วิ.แพ่ง

โดย: สมศรี [IP: 118.172.241.xxx]
เมื่อ: 2021-08-23 14:48:31
นายแดงมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น นายดำมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอุดรธานี นายแดงซึ่งเป็นลูกจ้างของนายดำได้ขับรถยนต์ขนสินค้าของดำไปในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อไปชนกับรถของนายขาว นายขาวได้รับความเสียหายคิดเป็นเงิน 500,000 บาท และนายเขียวซึ่งนั่งมาในรถกับนายขาวได้รับบาดเจ็บต้องเสียค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 350,000 บาท โดยเหตุละเมิดเกิดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา นายขาวและนายเขียวจึงเป็นโจทก์ร่วมกันฟ้องนายแดงเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องนายดำเป็นจำเลยที่ 2 ต่อศาลจังหวัดขอนแก่น โดยขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวนดังกล่าว



จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์ทั้งสองต่างเรียกร้องค่าเสียหายเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน จึงไม่มีอำนาจฟ้องร่วมกันมาในคดีเดียวกัน ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้มีภูมิลำเนาที่จังหวัดขอนแก่น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลนี้ การที่ศาลจังหวัดขอนแก่นรับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณาจึงไม่ชอบ



ดังนี้ ให้วินิจฉัยว่า ข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.251.xxx]
เมื่อ: 2021-08-24 11:12:00
คงเป็นข้อสอบ...ก็ขอแสดงความเห็นตามสมควร

ข้อโต้แย้งของ จ. 1 และ จ.2 คงฟังไม่ขึ้น เพราะเป็นหนี้มูลละเมิดในเหตุเดียวกัน เป็นหนี้แบ่งแยกมืได้ จึงฟ้องรวมในคดีเดียวกันได้...จ.1 และ จ.2 เป็นนายจ้างและลูกจ้าง เป็นคดีมูลละเมิด ตาม ปพพ. ม.425 คือเหตุในทางการที่จ้าง เมื่อฟ้องที่ภูมิลำเนาของลูกจ้าง(ขอนแก่น)ตาม ป.วิแพ่ง ม.4(1)แล้ว แม้ จ.2 จะมีภูิลำเนาที่อุดร เมื่อเป็นหนี้ละเมิด ตาม ม.425 ที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง เป็นหนี้ที่แบ่งแยกมืได้ จึงฟ้องที่ขอนแก่นได้....แนวคำพิพากษาเทียบเคียง

ฎีกาที่ 501/2517

จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างขับรถของจำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้ขับรถบรรทุกน้ำมันไปส่งที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยใช้เส้นทางถนนพหลโยธินและถนนมิตรภาพไปถึงจังหวัดหนองคายแต่หลังจากส่งน้ำมันเสร็จ ขากลับจำเลยที่ 2 ขับรถมาถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้วก็แยกเข้าถนนสายนครราชสีมา-กบินทร์บุรีเพื่อจะกลับมายังบางนางเกรง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นที่จอดรถโดยไม่ใช้เส้นทางเดิมอันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งและระเบียบของจำเลยที่ 1แล้วเกิดเหตุชนกับรถยนต์อื่นที่อำเภอเมืองชลบุรี แม้จำเลยที่ 2 จะขับรถออกนอกเส้นทาง ก็ยังถือได้ว่าการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปนั้นอยู่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จะอ้างคำสั่งหรือระเบียบภายในขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1716-1717/2503)

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 122,982