รายงานการประชุม จะใช้อ้างอิงตามกฎหมายได้เมือไร.....?

โดย: บัณฑิต บุญกลั่น สมาฃิก สอ. กสท. เลขที่ 019571 [IP: 134.236.0.xxx]
เมื่อ: 2021-03-16 01:03:40
รายงานการประชุม (ในที่นี้จะกล่าวถึง การประชุมใหญ่สามัญของ สอ.กสท. ) จะใช้เป็นหลักฐานเอกสารอ้างอิงทางกฎหมายได้เมื่อไร….?

1. ปิดการประชุม โดยสมาชิกฯผู้ร่วมประชุม ( ผู้ร้องเรียน)ไป เชิญสมาชิกผู้ร่วมประชุมเป็นพยานเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาว่า…….ผู้ร่วมประชุม( ผู้ถูกร้องเรียน คือผู้แทนผู้สอบบัญชี ) มีความผิดข้อหา….. แจ้งเรื่องการใช้จ่ายเงินผิดพลาดเกือบสองล้านบาท ใช้เป็นการอ้างอิงตามกฎหมายได้ โดยยังไม่มีรับรองรายงานการประชุม

2. การประชุมครั้งต่อมา โดยผู้มีหน้าที่จดบันทึกการประชุมตาม (1,) ไปถอดเทปบันทึกการประชุมมาจัดทำเป็นเอกสารและนำมาแจกให้สมาชิกทราบเพื่อใช้ในการประกอบพิจารณารับรองรายงานการประชุมตาม (1.) ว่า เอกสารที่จัดทำให้สมาชิกฯ หรือผู้ร่วมประชุม พิจารณาว่าบันทึกการประชุมดังกล่าวถูกต้องหรือไม่…? ตรงไหนผิดให้ทำการแก้ไขในที่ประชุมให้ถูกต้องเมื่อทำการแก้ไขถูกต้องเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงมีการรับรองรางานการประชุม “ การประชุมจึงถือว่า เสร็จสมบูรณ์สามารถใช้เป็นหลักฐานเอกสารอ้างอิงตามกฎหมายได้ “



รายละเอียด

ตาม ( 1) ผู้ถูกร้องเรียนในที่นี้คือ ผู้แทนผู้สอบบัญชี ในระบบบัญชีจะผิดพลาดไม่ได้เลย ที่กระผมทราบมาแม้เพียงหนึ่งสตางค์ แต่ผู้แทนผู้สอบบัญชีดังกล่าวแจ้งเรื่องบัญชีผิดพลาดเกือบสองล้านบาท ( อ้างหนังสือสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ 2 ฯ ) ผมได้โต้แย้งไปแล้วในที่ประชุมใหญ่ตาม ( 1 ) และ ร้องเรียนไปที่สภาชีพวิชาบัญชี(หลังรับรองรายงานการประชุม ตาม 2. ) ได้รับการพิจารณาจากสภาชีพวิชาบัญชีว่า ผมร้องเรียนเรียนเกินเวลาหนึ่งปี ผมได้โต้แย้งว่าไม่ถึงเพราะ หลังจากผมโต้แย้งดังกล่าวว่าผู้แทนผู้สอบบัญชีชี้แจงการเงินมันผิดพลาด เวลาผ่านไปประมาณหนึ่งปีผู้แทนผู้สอบบัญชีต้องกลับไปพิจารณาใหม่ว่า การแจ้งงบการใช้จ่ายเงินผิดพลาดตามที่สมาชิก ( คือกระผม) โต้แย้งเป็นไปตามที่กระผมโต้แย้งหรือไม่…. ? เมื่อมีการประชุมปีถัดมา (ตาม 2. )มีวาระรับรองรายงานประชุมตาม ( 1 ) กลับเงียบ ไม่แก้ไขในส่วนที่กระผมโต้แย้ง จนให้มีการรับรองรายงานการประชุม นั่นแสดงว่า งบการใช้จ่ายเงินที่แจ้งตาม ( 1) ผู้แทนผู้สอบบัญชียืนยันตามเดิม จนให้มีการรับรองรายงานการประชุมตาม ( 2) คำถาม…? ซึ่งเรา จะต้องใช้ตาม (2) ตามการพิจารณาของกระผม เป็นหลักฐานเอกสารอ้างอิงตามกฎหมายได้ใช่หรือไม่…….? หรือใช้ตาม (1) ตามการพิจารณาของประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณสภาวิชาชีพบัญชีอ้างอิงตามกฎหมายได้….?

