-
-
บทบรรณาธิการ
-
คำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจ
-
รถหายในห้างสรรพสินค้า ห้างฯต้องรับผิดชอบ
-
ผู้เช่า (หัวหมอ) ฟ้องผู้ให้เช่า บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และ ลักทรัพย์ แต่ (เงิบ) ด้วยข้อสัญญาเช่า จึงเป็นอุทธรณ์(เห่า) ของผู้ให้เช่า ในการเขียนสัญญาเช่า ให้รอดพ้นจากคดีดังกล่าวหลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว
-
คำสั่งให้งดการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) ย่อมมีผลทันทีเมื่อศาลมีคำสั่ง แม้คำสั่งนั้นยังไม่ได้ส่งไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบก็ตาม
-
สัญญากู้ลงชื่อผู้กู้ฝ่ายเดียว ไม่ใช่ตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ เป็นเพียงหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือเท่านั้น
-
การครอบครองปรปักษ์ยังไม่ครบ ๑๐ ปี เจ้าของที่ดินโอนไปยังบุคคลภายนอก การครอบครองย่อมสิ้นสุดลง ต้องเริ่มนับใหม่
-
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้
-
ร้องขอครอบครองปรปักษ์ สังหาริมทรัพย์ (หุ้น, รถยนต์) ได้หรือไม่
-
คนต่างด้าวร้องขอครอบครองปรปักษ์คอนโดได้หรือไม่
-
หัวสัญญาระบุว่า สัญญาซื้อขาย โดยจำเลยเป็นผู้ซื้อ โจทก์เป็นผู้ขาย มีรายละเอียดของแบบสินค้า จำนวนชุด ราคา วันจัดส่ง แต่ในเนื้อหาสาระของสัญญายังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผ้า วัสดุอุปกรณ์ กรรมวิธีการผลิต หีบห่อ และเศษวัสดุจากการตัดเย็บและสินค้าคุณภาพรองไว้ด้วย เช่นน
-
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า จะมีผลผูกพันผู้รับโอนหรือไม่ แม้ผู้รับโอนจะรู้เห็นถึงการเช่าและรับโอนตึกแถวพิพาทมา
-
พวกไกด์ผีระวังไว้นะ
-
สัญญาจะซื้อจะขายบ้านพร้อมที่ดิน(ที่ดินจัดสรร) ที่มีข้อกำหนดของสัญญาว่า ค่าภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนโอน ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระทั้งหมด มีผลบังคับใช้ได้หรือไม่
-
ด่ากันทางโทรศัพท์ มีความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า หรือไม่
-
จอดรถไว้บริเวณลานจอดรถของโรงแรม โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอยู่บริเวณลาดจอดรถ หากรถหาย โรงแรมจะต้องรับผิดชอบหรือไม่
-
ผู้ให้กู้ กรอกจำนวนเงินกู้ในสัญญากู้ เกินกว่าความจริง ผู้กู้ต้องชดใช้เงินตามที่ผู้ให้กู้กรอกไว้หรือไม่ และผู้ให้กู้มีความผิดฐานใดบ้าง
-
ผู้กู้ ยินยอมให้ดอกเบี้ยแก่ ผู้ให้กู้ ในอัตราที่ขัดต่อกฎหมาย (เกินกว่าร้อยละ ๑๕ ต่อปี)ผู้ให้กู้ มีความผิดหรือไม่ (กู้นอกระบบ)
-
ผู้ขายฝากมีเงินไถ่ที่ดินที่ขายฝากภายในกำหนดเวลาตามสัญญา แต่ผู้ซื้อฝากไม่ยินยอมให้ไถ่ ผู้ขายฝากจะไถ่ที่ดินที่ขายฝากด้วยวิธีใด
-
อ้างว่า ไฟแนนซ์ให้มายึดรถที่ค้างค่างวดคืน ถ้าไม่อยากให้ยึด ต้องจ่ายค่าติดตามมา อย่างนี้ ผู้เช่าซื้อจะดำเนินคดีอาญากับพวกแอบอ้างอย่างนี้ได้หรือไม่
-
ผู้กู้ เขียนข้อความว่า "เพื่อชำระหนี้เงินกู้" ไว้ด้านหลังเช็คและลงลายมือชื่อไว้เท่านั้น ถือว่า เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน หรือไม่
-
ผู้เช่าซื้อ ขายดาวน์ ให้แก่ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อใช้ชื่อและที่อยู่ของบุคคลอื่นเป็นผู้ซื้อ เมื่อได้รับมอบรถยนต์ไปแล้ว ก็ไม่ยอมมาทำสัญญาเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อ อย่างนี้ ผู้ซื้อจะมีความผิดอาญา ฐานใด
-
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปี จะยังมีสิทธิบังคับเอาแก่ทรัพย์จำนองได้หรือไม่
-
