กรณีซื้อขายที่ดินโดยไม่มีการจดทะเบียน

โดย: ชาย [IP: 124.120.204.xxx]
เมื่อ: 2021-02-21 05:06:47
นาย A ต้องการขายที่ดินให้กับนาย B แต่ไม่อยากจดทะเบียน เพราะไม่อยากเสียค่าทำเนียม B จึงซื้อไปแสนนึง หลังจากนั้น A จึงย้ายออก แต่ชื่อใน นส.3 ยังเป็นคนขายเดิม



จากนั้นมีนักธุรกิจมาขอซื้อที่ดิน นาย B บอกไม่ขาย หวังอยากให้ที่ดินกับลูกหลาน แต่พอไปดูเอกสารสิทธิ์ในที่ดินแล้วเห็นว่ายังเป็นชื่อของนาย A ทำให้การขายที่ดินครั้งนั้นตกเป็นโมฆะ นักธุรกิจจึงไปเจรจากับนาย A บอกว่า A สามารถคืนเงินแสนพร้อมดอกให้ B แล้วหันมาขายกับนักธุรกิจแทน



คำถามคือนาย B ควรทำอย่างไร หรือ ควรยกกฎหมายใดที่จะไม่ให้ถูกแย่งที่ดินไปได้บ้าง
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.247.xxx]
เมื่อ: 2021-02-22 01:19:57
การซื้อขายที่ดิน

ถ้าไม่มีการจดทะเบียนโอน ณ สนง.ที่ดิน การซื้อขายย่อมเป็นโมฆะ แต่การที่เจ้าของที่ดิน มอบที่ดินให้ผู้ซื้อเข้าครอบครอง ผู้ซื้อย่อมได้รับสิทธิครอบครอง ตาม ปพพ. 1378 เพราะที่ดินมีเอกสารเป็น นส.3 เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง เมื่อมอบการครอบครองให้ผู้ซือ ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองดีกว่าเจ้าของที่ดิน ตาม ปพพ. ม.1367 ถ้าเจ้าของที่ดินเดิม จะขายที่ดินให้นักธุรกิจ ก็สามารถยกประเด็นนี้(สิทธิครอบครอง)ขึ้นต่อสู้ได้ แต่คงต้องว่ากันหลายยก คงต้องมีทนายความช่วยเหลือ เหตุเพราะทำการซื้อขายไม่ถูกต้องมาแต่ต้น คงต้องแก้ปัญหากันวุ่นวายพอสมควร...เบื้องต้นต้องแสดงการครอบครองที่ดินแปลงนี้ให้ชัดเจน เช่น ทำรั้ว หรือทำประโยชน์อื่นๆ เช่นปลูกต้นไม้ หรือถ้าสามารถเข้าไปอาศัยในที่ดินแปลงนี้เลยยิ่งมีประโยชน์ เพราะจะเป็นข้อต่อสู้ได้ว่า ผู้ซื้อมีสิทธิครอบครองที่ดีกว่า ด้วยความปรารถนาดี ครับ

แนวคำไพิพากษาศาลฃฎีกา...เทียบเคียง

ฏีกาที่ 14737/2551

โจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด จำเลยที่ 1 จึงสามารถนำสืบข้อเท็จจริงหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาททางทะเบียนเท่านั้น หาได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตามความเป็นจริงไม่ แม้ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) จะมีชื่อ อ. เป็นผู้ถือสิทธิครอบครอง แต่การที่ อ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ล. และได้มอบการครอบครองให้แก่ ล. ถือเป็นการสละการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ ล. ตั้งแต่ปี 2530 แล้ว อ. จึงหมดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 และเมื่อ ล. ขายและมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 เข้าไปไถและถมดินในที่ดินพิพาทตั้งแต่ปี 2536 จึงเป็นการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยมีเจตนาที่จะยึดถือเพื่อตน จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ดังนั้น เมื่อ อ. หมดสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะขายฝากที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แม้การขายฝากระหว่างโจทก์ กับ อ. จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวแต่อย่างใด

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,739