คดีแพ่ง ต่ออีกนิด

โดย: รุจน์ [IP: 171.99.120.xxx]
เมื่อ: 2017-08-14 20:03:05
1.ขอรบกวนต่ออีกนิดว่า การที่ฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญานั้น มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง หากอีกฝ่ายไม่ยอมจะเลิกสัญญาได้ไหม ฝ่ายไม่ยอมต้องโต้แย้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไทม่ม่ คือต้องไปจบที่ศาลอย่างเดียวใช่ไหมครับ ถ้าตกลงกันเรื่องค่าเสียหายกันไม่ได้



2.การที่เราจะฟ้องให้เขาคืนเงินเรา จำเป็นไหมว่าต้องทวงหนี้เขาก่อนให้ทราบก่อนฟ้องครับ



3.เรื่องนี้มีหนี้ไม่ถึง 5000 บาท ท่านคิดว่าเขาจะฟ้องหรือไม่เพราะอะไรครับ และคดีหนี้เท่านี้อุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ใช่ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าที่ตอบให้ครับ



#1 โดย: มโนธรรม [IP: 1.1.183.xxx]
เมื่อ: 2017-09-06 11:44:48
คดีแพ่ง

1.ขอรบกวนต่ออีกนิดว่า การที่ฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญานั้น มีเกณฑ์อย่างไรบ้าง หากอีกฝ่ายไม่ยอมจะเลิกสัญญาได้ไหม ฝ่ายไม่ยอมต้องโต้แย้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ คือต้องไปจบที่ศาลอย่างเดียวใช่ไหมครับ ถ้าตกลงกันเรื่องค่าเสียหายกันไม่ได้

ตอบ..การบอกเลิกสัญญาก็เพียงแจ้งไปยังคู่สัญญา ใช้เป็นจดหมายลงทะเบียนก็ได้ เพื่อจะได้มีหลักฐานการบอกเลิกสัญญา เมื่อบอกเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับสู่ฐานะเดิม เงินที่ฝ่ายใดได้มา ก็ต้องคืนไป หรือกรณีเป็นการผิดสัญญา ก็จะถูกริบเงิน เป็นต้น...เป็นเรื่องทางแพ่ง ต้องใช้การเจรจากัน ถ้าไม่ได้ผล ก็ต้องฟ้องศาล....ถ้าอีกฝ่ายไม่ยอมเลิกสัญญา ก็แจ้งเหตุผลไปกับอีกฝ่าย ก็ต้องเจรจากันอีกเช่นกัน สุดท้ายอาจต้องฟ้องศาล ครับ



2.การที่เราจะฟ้องให้เขาคืนเงินเรา จำเป็นไหมว่าต้องทวงหนี้เขาก่อนให้ทราบก่อนฟ้องครับ

ตอบ..การต้องทวงถามก่อน ถ้าไม่ผลก็ต้องฟ้องศาล



3.เรื่องนี้มีหนี้ไม่ถึง 5000 บาท ท่านคิดว่าเขาจะฟ้องหรือไม่เพราะอะไรครับ และคดีหนี้เท่านี้อุทธรณ์ ฎีกาไม่ได้ใช่ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าที่ตอบให้ครับ
ตอบ..ทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท ห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ไม่ห้ามอุัทธรณ์ในข้อกฎหมาย อะไรคิือปัญหาข้อเท็จจริง อะไรคือปัญหาข้อกฎหมาย คงต้องมาตีความกันอีก..มีการแก้ไข กฎหมายใหม่ คือ ป.วิแพ่ง ม.241/1ให้ถือว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด การยื่นฎีกา จะทำได้ ถ้าทุนทรัพย์ ไม่เกินองแสนบาท ห้ามฎีกา ในปัญหาช้อเท็จจริง และต้องได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ตาม ม.247 โดยยึดหลักการตาม ม.249 เช่นเป็นปัญหาที่เป็นประโยชน์สาธารณะ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นการจะยื่นฎีกา จึงแทบจะทำไม่ได้...ปัญหาของคุณ เป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ ควรใช้การเจรจากัน แม้ถูกฟ้อง ก็ควรใช้การเจรจาหาช้อยุติ ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,679