มัดจำ

โดย: นุ๊ก [IP: 182.53.222.xxx]
เมื่อ: 2020-04-23 20:46:42
คำมั่นจะซื้อจะขายอสังหาฯหรือสังหาฯพิเศษ ตาม456 ว.สอง กำหนดให้การวางมัดจำเป็นหลักฐานในการฟ้องฟ้องบังคับคดี มัดจำดังกล่าวจะเป็นมัดจำตามนัยมาตรา 377 และใช้หลักเกณฑ์ในเรื่องมัดจำได้หรือไม่คะ เพราะคำมั่นมิใช่สัญญา
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.44.xxx]
เมื่อ: 2020-04-24 07:09:04
สัญญาจะซื้อจะขาย

เมื่อวางมัดจำ ย่อมเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำขึ้นแล้ว ( ปพพ. ม.377)...เมื่อทำครบถ้วนตาม ปพพ. ม.456 วรรคสอง เช่นวางประจำ(มัดจำ) ถือว่ามีการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายย่อมเกิดขึ้น และใช้บังคับได้ ก็ไม่ทราบเจตนาของผู้ถามว่า ต้องการทราบในประเด็นใด ก็ตอบไปตามหลักการของกฎหมายเท่านั้น...ลองอ่านฎีกาที่เกี่ยวข้องดู..

ฎีกา 2154/2552

สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อความว่า เนื่องจากที่ดินพิพาทติดจำนองกับธนาคาร ถ้าโจทก์ไถ่ถอนจำนองเมื่อไรจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยทันที สัญญาซื้อขายฉบับนี้จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ...หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ เมื่อสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายนี้ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อความว่าโจทก์รับราคาดังกล่าวไปจากจำเลยเสร็จแล้วตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2541 การรับฟังพยานหลักฐานของศาลจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า ความจริงแล้วโจทก์ได้รับเงินค่าที่ดินเพียง 90,000 บาท เงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือให้จำเลยไปชำระต่อธนาคาร พ. เพื่อชำระหนี้ที่โจทก์จำนองที่ดินดังกล่าวไว้แก่ธนาคารไม่ได้ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้น
#2 โดย: นุ๊ก [IP: 118.172.202.xxx]
เมื่อ: 2020-04-24 18:49:13
แล้วในกรณีที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยต้องทำเป็นหนังสือ มีการวางมัดจำไว้แล้ว และกำหนดเบี้ยปรับหากไม่มาทำ พอมาถึงวันทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ กลับไม่มาตามนัด จะริบเงินมัดจำและเรียกเบี้ยปรับได้ไหมคะ เพราะดิฉันไม่ทราบว่าสัญญาเกิดขึ้นรึยัง
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 1.1.222.xxx]
เมื่อ: 2020-04-25 07:27:08
การผิดสัญญา

ตามข้อเท็จจริง สัญญาจะซื้อขายได้เกิดขึ้นแล้ว และมีผลบังคับได้ ตาม ปพพ. ม.456 วรรคสอง ส่วนเรื่องเงินมัดจำ เมื่อมีการผิดนัดก็ริบได้ ตาม ปพพ.ม.379...แต่ในทางปฏิบัติ ควรใช้การเจรจากันก่อนว่า เหตุที่ผิดนัดมีเหตุจำเป็นมากน้อยเพียงใด หรืออาจจะเป็นเหตุสุดวิสัย ถ้าเงินมัดจำมีจำนวนที่สูงมาก อาจจะ..มีการฟ้องร้อง คงต้องมีการพิสูจน์กันยืดยาว และสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน คงขาดสะบั้น...ในข้อกฎหมายผู้รับเงินมัดจำไว้ ย่อมได้เปรียบ เมื่อผิดนัดก็ริบได้ แต่ในโลกของความเป็นจริง อาจจะไม่ได้เปรียบเสมอไป การมีข้อพิพาทต่อกัน เสมือนการรบในสมรภูมิ ย่อมบาดเจ็บล้มตายกันทั้งสองฝ่าย การเจรจาหาทางออกที่เหมาะสม จะมีความสุขกันถ้วนหน้า ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,804