กรณีเหตุเกิดหลายท้องที่

โดย: นิรนาม [IP: 49.228.138.xxx]
เมื่อ: 2020-11-14 17:41:34
ในเวลากลางคืนวันหนึ่งนายหนุ่มลักจักรยานยนต์ของนายน้อยผู้เสียหายไปจากอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และต่อมานายหนุ่มได้ขายรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายให้แก่นายใหญ่ที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายน้อยร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายใหญ่ได้พร้อมรถจักรยานยนต์ของกลางที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เจ้าพนักงานตำรวจจึงส่งตัวนายใหญ่ให้แก่พนักงานสอบสวนสถานีภูธรเมือง จังหวัดขอนแก่น ดำเนินคดี และต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมนายหนุ่มได้ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมือง จังหวัดขอนแก่น เสนอความเห็นควรสั่งฟ้องนายหนุ่มและนายใหญ่ต่อพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น พนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นฟ้องนายหนุ่มและนายใหญ่ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น นายหนุ่มและนายใหญ่ ให้การต่อสู้ว่า พนักงานสอบสวนสถานีภูธรเมือง จังหวัดขอนแก่น ไม่มีอำนาจสอบสวน ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย อัยการโจทก์ไม่อำนาจฟ้อง ให้วินิจฉัยข้อต่อสู้ของนายหนุ่มและนายใหญ่ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

#1 โดย: มโนธรรม [IP: 101.51.39.xxx]
เมื่อ: 2020-11-15 13:09:06
เหตุเกิดหลายท้องที่ (คงเป็นแบบทดสอบ)

ข้อต่อสู้ของ นายหน่มและนายใหญ่ฟังไม่ขึ้น ตาม ป.วิอาญา ม.19...

มาตรา ๑๙ ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่

(๒) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง

(๓) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป

(๔) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน

(๕) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง

(๖) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง

พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้

ในกรณีข้างต้นพนักงานสอบสวนต่อไปนี้ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวน

(ก) ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้ว คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับได้อยู่ในเขตอำนาจ

(ข) ถ้าจับผู้ต้องหายังไม่ได้ คือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่พบการกระทำผิดก่อนอยู่ในเขตอำนาจ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,028