การยึดทรัพย์

โดย: คุณสมศักดิ์ [IP: 27.55.79.xxx]
เมื่อ: 2020-07-25 15:35:31
ผมและภรรยาจดทะเบียนสมรสถูกต้องและได้แยกกันอยู่คนละจังหวัดมานานสิบปีแล้วต่างคนต่างทำมาหากินแต่ไม่ได้จดทะเบียนหย่า ต่อมาผมเป็นหนี้บัตรเครดิตในขณะที่แยกกันอยู่โดยที่ภรรยาไม่รู้และผมก็ไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูบุตรกับภรรยาหลังจากแยกกันอยู่แต่อย่างใด อยากเรียนถามว่า

1.ทรัพย์สินที่เป็นชื่อของภรรยาเจ้าหนี้จะยึดได้หรือไม่ครับ

2.ถ้าเจ้าหนี้ยึดแล้วภรรยาผมต้องทำอย่างไรครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.220.xxx]
เมื่อ: 2020-07-26 09:39:50
การบังคับคดี

1.ทรัพย์สินที่เป็นชื่อของภรรยาเจ้าหนี้จะยึดได้หรือไม่ครับ

ตอบ...ถ้าเป็นสินสมรส(ได้มาในระหว่างสมรส) เจ้าหนี้ก็ยึดได้ ตาม ป.วิแพ่ง ม.297(1)

2.ถ้าเจ้าหนี้ยึดแล้วภรรยาผมต้องทำอย่างไรครับ

ตอบ...ภรรยาคงร้องขอกันส่วนไม่ได้ ตามแนวคำพิพาษาศาลฎีกา ที่ 6686/2552 แต่.. ก็อาจจะยื่นข้อต่อสู้ว่า แยกกันอยู่มานาน หนี้ของสามี ไม่ได้นำมาใช้จ่ายในครอบครัวฯ อาจจะรอด...ทางออกที่ดีที่สุด เมื่อถูกฟ้อง คุณควรไปเจรจาไกล่เกลี่ยขอผ่อนชำระใช้หนี้ เพื่อไม่ให้ถูกบังคับคดี แม้มีการบังคับคดีแล้ว ก็ยังมีช่องทางไปเจรจาขอผ่อนใช้หนี้ได้

ฎีกา 6686/2552
ผู้ร้องเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ส. การที่ ส. กู้ยืมเงินโจทก์เป็นจำนวนมาก น่าเชื่อว่านำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวและให้การศึกษาบุตร ทั้งยังต้องใช้เงินรักษาตัวเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ส. นำโฉนดที่ดินไปวางเป็นประกันเงินกู้ให้แก่โจทก์ ผู้ร้องน่าจะทราบดีเพราะผู้ร้องยืนยันว่า ส. ไม่เคยหยิบโฉนดที่ดินโดยไม่บอกกล่าวผู้ร้องก่อน ทั้งผู้ร้องยังเบิกความยอมรับว่า ภายหลังได้รับหนังสือทวงถามหนี้ ผู้ร้องเคยไปพบโจทก์รวม 2 ครั้ง คดีรับฟังได้ว่า ผู้ร้องรู้เห็นในการที่ ส. กู้ยืมเงินจากโจทก์หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับ ส. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) ผู้ร้องจะต้องร่วมรับผิดกับ ส. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสได้ทั้งหมด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้กับส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 124,727