ทรัพย์สินและที่ดิน

โดย: จุรีพร [IP: 118.172.242.xxx]
เมื่อ: 2021-08-03 09:38:53
ในกรณีที่ ก. ได้ไปปลูกต้นไม้(ไม่ยืนต้น) ในที่ดินของผู้อื่น แล้วมันครบ 3 ปีแล้ว อาจจะมากกว่านั้นด้วยซ้ำ แล้ว ก. เกิดถูกไล่ให้ออกมาจากตรงนั้น ก. อยากทราบว่า ต้นไม้นั้น จะเป็นของใคร แล้วถ้า ก.จะตัดต้นไม้ออกได้มั้ยคะ?
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.216.xxx]
เมื่อ: 2021-08-03 10:01:15
ส่วนควบ

การปลูกต้นไม้ยืนต้น บนที่ดินของผูัอื่น ต้นไม้ย่อมเป็นส่วนควบของพื้นดิน คือเจ้าของที่ดิน ย่อมเป็นเจ้าของต้นไม้ด้วย ตาม ปพพ. ม.144 ถ้าผู้ปลูกไปตัดต้นไม้ อาจจะถูกดำเนินคดีข้อหาทำให้เสียทรัพย หรือ ลักทรัพย์ได้.....เว้นแต้ ก่อนปลูกจะมีสัญญากับเจ้าของที่ดินไว้ชัดเจนว่า เมื่อปลูกต้นไม้แล้ว ต้นไม้ไม่เป็นส่วนควบของพื้นดิน เมื่อย้ายออกจากที่ดิน สามารถตัดต้นไม้ได้ หรือมีสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกต้นไม้ ยืนต้น ถ้าไม่มีเงื่อนไขเหล่านี้ ผู้ปลูกต้นไม้ ไม่สามารถตัดต้นไม้ได้....
#2 โดย: จุรีพร [IP: 118.172.242.xxx]
เมื่อ: 2021-08-03 10:18:24
ถ้าสมมเป็นต้นสักอายุ 2 ละคะ? โดยที่เจ้าของที่ดินอนุญาตให้ปลูกตั้งแต่แรกแล้ว อยู่มาวันนึงมีปัญหากัน ก. โดนขับไล่ออกจากที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินจะยึดต้นสักอายุ 2 ปี ไว้เป็นของตน กรณีอย่างนี้ เจ้าของที่ดินยึดต้นสักได้มั้ยคะ?
#3 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.222.xxx]
เมื่อ: 2021-08-07 08:44:08
ข้อเว้นเรื่องส่วนควบ
หลักกฎหมาย ไม้ยืนต้นเมื่อปลูกบที่ดิน ย่อมกลายเป็นส่วนควบของพื้นดิน เจ้าของที่ดินจึงเป้นเจ้าของต้นไม้นัั้น (ปพพ.ม.144) แต่ก็มีข้อเว้น ที่การปลูกไม้ยืนต้นไม่เป็นส่วนควบ ตาม ปพพ. ม.146 ผู้ปลูกต้นไม้ยืนต้น จึงตัดไปได้ หรือ ถ้าเจ้าของที่ดินไม่ให้ตัดต้นไม้ ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย ของราคาต้นไม้ ตามราคาที่เหมาะสม ตามแนวคำพิพาษาศาลฎีกา เทียบเคียงยกมา ข้างล่าง..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2552 ในการสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รวมทั้งถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัยของโจทก์นั้น ได้รับความยินยอมและอยู่ในความรู้เห็นของเจ้าของที่ดิน จึงถือได้ว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงกันดินบริเวณหน้าบ้านพักอาศัย เข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ที่จะไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน การที่จำเลยยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างว่าถนนลูกรังและเขื่อนหินเรียงเป็นส่วนควบของที่ดิน เพื่อปฏิเสธไม่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ ทั้งๆ ที่โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง แต่กลับไม่อาจใช้ประโยชน์ได้ต่อไปเนื่องจากต้องรื้อถอนบ้านพักขนย้ายครอบครัวออกไป เพราะถูกแนวเดินสายส่งไฟฟ้าของจำเลยพาดผ่านจึงไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 ที่มุ่งหมายจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต้องพิจารณาจ่ายค่าทดแทนให้แก่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกแนวเขตเดินสายส่งไฟฟ้าพาดผ่านอย่างเป็นธรรม



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7084/2550 บ้านที่โจทก์ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินพิพาทของ พ. กับ ศ. ซึ่งเป็นบิดามารดาโดยได้รับความยินยอมจาก พ. กับ ศ. จึงเป็นเรื่องบุตรได้สิทธิปลูกทำโรงเรือนในที่ดินของบิดามารดา จึงเป็นการปลูกสร้างโรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย ย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 บ้านทรงบังกะโลซึ่งโจทก์ต่อเติมขึ้นภายหลัง ย่อมไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทของจำเลยซึ่งได้รับโอนมาโดยพินัยกรรมของ ศ. เช่นกัน
#4 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.222.xxx]
เมื่อ: 2021-08-07 08:49:07
การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง

ถ้าใช้การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ ขอแนะนำให้ ไปที่ศาลที่เป็นภูมิลำเนา แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ขอให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง เจ้าหน้าที่จะเชิญคู่กรณีมาเจรจากัน โดยมีเจ้าหน้าที่ฯช่วยเหลือแนะนำ ภายใต้การดูแลของศาล ตามช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย น่าจะมีช่องทางเจรจาตกลงกันได้ การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใดๆ....ด้วยความปรารถนาดี ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,943