กรณีของคุณชูวิทย์ ที่เปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลฎีกามีคำตอบอย่างนี้
-
ใช้นิ้วมือสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของเด็ก เป็นความผิดฐานกระทำชำเรา ไม่ใช่อนาจาร
-
เจ้าของที่ดินเดิมมีเจตนาอุทิศที่ดินให้เป็นทางสาธารณะย่อมมีผลให้ที่ดินตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที โดยไม่จำต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่อาจซื้อกันได้ ผู้ซื้อย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่เป็นทางสาธารณะ
-
พฤติการณ์เช่นใดที่แสดงว่า สามียกย่องหญิงอื่นฉันภริยาแล้ว ซึ่งเมียหลวงมีสิทธิฟ้องหย่า และเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกับเรียกค่าทดแทนจากสามีและเมียน้อยได้
-
การด่าผู้อื่นว่า “ตอแหล” ผิดดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือไม่
-
เงินเยอะ ซื้อที่ดินมือเปล่าทิ้งไว้ (ภ.บ.ท.5 หรือ สทก.) แต่ไม่ได้ครอบครองตามความเป็นจริง จะฟ้องขับไล่ เอาที่ดิน คืนได้ไหม
-
ซื้อที่ดินโดยรู้อยู่ว่าเป็นที่สาธารณประโยชน์ ต่อมา อ.บ.ต.ห้ามมิให้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนจากผู้ขายหรือไม่
-
สิทธิครอบครองที่ดินภ.บ.ท.๕ ซื้อขายกันได้หรือไม่ และเมื่อผู้ซื้อเข้าครอบครองที่ดินแล้ว จะเปลี่ยนใจขอเงินคืนได้หรือไม่
-
ผู้ชำระบัญชี ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บริษัท แต่กลับไปจดเสร็จการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ด้วยหรือไม่
-
ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ มีเพียงบัตรพร้อมรหัสใช้กดถอนเงิน จะถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมที่จะใช้ฟ้องร้องกันได้หรือไม่
-
เป็นหนี้เงินกู้ยืมแล้วไม่ชำระ เจ้าหนี้เข้าไปยึดทรัพย์สินภายในบ้าน ตามข้อตกลงในสัญญากู้ที่ระบุว่า หากไม่ชำระยินยอมให้ยึดทรัพย์สินได้ เจ้าหนี้จะมีความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่
-
ทำสัญญากู้กันไว้ โดยส่งมอบโฉนดไว้เป็นประกัน ผู้กู้จะฟ้องเรียกโฉนดคืนได้หรือไม่ เมื่อยังไม่ชำระหนี้ หรือในกรณีส่งมอบโฉนดไว้เป็นประกัน แต่ไม่ได้ทำสัญญากู้กันไว้ หรือ ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แล้ว แต่ไม่ได้บังคับภายใน ๑๐ ปี เจ้าหนี้ยังยึดโฉนดไว้ได้หรือไม่ จนกว่า
-
ผู้กู้ มอบโฉนดให้ ผู้ให้กู้ ไว้เป็นประกันการกู้ยืม ต่อมาผู้กู้ไปแจ้งความว่า โฉนดหายไปและไปขอออกใบแทนแล้วโอนให้แก่ผู้อื่นไป ผู้ให้กู้เป็นผู้เสียหายที่จะฟ้อง ผู้กู้แจ้งความเท็จ ได้หรือไม่ และผู้ให้กู้ต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อให้ได้ที่ดินคืนมาประกันการชำระห
-
ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกเป็นของตนเอง แล้วโอนต่อไปให้บุคคลภายนอกโดยไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมคนอื่น ทายาทจะตั้งรูปคดีอย่างไร เพื่อไม่ให้ฟ้องขาดอายุความ
-
ที่ดิน ภ.บ.ท.5 ซื้อขายกันได้ แต่ถ้าเป็นที่สาธารณประโยชน์ สัญญาซื้อขายตกเป็นโมฆะ
-
นักข่าวต้องการข่าว ไปล่อซื้อเพื่อให้เป็นข่าว
-
รถถูกขโมยไปจากคอนโด ใครต้องรับผิดชอบ
-
ถูกขโมยบัตรเครดิตไปใช้ ผู้ถือบัตรต้องรับภาระหนี้ดังกล่าวหรือไม่
-
ไปนวดแผนโบราณในโรงแรมแล้ว รถยนต์หายไป เจ้าสำนักโรงแรมต้องรับผิดชอบหรือไม่
-
กรณีศึกษา รถหายไปจากห้าง กับ มาตราฐานในการนำสืบข้อเท็จจริง เพื่อให้ห้างต้องรับผิดชอบ
-
ธนาคารหักเงินจากบัตรเดบิตที่ตนเองไม่ได้ใช้ ธนาคารต้องคืนเงินที่หักไปพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่หักเงินไปจากบัญชี
