ทรัพย์สินและที่ดินค่ะ

โดย: จุรีพร [IP: 118.172.242.xxx]
เมื่อ: 2021-08-03 10:35:56
นางส้มได้อยู่กินกันฉันสามีภริยากับนายกล้วย โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต่อมาทั้งสองตัดสินใจสร้างบ้านแต่ไม่มีที่ดิน นายเขียวบิดาของนางส้มซึ่งมีที่ดินเปล่าอยู่หนึ่งแปลง จึงอนุญาตให้นายกล้วยสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยในที่ดินของตน โดยบ้านหลังดังกล่าวนายกล้วยเป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้างเพียงผู้เดียวมูลค่า 1 ล้านบาท และนายกล้วยเห็นว่ายังมีพื้นที่เปล่าเหลืออยู่อีก 3 ไร่ จึงทำการปลูกต้นสัก 1 ไร่ และทำนา 1 ไร่ โดยนายเขียวได้ให้ความยินยอม อีกสองปีต่อมา หลังจากนายกล้วยสร้างบ้านและทำการเกษตรดังกล่าวนั้น นายกล้วยได้ไปจดทะเบียนสมรสกับนางฟ้า เมื่อนายเขียวบิดาของนางส้มทราบข่าวจึงขับไล่นายกล้วยออกจากที่ดินของตนและได้ทำการยึดบ้าน ต้นสักอายุ 2 ปี และต้นข้าวในนาที่กำลังออกรวง โดยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินจึงเป็นเจ้าของบ้าน ต้นสัก และต้นข้าวด้วย แต่นายกล้วยไม่ยินยอมเพราะ ตนได้ลงทุนปลูกสร้างบ้าน จึงเห็นว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตน และแจ้งไปยังนายเขียวว่าหากจะให้ตนออกต้องชดใช้ราคาบ้านให้กับตน ทั้งยังอ้างว่าต้นสักและต้นข้าวนั้นเป็นของตน เนื่องจากตนได้รับอนุญาตจากนายเขียวให้ปลูกได้ ตนมีสิทธิ์ตัดต้นสักออกไปและเก็บเกี่ยวรวงข้าวได้

อยากทราบว่า ระหว่างนายกล้วย นายเขียว ใครมีสิทธิ์ในตัวบ้าน ต้นสัก และต้นข้าว ดีกว่ากัน เพราะเหตุใด
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.216.xxx]
เมื่อ: 2021-08-03 20:22:30
ทรัพย์สิน
การปลูกบ้าน ในที่ดินของผูัอื่น โดยเจ้าของอนุญาต บ้านไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ปลูกต้องรื้อบ้านออกไป ตาม ปพพ. ม.146 และแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9526/2544

คำว่า "สุจริต" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 นั้น มีความหมายว่าผู้ปลูกสร้างได้ปลูกสร้างโรงเรือนลงในที่ดินโดยไม่ทราบว่าที่ดินเป็นของผู้ใดแต่เข้าใจว่าเป็นที่ดินของตนเองและเชื่อว่าตนมีสิทธิปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้นโดยชอบ เมื่อจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. โดยทราบอยู่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ส. และได้ขออนุญาต ส. ปลูกบ้าน จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยได้ปลูกบ้านในที่ดินพิพาทโดยสุจริต แม้จำเลยจะต่อเติมบ้านในภายหลังอีกโดย ส. และโจทก์ไม่ห้ามปรามขัดขวางก็จะบังคับให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาของ ส. รับเอาบ้านแล้วใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ส. นั้น มิได้ทำให้โรงเรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. และโจทก์แต่อย่างใดตามมาตรา 146

ส่วนการปลูกต้นสัก และการทำนา ถ้าเจ้าของที่ดินอนุญาต ต้นสัก และข้าว ย่อมไม่เป็นส่วนควบของพื้นดิน กล้วยจึงตัดต้นสัก และเกี่ยวข้าวไปได้ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1380/2532

ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ ถ้า ไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติด กับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 จำเลยตกลง ให้ผู้ร้องปลูกต้นสน ลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโต เต็มที่จะตัด ขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสน ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินแต่ เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้ (วรรคแรก วินิจฉัยโดย มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,788