คำว่า "หญิง" ใน ป.พ.พ. มาตรา 1437 หมายถึง "ฝ่ายหญิง" หรือไม่

โดย: สารวัตร [IP: 49.228.103.xxx]
เมื่อ: 2021-08-04 08:39:51
มาตรา 1437 วรรคแรก "การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น"



กฎหมายใช้คำว่า "หญิง" ไม่ใช่ "ฝ่ายหญิง" จึงสงสัยว่าต้องตีความเคร่งครัดว่าต้องส่งมอบให้หญิงเท่านั้น หากส่งมอบให้บิดามารดาของหญิงจะไม่เป็นการหมั้นที่สมบูรณ์ใช่หรือไม่ครับ
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.248.xxx]
เมื่อ: 2021-08-05 09:44:31
ของหมั้น

ถ้าตีความเคร่งครัดตามตัวบท ( ปพพ. ม.1437 วรรคแรก) ของหมั้นต้องมอบแก่หญิงเท่านั้น....แต่ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ก็ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันชัดเจนระเหว่างหญิง กับฝ่ายหญิง ดังนั้นถ้ามอบของหมั้นให้หญิง หรือ ฝ่ายหญิง(ผู้ปกครองของหญิง) การหมั้นก็ย่อมสมบูรณ์ แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าเกรงจะมีปัญหาในอนาคต ก็ควรมอบของหมั้นให้แก่หญิงเท่านั้น...

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง

ฎีกาที่ 1117/2535

โจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เพียงแต่ประกอบพิธีแต่งงานเพื่ออยู่กินกันตามประเพณีโดยไม่มีเจตนาจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมายเงินทั้งหลายที่ "ฝ่ายโจทก์มอบให้ฝ่ายหญิง" จึงไม่ใช่ของหมั้นและสินสอดตามกฎหมาย แม้จะมีการหมั้นกันตามประเพณีและมอบทรัพย์สินให้แก่กันในขณะจำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกคืนไม่
#2 โดย: สารวัตร [IP: 49.228.103.xxx]
เมื่อ: 2021-08-05 11:06:00
ขอบพระคุณมากครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,978