-
แอบถ่ายใต้กระโปรง
-
ซื้อรถยนต์ แต่จดทะเบียนโอนไม่ได้ และไม่ยอมส่งมอบแผ่นป้ายทะเบียนรถ คู่มือจดทะเบียนและแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี ต้องฟ้องอย่างไรถึงจะบังคับโอนได้
-
ซื้อบ้านจัดสรร โดยมีข้อตกลงให้ผู้ซื้อเป็นผู้ออกเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ รายได้ส่วนท้องถิ่น และ อากรแสตมป์ ข้อตกลงดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้ ผู้ซื้อสามารถฟ้องเรียกคืนได้ภายใน ๑๐ ปี
-
ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารพร้อมปรุง ร้านอาหารตามห้างสรรพสินค้า (ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว อาหารตามสั่ง ฯลฯ) เมนูอาหารต้องเป็นภาษาไทย ราคาต้องเป็นตัวเลขอารบิค ถ้าไม่มี หรือมี แต่ขายเกินราคา ถูกปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ผู้แจ้งจับได้รับสินบนนำจับ ๒๕% ของค่าปรับ
-
ลูกความกล่าวต่อหน้าทนายความว่า “ไอ้ทนายเฮงซวย” เนื่องจากความไม่พอใจในการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ เป็นการดูหมิ่นทนายความ หรือไม่
-
เรื่อง ขี้หมา ขี้หมา
-
ยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้ ต่างคนต่างโต้เถียงซึ่งกันและกัน เจ้าหนี้ด่าว่า “มึงโกงกู” ด้วยความโกรธ เป็นหมิ่นประมาทหรือไม่
-
ซื้อรถยนต์มือสองจากบริษัทขายรถยนต์ ต่อมารถยนต์ถูกตำรวจยึด เพราะเจ้าของรถไปแจ้งความว่ารถถูกขโมย ผู้ซื้อรถต้องทำอย่างไร เสียทั้งเงินเสียทั้งรถ
-
ที่ดินอยู่ในเขตป่าสงวน (สทก.) เขตปฎิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่
-
เดิม ซื้อขายที่ดิน ส.ป.ก.โดยส่งมอบการครอบครองให้แล้ว สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ ผู้ขายฟ้องขับไล่ผู้ซื้อออกจากที่ดินได้ (ฎีกา 2293/2552 และ 3424/2557) ต่อมาศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่วินิจฉัยว่า ผู้ขายที่ดิน ส.ป.ก.ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต (
-
เมียคนไทยมีชื่อและครอบครองที่ดินไว้แทนฝรั่งต่างชาติ แล้วฮุบเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือเอาไปขาย ถ้าฝรั่งต่างชาติโวยวายเอาคืน เมียคนไทยระวังจะโดนข้อหายักยอกทรัพย์ได้ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12250/2557) แต่ถ้าให้ใส่ชื่อไว้อย่างเดียว ไม่ได้ให้ครอบครองด้วย เอาไปขาย
-
โช้กอัพ ไม่ปรากฏในรายการจดทะเบียน ดังนั้น การโหลดโช้กอัพให้ต่ำลง และถอดนอตที่บริเวณโช้กอัพออก เป็นการเปลี่ยนแปลงส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ หรือไม่ เรื่องนี้มีคำตอบจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๘๗/๒๕๕๖
-
มัดจำที่ถูกริบ หากสูงเกินไป ศาลปรับลดลงได้หรือไม่
-
ปัญหาการรับฟังเทปบันทึกเสียงในคดีอาญา เดิมต้องห้ามมิให้รับฟังตามมาตรา 226 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2551) ซึ่งมีหมายเหตุท้ายฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ควรรับฟังตาม 226/1 ต่อมาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2555 วินิจฉัยว่า รับฟังได้ตาม 226/1
-
ปัญหาการรับฟังเทปบันทึกเสียงในคดีแพ่ง ถ้าคู่ความยอมรับ เสียงสนทนาเป็นของตนเองจริง ย่อมนำมารับฟังประกอบในการชั่งน้ำหนักพยานได้
-
แนวทางการสอบสวนและการรวบรวมพยานหลักฐานในการกระทำความผิดทางเทคโนโลยี
-
ว่าด้วยเรื่อง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
-
สุนัขวิ่งตัดหน้ารถ เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ขับขี่หรือไม่
-
