[ลิขสิทธิ์] เพลงสากลที่ใช้แสดง ท่าเต้นที่ออกแบบเอง กับสถานบันเทิง

โดย: คุณเน [IP: 1.47.195.xxx]
เมื่อ: 2020-01-13 06:16:51
ถ้าเราถูกว่าจ้างด้วย สถานบันเทิงแห่งนึง ผู้จัดการหรือสถานบันเทิงเป็นผู้จ่ายตังให้เรา แต่เราไปนำเพลงสากลสักเพลงนึกมา แล้วนำมาออกแบบท่าเต้นเพื่อแสดงให้คนที่มาเที่ยวได้ชม แต่การที่ผู้ชมจะได้ชมไม่มีการเก็บบัตรค่าเข้า *จ่ายค่าสุราและเครื่องดื่มประกอบตามวิธีการขายของร้านแบบเป็นปกติ* มีข้าสงสัยว่า

เพลง*สากล* คนอื่น เราออกแบบท่าเต้นเอง นำมาแสดงในสถานบันเทิง เพื่อหาเงินเป็นอาชีพตัวเอง (นักออกแบบท่าเต้นและนักเต้น)แต่เราได้เงินตอบแทนจากเจ้าของร้านจะ โดนลิขสิทธิ์ไหม เรื่องอะไร และใครเป็นคนผิด เจ้าของร้านหรือผู้เลือกเพลงและออกแบบท่าเต้น *ถ้าผู้แสดงขอให้ดีเจในร้านเปิดบวกเข้าไปด้วยว่าใครโดนบ้าง

#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.9.xxx]
เมื่อ: 2020-01-13 10:27:09
ลิขสิทธิ์
ตามข้อเท็จจริง อาจจะ เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ที่ต้องรับผิด คือผู้รับจ้าง และ ผู้จ้าง ในฐานะผู้ร่วมกระทำความผิด คงต้องรับผิดในฐานะตัวการ...

กฎหมายที่ใช้อ้างอิง....พรบ.ลิขสิทธิ์ฯ...

มาตรา ๖ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์
มาตรา ๑๕ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๔ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(๓) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง

(๔) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

(๕) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (๑) (๒) หรือ (๓) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (๕) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง


มาตรา ๒๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๕ (๕) ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
มาตรา ๖๙ ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา ๒๗ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๕๒ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


.....มีกรณีตัวอย่าง ข้อเท็จจริงใกล้เคียงกัน เมื่อถูกฟ้อง จำเลยได้ต่อสู้คดี ศาลยกฟ้อง จำเลยพ้นผิด(ยังค้นหาฎีกาไม่พบ จึงไม่ได้นำมาลงไว้)....แต่ต้องว่ากันถึงชั้นฎีกา บางที อาจจะเป็นชัยชนะ บนความสูญเสีย น่าจะไม่คุ้ม ถ้าหลีกเลี่ยงได้ดีที่สุด...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,910