การขออนุณาติใช้เสียง สำหรับรถโฆษณา

โดย: สกุลมุก [IP: 49.49.239.xxx]
เมื่อ: 2019-07-24 15:14:50
1. การขออนุญาติใช้รถขยายเสียง เท่าที่อ่านมา สามารถขออนุญาติได้คราวละ ไม่เกิน 15 วัน แล้วถ้าจะขอแบบถาวร มีไหมคะ ?



2.แล้วงี้รถข้าวแกงที่มีการใช้เครื่องขยายเสียง หรือรถไอติมวอลล์ ที่มีความดังไม่มาก ต้องขออนุญาติใช้เสียงด้วยไหมคะ ?



3.แล้วถ้ากิจการมีรถประมาณ 10 คัน ที่ต้องการจะใช้เสียง ต้องขอคันละฉบับ หรือกิจการนึงต่อหนึ่งฉบับคะ ?



ตอบหน่อยนะคะ / ขอบคุณค่ะ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.4.xxx]
เมื่อ: 2019-07-25 18:19:57
การโฆษณา....

พระราชบัญญัติ

ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

พ.ศ. ๒๔๙๓





ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓

เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน



โดยที่เป็นการสมควรควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและเหมาะสม และให้ใช้ภาษาไทยในการโฆษณา



พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้



มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓”



มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ส่วนที่จะใช้ที่อื่นเมื่อใดให้ประกาศโดยพระราชกฤษฎีกา



มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ คำว่า “โฆษณา” หมายความว่าการบอกกล่าว แจ้งความ ชี้แจง แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็น แก่ประชาชน



มาตรา ๔ ผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า จะต้องขอรับอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงทำการโฆษณาได้

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับอนุญาต และให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขลงในใบอนุญาตว่าด้วยเวลา สถานที่ และเครื่องอุปกรณ์ขยายเสียงและผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดนั้น



มาตรา ๕ ใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกให้แก่ผู้ทำการโฆษณาตามความในพระราชบัญญัตินี้ ให้คุ้มครองถึงผู้ใช้เสียงและผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงในการโฆษณา และบุคคลเช่นว่านี้ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาตด้วย



มาตรา ๖ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจสั่งผู้ใช้เสียงหรือผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงให้ลดเสียงลงได้ เมื่อปรากฏว่าเสียงที่โฆษณานั้นก่อความรำคาญแก่ประชาชน

ถ้าการโฆษณากระทำผิดเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานที่สั่งตามความในวรรคก่อน ให้เจ้าพนักงานดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้หยุดโฆษณาได้



มาตรา ๗ การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องโฆษณาเป็นภาษาไทย

คำว่า “ภาษาไทย” นั้น ให้หมายความรวมถึงภาษาพื้นเมืองบางแห่งในประเทศไทยด้วย



มาตรา ๘ พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณา

๑. คำสอนในทางศาสนา

๒. ของหน่วยราชการของรัฐ

๓. หาเสียงเพื่อประโยชน์แก่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาเป็นภาษาไทย

๔. กิจการของสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทน สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาด้วยตนเองเป็นภาษาไทย

๕. กิจการเกี่ยวกับการมหรสพ เฉพาะในโรงมหรสพ และในระหว่างเวลาที่แสดงมหรสพ

๖. กิจการของนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอันเป็นสาธารณะกุศล ซึ่งนิติบุคคลนั้นโฆษณาเป็นภาษาไทย



มาตรา ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔ มาตรา ๕ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานที่สั่งตามความในมาตรา ๖ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองร้อยบาท และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ด้วย

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียด้วย



มาตรา ๑๐ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง

๑. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการอนุญาตซึ่งต้องไม่เกินฉบับละ ๑๐๐ บาท

๒. กำหนดกิจการอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้





ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

นายกรัฐมนตรี

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,027