ตัวแทนจำหน่ายแต่ผู้เดียว
-
กำหนดระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา ๒๗๔ วรรคหนึ่ง (๒๗๑ (เดิม) จะต้องเริ่มนับแต่วันมีคำพิพากษาของศาลชั้นที่สุด ไม่ใช่นับแต่คดีถึงที่สุดตามมาตรา ๑๔๗ วรรคสอง (ฎีกาที่ ๑๐๗๓๑/๒๕๕๘, ๔๖๗๓/๒๕๖๐) โดยไม่มีข้อยกเว้นมิให้ใช้บังคั
-
-
คดีแรงงาน
-
เล่นอินเตอร์เน็ตพูกคุยเรื่องส่วนตัวในเวลางาน นายจ้างเลิกจ้างได้โดยชอบ
-
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่านายหน้า ค่าครองชีพ ค่าเที่ยว ค่าชั่วโมงบิน ค่าน้ำมันรถ ค่าคอมมิชชั่น ค่าโทรศัพท์ ค่ารถประจำตำแหน่ง ค่าบริการและค่าอาหาร เงินจ่ายทดแทนรถประจำตำแหน่ง เงินค่าค้างคืนนอกฝั่ง เงินจูงใจ เงินโบนัส ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าภาษี เป็นค่าจ้างหรื
-
ค่าคอมมิสชั่นที่ได้รับจากการจำหน่ายสินค้าซึ่งคิดคำนวณจากยอดสินค้าที่จำหน่ายได้ในแต่ละเดือน ถือเป็นค่าจ้าง
-
หนังสือเตือนต้องมีข้อความเช่นใดจึงเป็นหนังสือเตือนที่ถูกต้อง
-
นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้างแต่ไม่ได้ระบุเหตุผลการกระทำความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้าง นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างกระทำความผิดร้ายแรง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้หรือไม่
-
ค่าชดเชยกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
-
พนักงานจ้างเหมาค่าแรง(เอาท์ซอร์ส) จะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
-
มัคคุเทศก์อิสระ ไม่ใช่ลูกจ้าง
-
โจทก์เป็นลูกจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงาน หรือเป็น ผู้รับจ้าง ตาม สัญญาจ้างทำของ
-
หลักการพิจารณาว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ
-
สัญญาจ้างแรงงาน มีข้อความว่า ห้ามพนักงานไปทำงานในสถานประกอบการอื่นซึ่งประกอบธุรกิจในลักษณะหรือประเภทเดียวกันกับธุรกิจของบริษัท หรือเป็นคู่แข่งทางการค้ากับบริษัท หรือ เข้าไปเกี่ยวข้องหรือดำเนินการไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการพัฒนาทำ ผลิต หรือจำ
-
ลูกจ้างใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวต่อพวงกับอุปกรณ์ของนายจ้างในเวลาทำงานเพื่อทำการค้ากับบุคคลภายนอก นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่
-
ถูกเลิกจ้าง โดยข้ออ้างไม่ผ่านการทดลองงาน โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินใดบ้าง
-
หลักเกณฑ์การวินิจฉัยว่าเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวนค่าชดเชยหรือไม่
-
ย้ายสถานประกอบกิจการ ตามมาตรา ๑๒๐ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
-
พฤติกรรมเช่นใดที่จะถือว่า เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา ๑๑๙(๑)
-
มาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้าง หมายความว่าอย่างไร
-
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า “หากพนักงานจะใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีต้องยื่นใบลาล่วงหน้าก่อนถึงวันลา หากไม่ใช้สิทธิลาพักผ่อนประจำปีใดให้ถือว่าสละสิทธิการลาพักผ่อนในปีนั้น และหมดสิทธิที่จะนำไปสะสมไว้ในปีต่อไป” ข้อบังคับดังกล่าวใช้บังคับได้หรือไม่
-
สัญญาว่าจ้างนักกีฬา เป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาทางแพ่งประเภทหนึ่ง
-
-
คดีเครื่องหมายการค้า
-
บรรดาภาพถ่าย ภาพวาด หรือภาพประดิษฐ์ซึ่งมีสภาพเป็นเพียงเครื่องหมายเท่านั้น ยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเครื่องหมายการค้าจนกว่าจะมีผู้นำภาพต่าง ๆ เช่นว่านี้มาใช้อย่างเครื่องหมายการค้า