อนึ่ง……. ถึงแม่ว่า การพิจารณาของ ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ สภาชีพวิชาบัญชี จะถูกต้องตาม (1.) ก็ตาม แต่…… ผู้แทนผู้สอบบัญชี ก็ยังตรวจสอบบัญชีของ สอ.กสท. งบประมาณดังกล่าวผิดพลาดเกือบสองล้านบาท ลองนำงบประมาณนี้ (ตามหนังสือ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์ พื้นที่ 2 ฯ )ไปให้เด็กประถมที่บวกลบเลขหลักล้านได้ ดูซิว่าเด็กประถมดังกล่าวจะบวกลบเลขดังกล่าวแล้วเหลือเท่ากับ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ 2 ฯ หรือไม่ ……? ก็ไม่น่าเชื่อว่า ผู้ที่ได้รับใบปนะกอบวิฃาชีพบัญชี จะตรวจสอบบัญชีผิดพลาดมากขนาดนี้ …?

และนอกจากนี้ สมาชิก สอ.กสท. ท่านหนึ่งได้เคยแจ้งในที่ประชุมใหญ่ว่า งบประมาณนี้เคยได้เข้าไปขอดูจาก สอ.กสท. และได้แจ้งในที่ประชุมว่า งบดังกล่าวเหลือเท่า หนังสือของ สำนักงานส่งเสริมสหกรณ์พื้นที่ 2 ฯ วันที่สมาชิกท่านนี้แจ้ง ผู้แทนผู้สอบบัญชีท่านนี้ก็มิโต้แย้งนั่งเงียบแสดงว่า ยอมรับที่สมาชิกท่านนี้แจ้ง

จากคำถามที่ผ่านมาหลายคำถาม การทุจริตที่จะเกิดขึ้นใน สหกรณ์ ไม่ใช่ทำกันได้ง่ายๆเพราะต้องผ่านกระวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน แต่…..ถ้าการตรวจสอบทุกขั้นตอนช่วยกันปกปิดหรือให้ความร่วมมือกับสหกรณ์ มันก็จะทุจริตกันได้อย่างสบาย จริงไหมครับ….

ผมไม่ต้องการให้ สอ. กสท. ซึ่งเผมป็นสมาชิกและเป็นเจ้าของ เป็นอย่าง สหกรณ์ออมทรัพย์เครดิตร ยูเนี่ยน คลองจั่น ฯ และสหกรณ์ออมทรรพย์การรถไฟ ฯ (เงินก้อนสุดท้ายที่สะสมไว้ใช้ตอนชราภาพ)

ด้วยรัก หวงแหนและห่วงใย สอ.กสท.

นายบัณฑิต บุญกลั่น

สมาชิกเลขที่ 019571

มือถือ 088-2950932



#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.251.xxx]
เมื่อ: 2021-03-18 13:06:53
ข้อคิดเห็น

ดังที่เคยตอบแล้ว ปัญหาที่ถาม เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมาย....จะมีการทุจริตจริงหรือไม่ มีการทำผิดระเบียบขั้นตอนของกฎหมายหรือข้อบังคับหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องสอบสวนข้อเท็จจริง สอบพยานหลักฐาน ทั้งบุคคลและ พยานเอกสาร มากมาย จะให้ตอบลงลึก หรือฟันธงลงไปว่า ใครทำผิดหรือไม่คงไม่ได้....ได้เคยตอบมาแล้วว่า การตอบปัญหากฎหมาย ในที่นี้ เสมือนเป็นยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น คือ แก้ปวดหัว ตัวร้อน เล็กๆน้อยๆเท่านั้น ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ ถึงขั้นต้องผ่าตัด คงต้องให้แพทย์เฉพาะทางช่วยเหลือดูแล ดังกรณีที่ท่านถามมา เป็นเรื่องใหญ่พอสมควร ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงกันมากมาย คงไปสรุปอะไรไม่ได้ ขอแนะนำให้หาทนายความช่วยเหลือ ดูแลในเรื่องนี้ อย่างจริงจัง ด้วยความปรารถนาดี ครับ
#2 โดย: นายบัณฑิต บุญกลั่น สมาชิกเลขที่ 019571 [IP: 134.236.0.xxx]
เมื่อ: 2021-03-19 09:02:18
ขอบคุณครับ


บัณฑิต บุญกลั่น
#3 โดย: นายบัณฑิต บุญกลั่น สมาชิกเลขที่ 019571 [IP: 134.236.0.xxx]
เมื่อ: 2021-03-19 12:54:35
ผมมีเอกสารพร้อมชี้ชัเดจนว่า เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมสหกรณ์และเจ้าหน้าที่กรมตรวจบัญชีสหกรณ์มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา157 ขัดเจน เอกสารดีกว่าบุคคล เอกสารพลิกแพลงไม่ได้บุุคคลพลิกแพลงได้ พวกเขาเห็นชัดเจยว่า สอ.กสท. ทำผิด พรบ.สหกรณ์มาตรา 65 ส่อว่ามีการทุจริต แต่นิ่งเฉย ทำเป็นทองไม่รู็ร้อน จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,841