เล่นดนตรีสดในร้านอาหารและเครื่องดื่มผิดลิขสิทธิ์หรือไม่

โดย: ชายกลาง [IP: 182.232.12.xxx]
เมื่อ: 2019-03-16 11:26:43
ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีการเล่นดนตรีสดในร้านโดยที่ไม่ได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ผิดกฎหมายหรือไม่ แล้วถ้าผิดต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.220.xxx]
เมื่อ: 2019-03-17 07:49:45
ลิขสิทธิ์
การเล่นดนตรี ในร้านอาหาร ถ้าร้องเพลงที่มีลิขสิทธิ์ (ก็คงมีลิขสิทธิ์ทุกเพลง) ย่อมมีความผิดตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ ฯ ม.27 (2)คือเผยแพร่ต่อสาธารณชน และมีโทษตาม ม.69 ถ้าทำเพื่อการค้า จะมีโทษหนักขึ้น ตาม ม.69 วรรคสอง...ทางแก้ไข ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากค่ายเพลงนั้นๆ การอนุญาตคงต้องจ่ายเงิน ตามเกณฑ์ของเขา ถ้าไม่ได้รับอนุญาตฯ ก็มีความเสี่ยงสูง แต่มีตัวย่างที่คนฮึดสู้ และศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธฺ์ แต่การว่ากันถึงสามศาล ก็คงต้องผ่านอะไรๆมากมาย บางทีก็ไม่น่าจะเสี่ยง...กฎหมายที่ใช้อ้างอิง...

พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537


มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำพิพากษาที่ 10579/2551
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ โจทก์
นางอัญชลี บุญอุทิศ จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำ...อย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น “เพื่อหากำไร” เท่านั้น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องปรากฏแต่เพียงว่า จำเลยเปิดแผ่นเอ็มพีสามและซีดีเพลงให้ลูกค้าในร้านอาหารได้ร้องและฟังเพลงของผู้เสียหาย 1 แผ่น “เพื่อประโยชน์ในทางการค้า” ขายอาหารและเครื่องดื่มของจำเลยแต่ไม่ปรากฏในคำฟ้องว่าจำเลยกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ร้องและฟังเพลงโดยเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าวหรือเรียกเก็บรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.จั้ดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185
_______________________________
#2 โดย: ชายกลาง [IP: 14.207.141.xxx]
เมื่อ: 2019-03-17 11:10:07
ในส่วนของการขออนุญาตต้องดำเนินการจากส่วนไหนก่อนครับ หรือต้องติดต่อทางค่ายก่อนหรือไม่ครับ
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.210.xxx]
เมื่อ: 2019-03-18 06:34:31
การขออนุญาต
คงต้องติดต่อค่ายเพลง หรือตัวแทน ที่ได้รับมอบอำนาจ โดยตรง ระวัง อาจถูกหลอก เพราะมักมีมิจฉาชีพ แฝงตัวเดินสาย ตระเวณทั่วไทย ทั้งอ้างว่า สามารถออกใบอนุญาต และอ้างว่าเป็นตัวแทนของของลิขสิทธิ์ เพื่อเรียกรับเงิน หลายๆหมื่น ถ้าจะถามว่า ใครตัวจริงตัวปลอม คงไม่สามารถตอบได้ ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบเอาเอง เช่น ถ้า มีการออกใบอนุญาต ก็ควร พาตัวแทนไปโรงพัก เพื่อทำบันทึกเรื่องการออกใบอนุญาตฯ มีรายละเอียด ชื่อที่อยู่ตัวแทนฯ สำเนาบัตรฯตัวแทน แนบท้ายใบอนุญาต เป็นต้น ก็คงพอป้องกันปัญหาได้พอสมควร แต่เท่าที่ทราบค่าใบอนุญาตค่อนข้างแพง อาจไม่คุ้มกับการทำมาหากิน ในสังคมเล็กๆ..ปลาใหญ่กินปลาเล็ก คือสัจจะธรรม ที่ยากจะหลีกลี้หนีไปได้...
#4 โดย: ชายกลาง [IP: 182.232.31.xxx]
เมื่อ: 2019-03-18 11:15:19
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นะครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,768