ความเป้นทายาทระหว่างพี่น้อง

โดย: นักเรียนนิติศาสตร์ [IP: 203.144.234.xxx]
เมื่อ: 2018-12-14 15:36:24
กรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีลูก 2 คน คือ A กับ B แต่พ่อก็เลี้ยงดูยอมรับว่าเป็นบุตรโดยพฤติการณ์ ต่อมาพ่อแม่แยกทางกัน แม่ไปแต่งงานใหม่มีลูกกับสามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส ลูกที่เกิดกับสามีใหม่คือ C

ขอเรียนถามว่ากรณีถ้า A ตาย (A ไม่ได้แต่งงาน) ในเรื่องมรดกถือว่า B เป็นทายาทโดยธรรมของ A หรือไม่เพราะเป็นพี่น้องที่พ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และกรณีของ C ด้วยครับ



ขอบคุณครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.70.xxx]
เมื่อ: 2018-12-15 05:57:00
ทายาทในการรับมรดก

เมื่อ เอ ตาย ทายาทที่มีสิทธิ์มรดก คือ มารดา ซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 2 ตาม ปพพ. ม.1629(2) ส่วนบิดา คงไม่รับมรดก ของ เอ (แนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1854/2551) ส่วน บี และซี เป็นทายาท ลำดับที่ 3 และลำดับที่ 4 ( ม.1629) คงถูกตัดสิทธิ์ ในการรับมรดก เพราะ มีทายาท ลำดับที่ 2( มารดา) ตัดสิทธิ์แล้ว ตาม ปพพ. ม.1630.... ทำนองญาติสนิทตัดสิทธิ์ญาติห่าง....

ฎีกาที่ 1854/2551

ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 แต่ผลของบทกฎหมายดังกล่าวเพียงแต่ให้ถือว่าบุตรนั้นเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หาได้มีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 ด้วยไม่ ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาผู้ตายจึงมิใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย ไม่มีสิทธิคัคค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และปัญหาดังกล่าวมีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้อยู่แล้ว กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 4 ที่จะต้องวินิจฉัยคดีตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น หรืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง หรือวินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,809