ช่วยอธิบายกฎหมายข้อนี้ให้ทีค่ะอ่านแล้วงงมากเลย

โดย: start [IP: 171.98.38.xxx]
เมื่อ: 2018-10-07 00:39:32
มาตรา176 : โมฆียกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้เป็นคู่กรณีกลับคนสู่สถานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน

ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะ นับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ

ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่ง เมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม



หมายความว่าอย่างไรหรอคะ...
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 1.2.230.xxx]
เมื่อ: 2018-10-07 03:31:05
ข้อกฎหมาย
* นิดิกรรมที่เป็นโมฆียะ สามารถบอกล้างได้ เช่น สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพสิน ( ปพพ. ม.157) ถูกฉ้อฉล ( ปพพ.ม.159) ถูกข่มขู่ ( ปพพ. ม.164) ผู้เยาว์ทำนิติกรรม ( ปพพ. ม.170)...
* นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ เมื่อได้ใช้สิทธิบอกล้างแล้ว นิติกรรมนั้น ย่อมเป็นโมฆะ
* เช่น ซื้อขายอาคาร โดยสำคัญผิดฯ เป็นโมฆียะ ผู้ซื้อบอกล้างได้ เมื่อบอกล้าง การซื้อขาย ย่อมเป็นโมฆะ ผู้ขายต้องคืนเงิน (กลับสู่สถานะเดิม) เป็นต้น (ฎีกา 19696/2557
* การฟ้องร้อง เรื่องการกลับสู่สถานะเดิม ต้องฟ้องภายในหนึ่งปี แต่วันบอกล้าง...

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19696/2557
จำเลยทราบว่าอาคารพิพาทก่อสร้างไม่ถูกต้องตามใบอนุญาตตั้งแต่ปี 2549 แต่จำเลยก็ไม่เคยคิดจะไปขออนุญาตเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้อง ซึ่งหากจำเลยมีความสุจริตใจประสงค์จะขายอาคารพิพาทตามสภาพที่มีการก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาต ก็ควรแจ้งให้โจทก์ทราบก่อนทำสัญญาจะซื้อขาย เพราะหากโจทก์เข้าครอบครองเป็นเจ้าของอาคารแล้วโจทก์อาจถูกระงับการใช้อาคารพิพาทหรือถูกปรับในอัตราค่าปรับสูง และการไปขออนุญาตเพิ่มเติมภายหลังเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา พฤติการณ์ที่โจทก์ยอมทำสัญญาจะซื้อขายตามที่ฝ่ายจำเลยจัดทำขึ้นซึ่งไม่มีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องไปจัดการเรื่องใบอนุญาตก่อสร้างให้ถูกต้องก่อน และไม่มีการกำหนดเบี้ยปรับทั้งที่โจทก์ต้องวางเงินมัดจำจำนวนมาก เชื่อว่าโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่าอาคารพิพาทก่อสร้างไม่ถูกต้องตามใบอนุญาตก่อสร้างก่อนทำสัญญาจะซื้อขาย การทำสัญญาจะซื้อขายของโจทก์จึงเป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติอาคารพิพาทว่าก่อสร้างถูกต้องตามใบอนุญาตก่อสร้าง นิติกรรมที่โจทก์ทำไปจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียะกรรมแล้วจึงมีผลเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง จำเลยต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,023