-
เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องหมายต่อสินค้าตามรายการสินค้าที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ และไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นการใช้อย่างเครื่องหมายการค้าแล้ว จึงไม่เป็นความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้า
-
เอางานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ได้
-
(นำเข้าซ้อน) ผู้ผลิตสินค้าที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าได้จำหน่ายสินค้าของตนในครั้งแรก ซึ่งได้รับประโยชน์จากการใช้เครื่องหมายการค้านั้นจากราคาสินค้าที่จำหน่ายไปเสร็จสิ้นแล้ว จึงไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้ซื้อสินค้าซึ่งประกอบการค้าปกตินำสินค้านั้นออกจำหน่า
-
ความผิดพลาดในการนำสืบพยานคดีเครื่องหมายการค้า
-
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับการลวงขาย
-
หลักเกณฑ์การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
-
-
คดีลิขสิทธิ์
-
การบรรยายฟ้องคดีลิขสิทธิ์ที่ผิดพลาด
-
การล่อซื้อ กับ การล่อให้กระทำความผิด ผลทางกฎหมายแตกต่างกัน
-
การศึกษาหรือวิจัยอันเป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
-
การสิ้นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
-
หมายเหตุท้ายฎีกา เรื่อง หลัก “fair use”
-
คดี นวนิยายหางเครื่อง (แนวความคิด หรือ การแสดงออกซึ่งความคิด)
-
ความคาบเกี่ยวลิขสิทธิ์กับเครื่องหมายการค้า(Big)
-
งานดัดแปลงที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ดัดแปลงจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เฉพาะงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
-
ฏีกาอาจารย์ไพจิตร
-
ตีความคำว่า แพร่เสียงแพร่ภาพซ้ำ
-
ล้อเลื่อน (ไม่ใช่งานสร้างสรรค์)
-
ละเมิดบทความและชื่อ
-
ละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเด็กดอยใจดี
-
ลิขสิทธิ์ ศิลปประยุกต์
-
ลิขสิทธิ์ สิทธิของนักแสดง คดีคุณหน่อย บุษกร
-
เอกสารประชาสัมพันธ์ยังไม่ถือว่าเป็นงานสร้างสรรค์
-
การเดินแบบเสื้อผ้าไม่ใช่งานอันมีลิขสิทธิ์(คดีลูกเกตุเมทินี)
-
ตัวอย่างการปรับใช้มาตรา 32 วรรคหนึ่ง
-
คดีลิขสิทธิ์ ไม่จำต้องมีหมายค้น หมายจับ ถ้าเป็นความผิดซึ่งหน้า
-
เอาทำนองเพลงของเขาไปใช้เพียงแค่ ๒ ประโยค ผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ หรือไม่
-
รูปแบบรายการเกมโชว์ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหรือไม่
-
ความคาบเกี่ยวระหว่างลิขสิทธิ์ศิลปประยุกต์กับสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์
-
แรงบันดาลใจหรือแนวความคิด กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครอง
-
ความคาบเกี่ยวระหว่างกฎหมายลิขสิทธิ์ กับ เครื่องหมายการค้า และ ลิขสิทธิ์ กับ สิทธิบัตร
-
-
ที่ดิน
-
คดีภาษี
-
หมายเหตุท้ายฎีกา
-
คดีทางการแพทย์
-
คดีคุ้มครองผู้บริโภค
-
คดีปกครอง
-
คดีดัง
-
-
การป้องกันตนเอง
โดย:
ส้มป่อย
[IP: 171.4.233.xxx]
เมื่อ: 2025-02-18 13:00:54
