การฉ้อฉล

โดย: อิสระ [IP: 182.232.57.xxx]
เมื่อ: 2022-01-14 21:09:11
ถ้าผมโอนเงินทางธนาคารให้แม่ก่อนที่ผมจะเป็นหนี้ผมจะถูกยึดเงิน

หลังจากเป็นหนี้หรือไม่ จะถูกโดนคดีฉ้อฉลและโดนยึดทรัพ์คืนหรือไม่ แล้วกรณีโอนบ้านให้พี่ชายก่อนเป็นหนี้จะถูกยึดทรัพย์ภายหลังเป็น

หนี้หรือไม่
#1 โดย: มโนธรรม [IP: 223.205.246.xxx]
เมื่อ: 2022-01-16 10:50:47
การเพิกถอนการฉ้อฉล

เจ้าหนี้จะให้เพิกถอนการโอนได้ ต้องเป็นการกระทำที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ (ปพพ. ม.237)...ซึ่งเจ้าหนี้เสียจะเปรียบอย่างไร หรือไม่ เจ้าหนี้ ต้องพิสูจน์ คือต้องตั้งเป็นรูปคดี เพื่อฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้มีการเพิกถอนการโอนนั้น ที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ซึ่งในทางปฏิบัติ คงทำได้ไม่ง่ายนัก....ถ้ามีข้อเท็จจริงว่า คุณโอนเงินให้แม่ก่อนที่คุณเป็นหนี้ ถือว่าไม่ได้ทำให้เจ้าหนี้เสียยเปรียบ ไม่น่าจะร้องให้เพิกถอนการโอนได้....และการโอนบ้านให้พี่ชาย ก่อนการเป็นหนี้ ก็ไม่ถือว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ก็เพิกถอนการโอนไม่ได้ เช่นกัน....

แนวคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง
พิพากษาศาลฎีกาที่ 3180/2540
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 237 238 ป.พ.พ. ม.237 ม.238

โจทก์มีเจตนาที่จะซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1ให้เสร็จเด็ดขาดไป เหตุที่ไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในวันนัดเกิดจากการบิดพลิ้วของจำเลยที่ 1ที่ไม่ไปตามกำหนดนัด ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งทราบดีว่าจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่เคยบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแก่โจทก์ และตั้งแต่จำเลยที่ 2 ซื้อที่ดินพิพาทมาจนกระทั่งขายให้จำเลยร่วมทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีโฉนดที่ดินพิพาทอยู่ในความครอบครองแทน ผิดปกติวิสัยผู้ที่ทำการซื้อขายที่ดินกันโดยทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่ามีการซื้อขายกันโดยสุจริตการที่จำเลยที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ผู้ได้ลาภงอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237หมายถึงผู้ที่เป็นคู่กรณีทำนิติกรรมกับลูกหนี้โดยตรงส่วนบุคคลภายนอกในมาตรา 238 เป็นผู้ที่ได้รับโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จำเลยร่วมทั้งสองเป็นผู้ได้รับโอนที่ดินพิพาทของลูกหนี้ต่อจากผู้ทำนิติกรรมกับลูกหนี้ จึงเป็นบุคคลภายนอกตามความหมายของมาตรา 238หาได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 237 ไม่

แสดงฎีกาอื่นที่เรื่องคล้ายกับฎีกาฉบับนี้

2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2539
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 237 ป.พ.พ. ม.237

ขณะที่จำเลยที่1ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนจำนองจำเลยที่1เป็นหนี้ธนาคารอยู่469,828.63บาทในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่2จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้แก่ธนาคารต่ออีกในวงเงิน470,000บาทราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1มีราคาท้องตลาดไม่ต่ำกว่า600,000บาทเมื่อจำเลยที่1โอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยที่2ในราคา470,000บาทโดยจำเลยที่2ไม่ได้ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่1เพียงแต่จำเลยที่2ชำระค่าดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่างๆเท่านั้นหากจำเลยที่1ไม่โอนขายให้แก่จำเลยที่2โจทก์จะสามารถบังคับคดียึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่1โดยธนาคารซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองจะได้รับชำระหนี้ก่อนตามที่จำเลยที่1เป็นหนี้อยู่469,828.63บาทเงินส่วนที่เหลือหลังจากชำระหนี้จำนองให้ธนาคารแล้วโจทก์ก็สามารถที่จะรับชำระหนี้จากเงินส่วนที่เหลือนี้ได้แม้จะได้ไม่ครบเต็มจำนวนหนี้ก็ตามการกระทำของจำเลยที่1ถือได้ว่าการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบและจำเลยที่2ได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 123,654