โกงดจ้าหนี้

โดย: อิสระ [IP: 182.232.183.xxx]
เมื่อ: 2021-04-17 08:42:55
ถ้าผมโดนให้ออกจากงานกรณีเพิกถอนคำสั่งจากที่เจ้านายผมช่วยให้

ประเมินผิดต่อตำแหน่งงาน. ก่อนผมจะโดนไล่ออกจากงานผมมีเงินอยู่ล้านกว่าบาทผมจะโอนเงินให้

พี่ชายผมได้หรือไม่จะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้หรือฟอกเงินหรือมี

ความผิดตามกฏหมายอื่นไหมครับหรือบ้านที่ผมมีอยู่จะโอนให้พี่ชายจะ

มีความผิดกฏหมายใดหรือไม่ครับ

#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.216.xxx]
เมื่อ: 2021-04-18 01:37:05
การโกงเจ้าหนี้

การจะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ตาม ปอ. ม.350 ต้องมีองค์ประกอบของความผิดตามมาตรานี้ครบถ้วน .....สรุปหลักการย่อๆคือ เมื่อ เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาล ถ้าโอนทรัพย์สินไป ในช่วงเวลานี้ อาจจะมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่เป็นคดีที่สามารถยอมความกันได้ ถ้าถูกฟ้องร้อง ก็ยังพอมีช่องทางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติคดีได้...ดังนั้นก็ไม่น่าจะต้องไปกังวลอะไรมากมายเกินควร

แนวคำพิพากษาเทียบเคียง...

ฎีกาที่ 6761/2544
การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ภรรยาของโจทก์ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่ดินได้ร่วมกันขายที่ดินอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้กับผู้อื่นภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ขอหย่าแบ่งสินสมรส และฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง ขอให้โอนที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้มีนิติกรรมผูกพันที่จะต้องขายมาก่อน มิใช่เป็นการขายไปในลักษณะปกติแม้คดีแพ่งจะยังมีข้อโต้เถียงกรรมสิทธิ์ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจจะฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว เข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

ฎีกาที่ 8774/2550
ป.อ. มาตรา 350 บัญญัติว่า "ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่นได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใดก็ดี แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำนวนใดอันไม่เป็นความจริงก็ดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า เจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ มิได้หมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น หากแต่ยังมีความหมายรวมถึงเจ้าหนี้อื่นซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิฟ้องให้ชำระหนี้ด้วย นอกจากนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้..." แสดงว่าสภาพความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกิดขึ้นทันทีที่จำเลยเป็นชู้กับภริยาโจทก์ ส่วนคำพิพากษาของศาลที่บังคับให้มีการชดใช้ค่าทดแทนกันมิได้ก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย แต่เป็นการบังคับความรับผิดแห่งหนี้ที่โจทก์กับจำเลยมีต่อกัน กรณีถือได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจฟ้องจำเลยแล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350

ฎีกาที่ 256/2517


เดิมโจทก์ฟ้องส. ภรรยาโจทก์กับ ก. ม.และ ฮ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ส. ซึ่ง ส.ทำนิติกรรมขายให้ ก. ม. และ ฮ. ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ก. ม. และ ฮ. เอาที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 1 โจทก์จึงขอให้ศาลเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ส. กับ ก. ม. และ ฮ. กับให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายระหว่าง ก. ม. ฮ. กับจำเลยที่ 1 ก. กับพวกและจำเลยที่ 1 ฎีกา เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทไปทำสัญญาขายฝากไว้กับจำเลยที่ 2 มีกำหนดเวลาไถ่คืนเพียง 3 เดือน แล้วไม่ไถ่คืนภายในกำหนด ดังนี้ ย่อมเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่พิพาทให้ จำเลยที่ 2 เพื่อไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนซึ่งได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้แล้วได้รับชำระหนี้ทั้งหมด การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 จำเลยจะอ้างว่าที่ขายฝากเพราะจำเลยที่ 1 เชื่อว่าศาลฎีกาจะต้องพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชนะคดีหาได้ไม่

ฎีกา 271/2522

ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น ไม่จำต้องกระทำต่อเจ้าหนี้ของตนเท่านั้น แม้กระทำต่อเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นก็มีความผิดฐานนี้ได้ และการที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินที่ได้รับโอนจากบิดามารดาของตนซึ่งโจทก์จะขอเพิกถอนการโอนเพื่อบังคับชำระหนี้ต่อไปให้กับจำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นลูกหนี้โจทก์ก็อยู่ในความหมายแห่งความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ด้วย แม้ว่าการโอนที่ดินดังกล่าวไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้หมดไปก็ตามก็เป็นความผิดฐานนี้ได้หากฟังได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้ชำระหนี้ กล่าวคือ กฎหมายมุ่งถึงเจตนาของจำเลยที่จะโกงเจ้าหนี้ โดยไม่คำนึงว่าสิทธิการบังคับชำระหนี้ของโจทก์ที่มีต่อลูกหนี้ ของตนจะยังมีอยู่หรือไม่

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,926