แบงค์ กับ ทิว เป็นสามีภรรยากัน แบงค์ สามี ปกติแล้วเป็นคนนิสัยดี พูดจา ไพเราะ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ แบงค์ ดื่มสุรา แบงค์จะมีอาการโมโหร้าย ทำลายข้าวของและทำร้ายร่างกาย ตบตี ทิว ซึ่งเป็นภรรยาของตน ทุกครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง แบงค์กลับมาบ้านท่าทางเมามาย ทิว มองเห็น แบงค์กำลังเดินเข้าบ้านมาทางประตูหน้า และรู้ทันที แบงค์ มีอาการเมาหนักมากพร้อมทั้งคิดไว้ว่า แบงค์ จะต้องเข้ามาตบตีทำร้ายตนแน่นอน ครั้งนี้ ทิว จะไม่ยอมถูกทำร้ายอีก จึงเตรียมสากกระเบือไม้มาไว้กับตัว เมื่อแบงค์เดินเข้ามาและโวยวายเสียงดัง ทิวจึงตัดสินเข้าทำร้ายโดยใช้สากกระเบือไม้ทุบไปที่หัวทันที ปรากฏว่า แบงค์เป็นคนกะโหลกบางตั้งแต่เกิดการถูกตีโดยสากกระเบือไม้ ได้ทำให้สมองของแบงค์ได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง จนเลือดคลั่งในสมอง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
.
จงวินิจฉัยว่า
.
(1) ทิว ต่อสู้ว่า ความตายของแบงค์ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของตนเนื่องจากตนมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายให้แบงค์เพื่อหยุดไม่เข้ามาทำร้ายเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ข้อต่อสู้ดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่
(2) ทิว อ้างว่า ตนได้กระทำการป้องกันตนเองตามมาตรา 68 เพื่อยกเว้นความผิด ได้หรือไม่
.
จงวินิจฉัยว่า
.
(1) ทิว ต่อสู้ว่า ความตายของแบงค์ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของตนเนื่องจากตนมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายให้แบงค์เพื่อหยุดไม่เข้ามาทำร้ายเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ข้อต่อสู้ดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่
(2) ทิว อ้างว่า ตนได้กระทำการป้องกันตนเองตามมาตรา 68 เพื่อยกเว้นความผิด ได้หรือไม่
(1) ทิว ต่อสู้ว่า ความตายของแบงค์ ไม่ได้เกิดจากการกระทำของตนเนื่องจากตนมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายให้แบงค์เพื่อหยุดไม่เข้ามาทำร้ายเท่านั้น จึงไม่เป็นไปตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล ข้อต่อสู้ดังกล่าวฟังขึ้นหรือไม่
(2) ทิว อ้างว่า ตนได้กระทำการป้องกันตนเองตามมาตรา 68 เพื่อยกเว้นความผิด ได้หรือไม่
ตอบ 1-2 ...ทิวคงอ้างการป้องกันตนให้พ้นผิดไม่ได้ เพราะ ยังไม่มีภยันตรายจากการประทุษร้ายของสามี อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตราย ที่ใกล้จะถึง การเคยถูกทำร้ายที่ผ่านมา เมื่อทราบเกิดจากความมึนเมา จึงอยู่ในภาวะที่ภรรยา สามารถหลบเลื่ยงภยันตรายนี้ได้ การทำร้ายด้วยสากกะเบือ ย่อมเล็๋งเห็นผลแล้วว่า น่าจะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ จึงมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เพราะรู้สำนึกในการกระทำ และประสงค์ต่อผล ตาม ปอ. ม.59 วรรคสอง
ขอนำเสนอหลักการป้องกันตน ที่นักกฎหมายท่านหนึ่งได้สรุปไว้ ซึ่งสามารถนำมาวินิจฉัยจากคำถามของท่านได้ (สามารถนำหลักการนี้ไปตอบคำถามในข้อสอบได้)
การป้องกันต ตาม ปอ. ม.68
1.ต้องเป็นการทำเพื่อป้องกัน “สิทธิ”
2.จะต้องมี “ภยันตราย” กำลังเกิดขึ้นต่อสิทธิ
3.เป็นภยันตรายที่ “ใกล้จะถึง”
4.ภยันตรายต้องเป็น “การละเมิดต่อกฎหมาย”
5.ควรหลีกเลี่ยง ถ้าหลีกเลี่ยงได้
6.ต้องกระทำก่อนภยันตรายนั้นสิ้นสุดลง
7.ต้องไม่มีส่วนผิดในเหตุการณ์นั้น
8.การกระทำต้องเป็นการสมควรแก่เหตุ
9.สามารถนำไปต่อสู้คดีความผิดอาญาได้ทุกข้อหา
แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8173/2544
แม้ผู้เสียหายจะถือมีดเข้าไปในบ้านของมารดาจำเลยในเวลากลางคืนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาพบได้มีการพูดจาโต้ตอบกันและผู้เสียหายได้บอกแก่จำเลยแล้วว่าไม่ใช่ขโมย เหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์จึงหมดไปแล้ว ไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
