การใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรงของพ่อแม่

โดย: เสาวลักษณ์ [IP: 183.89.29.xxx]
เมื่อ: 2019-01-08 18:57:58
เนื่องด้วยดิฉันเพิ่งรับราชการ ทางหน่วยงานให้นำเอกสารของพ่อแม่มายื่นที่หน่วยงาน เพื่อยื่นกรมบัญชีกลาง เพื่อใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง ซึ่งชื่อบิดามารดาปัจจุบัน คือชื่อลุงกับป้า เพราะตอนตั้งครรภ์แม่ยังไม่ได้ทำบัตรประชาชน และต้องเดินทางไปทำที่ต่างจังหวัด จึงไม่ได้ทำจนคลอด จึงให้ลุงกับป้ามาเซ็นใบแจ้งเกิดให้ ทำให้ในใบสูติบัตรและทะเบียนบ้านเป็นชื่อลุงกับป้า แต่ดิฉันอาศัยอยู่กับพ่อแม่มาตลอด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไปปรึกษาที่อำเภอเขาแนะนำให้จดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรม เมื่ออายุครบ 21 ปี ตอนนี้ก็จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ได้บรรจุเป็นข้าราชการ เอาเอกสารมายื่นที่หน่วยงาน เจ้าหน้าที่บอกว่า ให้เอาเอกสารพ่อแม่ตามในสูติบัตร ไม่สามารถนำเอกสารของพ่อแม่ที่แท้จริงที่รับเป็นบุตรบุญธรรมได้

คำถาม

1.การแจ้งเกิดโดยแจ้งชื่อบิดา มารดา เป็นชื่อลุงกับป้า มีความผิดหรือไม่ สามารถเปลี่ยนเป็นชื่อพ่อแม่ที่แท้จริงได้ไหม

2.เอกสารที่นำไปเพื่อใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง ต้องนำของลุงกับป้า หรือของพ่อแม่ที่แท้จริง ที่ไม่ได้แจ้งในใบสูติบัตร เพราะอะไร

#1 โดย: เสาวลักษณ์ [IP: 183.89.29.xxx]
เมื่อ: 2019-01-08 19:15:11
เพิ่มเติมค่ะ
ตอนนั้นพ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วยค่ะ ถ้าแจ้งเกิดล่าช้าจะมีผลต่อการเข้าเรียน จึงให้ลุงกับป้าที่มีเอการครบไปแจ้งเกิดให้ค่ะ
#2 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.217.xxx]
เมื่อ: 2019-01-10 00:41:40
ความผิดพลาดของชีวิต

1.การแจ้งเกิดโดยแจ้งชื่อบิดา มารดา เป็นชื่อลุงกับป้า มีความผิดหรือไม่ สามารถเปลี่ยนเป็นชื่อพ่อแม่ที่แท้จริงได้ไหม

ตอบ...มีความผิดเพราะเป็นการแจ้งความเท็จ ตาม ปอ. ม.267 มีโทษจำคุก ไม่เกินสามปี ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ....

2.เอกสารที่นำไปเพื่อใช้สิทธิ์เบิกจ่ายตรง ต้องนำของลุงกับป้า หรือของพ่อแม่ที่แท้จริง ที่ไม่ได้แจ้งในใบสูติบัตร เพราะอะไร

ตอบ..ในทางนิตินัย คุณคือบุตรของลุงและป้า จึงใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ให้พ่อแม่ที่แท้จริงไม่ได้ ต้องเบิกค่ารักษาฯ ของลุงป้าเท่านั้น... และการจดทะเบียน เป็นบุตรบุญธรรม ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิในการเบิกเงินสวัสดิการของข้าราชการ เพราะพระราชกฏษฎีกาฯ ระบุไว้ชัดเจน ห้ามใช้สิทธิฯ ในกรณี เป็นบุตรบุญธรรม ผู้แนะนำ คงแนะนำตาม ปพพ. ม.1598/28 ที่ระบุว่า บุตรบุญธรรม มีฐานะเดียวกับบุตรฯ แต่มี พรฎ.การเบิกเงินสวัสดิการฯ ห้ามใช้สิทธิฯ ในกรณีเป็นบุตรบุญธรรม ดังกล่าวมาแล้ว....ถ้าต้องการใช้สิทธิฯ ให้แก่พ่อแม่ที่แท้จริง คงต้องมีการแก้ไขเอกสาร ครั้งใหญ่ เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ คงไม่กล้าเสี่ยงทำให้ แม้ร้องศาล ก็ยังไม่แน่ว่าศาล จะรับไว้พิจารณาหรือไม่ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับไว้ชัดเจนว่า ให้แก้ไข ในกรณีนี้ได้ จึงถือเป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของชีวิต....การแจ้งเกิดล่าช้า ก็มีความผิด แต่เป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อการเข้าเรียน แต่การไปแจ้งความเท็จ เป็นเรื่องใหญ่ จึงเป็นปัญหา ตราบเท่าทุกวันนี้...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,752