนวทาง ปพพ.ม.24 คือสมแก่ฐานุรูป และเป็นการจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร... ตามนัย ม.24 ก็ย่อมเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ว่า เหมาะสมฯคือมากน้อยเพียงใด ก็คงไม่ยุติการโต้แย้งกันลงได้ สุดท้ายก็ต้องยึดถือตามดุลยพินิของศาลเป็นสำคัญ....ถ้าเป็นการตอบคำถาม ในการสอบ ก็ย่อมตอบได้ทางใดทางหนึ่งของสองทางที่กล่าวถึง เพียงมีคำอธิบายถึงเหตุผลว่า สมฐานุรูป และมีความจำเป็นในการดำรงชีพเพียงใด ถ้ามีเหตุผลรองรับที่ชัดเจนตามสมควร คะแนนที่ได้ น่าจะไม่แตกต่างกัน....แต่ถ้าเป็นอังสังหาริมทรัพย์ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา มีความเห็นว่า ผู้เยาว์ทำไม่ได้ ดังที่ยกมาข้างล่าง ด้วยความปรารถนาดี ครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 179,839