คำพิพากษาย่อยาว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 80 และ 371 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 10 ปี ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 100 บาท จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสี่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำคุก 7 ปี 6 เดือน ฐานพาอาวุธ ปรับ 75 บาท รวมจำคุก 7 ปี 6 เดือน และปรับ 75 บาท ให้ยกฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490
จำเลยอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบมาตรา 62 (ที่ถูกมาตรา 62 วรรคแรก), 69 และ 80 จำคุก 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 1 ปี 6 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "...พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยคู่ความมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายถูกที่ไหล่ซ้าย เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจำเลยให้การในชั้นสอบสวนตามเอกสารหมาย จ.8 ไปตามความจริงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาเอกสารหมาย จ.8 ปรากฏข้อความว่า คืนเกิดเหตุขณะที่จำเลยเฝ้าเครื่องวิดน้ำอยู่คนละฝั่งคลองกับบ้านของมารดาจำเลย เห็นคนถือตะเกียงแก๊สเดินผ่านบ้านของมารดาจำเลยไป จำเลยสังเกตดูอยู่ตลอดเพราะที่บ้านของจำเลยทรัพย์สินหายบ่อย แล้วจำเลยพายเรือข้ามคลองมาซุ่มอยู่ที่ชายคลอง สักพักมีคนเดินถือตะเกียงแก๊สเข้าไปใต้ถุนบ้านของมารดาจำเลยและดับตะเกียง จำเลยเดินไปดักคนที่ถือตะเกียงด้านหน้าแล้วตะโกนถามว่าใคร คนที่เดินอยู่ใต้ถุนบ้านของมารดาจำเลยพูดว่าไม่ใช่ขโมย จำเลยเห็นคนดังกล่าวถือมีดอยู่ด้วย จึงได้นำอาวุธปืนที่ติดตัวมายิงไป 1 นัด ถูกที่บริเวณไหล่ซ้าย ต่อมาจึงทราบว่าเป็นผู้เสียหายซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้กับบ้านของมารดาจำเลย ข้อความที่ปรากฏในคำให้การของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.8 ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้เสียหายจะถือมีดเข้าไปในบ้านของมารดาจำเลยในเวลากลางคืนโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาพบได้มีการพูดจาโต้ตอบกันและผู้เสียหายได้บอกแก่จำเลยแล้วว่าไม่ใช่ขโมย เหตุที่ทำให้จำเลยเข้าใจผิดว่าผู้เสียหายเป็นคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์จึงหมดไปแล้ว ไม่มีภยันตรายที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันอีกการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการกระทำเพื่อป้องกัน โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 แต่โจทก์ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาจึงปรับบทให้ถูกต้องเท่านั้น ไม่อาจกำหนดโทษให้สูงไปกว่าที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 และเมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันเนื่องจากความตื่นเต้น ความตกใจ หรือความกลัว ตามที่จำเลยฎีกาอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
สำหรับที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้วฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเพียง 1 ปี 6 เดือน เป็นประโยชน์แก่จำเลยมากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเปลี่ยนแปลงแก้ไข ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น"
พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ประกอบมาตรา 80 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1